กิจกรรมที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กิจกรรมที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น by Mind Map: กิจกรรมที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1. เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.1.1. เทคโนโลยี คือ เครื่องมือที่นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกของมนุษย์ และสารสนเทศ คือสิ่งที่ได้เป็นข้อมูลแล้วนำเอามาทำการประมวลผลแล้วได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงหมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนการที่นำมาใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน และการสื่อสารข้อมูล

1.2. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.2.1. - ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำเนินชีวิต - เสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ - เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน - เปลี่ยนรูปแบบการบริหารเป็นแบบกระจาย - เป็นสิ่งที่จำเป็นในหน่วยงานต่างๆ - เกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ

1.3. ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.3.1. - การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น - สารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสถานศึกษา - IT กับการป้องกันประเทศ - เสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมและการกระจายโอกาส - เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม - การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชย์

1.4. ความหมายของการบริหารและการจัดการ

1.4.1. การบริหาร การบริหาร คือ ใช้กับบุคคลที่ใช้กำหนดนโยบายซึ่งนโยบายก็คือเป้าหมายสูงสุดขององค์กร

1.4.2. การจัดการ การจัดการ คือ ใช้เกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยนำเอานโยบายมาแปลงแล้วนำไปปฏิบัติ

1.5. ความจำเป็นที่ต้องใช้ IS/IT - IT ใช้พัฒนาประเทศ - มีการแข่งขันระหว่างประเทศ - คนเก่งหายากมากขึ้น - เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น - กรอบเวลาดำเนินงานลดลง - ข้อจำกัดทางการเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม

1.6. เหตุใดองค์กรจึงไม่ประสบความสำเร็จในการนำ IS ไปใช้

1.6.1. - การลงทุนในระบบไม่มีทิศทาง - ระบบไม่ผสมผสานกัน คือ ต่างคนต่างทำ - ไม่มีวิธีการกำหนดลำดับความสำคัญของโครงการ - ไม่มีวิธีบอกว่าใช้ทรัพยากรเหมาะสมที่สุดแล้วหรือไม่ - ไม่มีสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจ - แผนก IS กับผู้ใช้ไม่พอใจกัน - ไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

1.7. ประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ IT

1.7.1. - ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาและใช้งานระบบได้สำเร็จ - ควรใช้เทคโนโลยีอะไรดี ซื้อได้จากใคร ทำอย่างไรจึงจะควบคุมการขยายตัวเองของอุปกรณ์ที่เข้ากันไม่ได้

1.8. การประยุกต์เชิงกลยุทธ์ของ IS/IT

1.8.1. - ผสมผสานการใช้สารสนเทศในหน่วยงานระบบ Mission Critical - เชื่อมโยงหน่วยงานกับลูกค้า และพันธมิตรคู่ค้า - ทำให้หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริการใหม่ๆออกตลาดได้เร็วและตรงความต้องการ - ช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่ช่วยจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล

1.9. ทรัพยากรสารสนเทศ - Hard ware - Soft ware - Data - Database - Information - IT Specialist - Users

2. นวัตกรรม

2.1. หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล

2.2. ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์กรทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต และรัฐบาลท้องถิ่น

3. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

3.1. หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล

3.1.1. คอมพิวเตอร์มีหลักการทำงานอยู่ 4 ขั้นตอน คือ

3.1.1.1. 1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น

3.1.1.2. 2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด

3.1.1.3. 3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ 3.1 หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ (3.1.1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM) (3.1.2) หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM) 3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี

3.1.1.4. 4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น

3.2. ประโยชน์และโทษของคอมพิวเตอร์ จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( Word processing) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน นอกจากคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายแล้ว โทษที่เกิดจากใช้คอมพิวเตอร์ก็มีด้วยเช่นกัน ดังจะกล่าวต่อไปนี้

3.2.1. ประโยชน์จากการ ด้านการศีกษา : สร้างสื่อการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ ค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ศึกษาบทเรียนออนไลน์

3.2.2. ด้านติดต่อสื่อสาร : สามารถใช้คอมพิวเตอร์ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ และยังสามารถสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้

3.2.3. ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยในเรื่องการออกแบบงาน สร้างงานกราฟิกได้

3.2.4. ด้านการพิมพ์เอกสาร : สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาสร้างงานด้านงานเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือนำเสนองานเป็นรูปเล่มได้

3.3. โทษจากการใช้งานคอมพิวเตอร์

3.3.1. เสียสุขภาพ : การใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น สายตาพร่ามัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น

3.3.2. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง : ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและคนรอบข้างลดน้อยลง เพราะเวลาส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปกับการอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ขาดสังคมได้

3.3.3. เกิดปัญหาสังคม : ทำให้เกิดปัญหาสังคม เช่นการล่อลวงเพื่อทำการมิดีมิร้าย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับวัยของนักเรียน เพราะเป็นวัยที่ไว้ใจคนง่าย จึงเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดี

3.3.4. เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี : เพราะสื่อที่เห็นทางอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น การแสดงออกกับเพศตรงข้ามอย่างไม่เหมาะสม หรือ แม้กระทั่งการตั้งแก๊งก่อเหตุต่างๆ เป็นต้น

4. hardware

4.1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย

4.1.1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

4.1.2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

4.1.3. น่วยแสดงผล (Output Unit)

4.1.4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)

5. software

5.1. ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้

5.1.1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

5.1.1.1. ระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)

5.1.1.2. ตัวแปลภาษา ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้

5.1.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ

5.1.2.1. ซอฟต์แวร์สำเร็จ 1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ 2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน 3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล 4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ 5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล

5.1.2.2. ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

6. พัฒนาการคอมพิวเตอร์

6.1. พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน สามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ ดังนี้

6.1.1. 1เครื่องคำนวณยุคประวัติศาสตร์

6.1.1.1. ครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด และเครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของ ปาสคาล เป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์ขึ้น กอดฟริด ฟอนไลบ์นิช (Gottfried von Leibniz) ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถสูง สามารถคูณและหารได้ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ เขาประสบความสำเร็จสร้างเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า Difference engine

6.1.2. 2.คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสูญญากาศ

6.1.2.1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค ( ENIAC) ผลิตขึ้นโดย จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) หลอดสุญญากาศ เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีขนาดใหญ่และต้องใช้กระแสไฟฟ้ามากเพื่อเผาไส้หลอดให้เกิดประจุอิเล็กตรอนวิ่งผ่านตาราง (grid) และไส้หลอดจะขาดบ่อย

6.1.3. 3คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์

6.1.3.1. -ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย .

6.1.4. 4.คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม

6.1.4.1. ได้มีการพัฒนาวิธีการสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงราคาถูกลง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงเรียกว่า “มินิคอมพิวเตอร์”

6.1.5. 5คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ

6.1.5.1. มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ การใช้วีแอลเอสไอเป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) ไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก.

6.1.6. 6.คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย

6.1.6.1. - เกิด อินทราเน็ต (intranet) เป็นการเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกัน

6.1.6.2. - เกิด อินเตอร์เน็ต (internet) เป็นการนำเครือข่ายขององค์การ เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก

6.1.6.3. ในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์ เครื่องเดียว ทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ในองค์การ มีการทำงานเป็นกลุ่ม โดยใช้เครือข่าย ท้องถิ่น ที่เรียกว่า แลน LAN)

6.1.7. 7เทคโนโลยีสื่อประสม เทคโนโลยีสื่อประสม (multimediaเป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหววีดีทัศน์ โดยเน้นการโต้ตอบและมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้

6.1.7.1. องค์ประกอบของเทคโนโลยีสื่อประสมประกอบด้วย

6.1.7.1.1. 1. คอมพิวเตอร์ สามารถโต้ตอบ แบบปฏิสัมพันธ์ได้

6.1.7.1.2. 2. การเชื่อมโยงสื่อสาร ทำให้ข้อมูล เชื่อมโยงถึงกันและนำเสนอได้

6.1.7.1.3. 3. ซอฟต์แวร์ สามารถช่วยให้เราใช้ข้อมูลจากสื่อหลายชนิดร่วมกันได้

6.1.7.1.4. 4. การใช้งานแบบสื่อประสม โดยใช้ข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบสื่อประสม