การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.5

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.5 by Mind Map: การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.5

1. กระบวนการ PDCA

1.1. ประโยชน์ของ PDCA มีดังนี้ 1. การวางแผนงานก่อนการปฎิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริงการวางแผนงานควรวางให้ครบ 4 ขั้นดังนี้ (1) ขั้นการศึกษา คือ การวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของตลาด ข้อมูลด้านวัตถุดิบ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่หรือเงินทุน (2) ขั้นเตรียมงาน คือ การวางแผนการเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความพร้อมของพนักงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ (3) ขั้นดำเนินงาน คือ การวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย (4) ขั้นการประเมินผล คือ การวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจำหน่าย ประเมินจากการติชมของลูกค้า เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดการเที่ยงตรง 2. การปฏิบัติตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียนร้อย นำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 3.เพื่อการป้องกัน - การที่เรานำวงจร PDCA ไปใช้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีการวางแผน ถ้าเราวางแผนดีจะทำให้ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมานะครับ - การทำงานที่มีการตรวจสอบเข้าไปจะทำให้การทำงานมีความรัดกุมมากขึ้น - มีการตรวจสอบเพื่อที่จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขที่รวดเร็วมากขึ้น จะทำให้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจะไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกนะครับ 4. การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย 4.1 ตรวจสอบจากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ 4.2 มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้ 4.3 มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน 4.4 มีกำหนดเวลาการตรวจที่แน่นอน 4.5 บุคลากรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อการตรวจสอบได้รับการยอมรับ การปฏิบัติงานขั้นต่อไปก็ดำเนินงานต่อไปได้ 5. การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรการบริหารงานคุณภาพ

2. งานช่างในบ้าน

2.1. 1.รู้จักการประมาณสมรรถนะของตนเองในการเลือกใช้ การประกอบ ติดตั้ง และการบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์ สิ่งของ เครื่องมือเครื่ิงใช้เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างดี

2.2. 2.เสริมสร้างทักษะกระบวนการงานช่างในบ้านสาขาต่างๆ เพื่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างพอเพียงและมีความสุข

2.3. 3.เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิค วิธีการประกอบ ติดตั้งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ก้าวตามทันเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน

2.4. 4.เสริมสร้างทักษะนิสัยและเกิดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานช่างในบ้านและช่างมืออาชีพต่อไป

2.5. 5.เสริมสร้างทักษะนิสัยเรื่องความประหยัดในการปฏิบัติงานช่างในบ้านด้วยตนเองอย่างถูกต้องและปลอดภัย

2.6. 6.เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับสูงขึ้น และเป็นรากฐานของการประกอบอาชีพสุจริตที่มั่นคงต่อไป

2.7. 7.ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลก

3. การซ่อมแซมและดูแลเสื้อผ้า

3.1. 1.ประหยัดรายจ่ายและทรัพยากรของตนเองและครอบครัว

3.2. 2.ยืดอายุการใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

3.3. 3.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

3.4. 4.ส่งเสริมความมีน้ำใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน

3.5. 5.สร้างเสริมความอดทนความมีระเบียบวินัยในการทำงานให้กับสมาชิกในครอบครัว