เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์
by สิราวรรณ สิริวุฒิ
1. องค์ประกอบของนิเทศศิลป์
1.1. -ศิลปะ เเป็นวิชาการสาขาหนึ่ง ของงาน ออกแบบนิเทศศิลป์ ทัศนศิลป์ เพราะ นิเทศศิลป์เป็น การคิด และการสื่อสารด้วยภาพ จากจินตนาการ ออกมาสู่การรับรู้ของบุคคล ผู้รับสาร โดยผ่านทางจักษุประสาทเป็นสำคัญ
2. งานออกแบบนิเทศศิลป์ปรากฎตามสื่อการพิมพ์์
2.1. งานออกแบบนิเทศศิลป์ปรากฎตามสื่อการพิมพ์์ หมายถึงงานขั้นสุดท้าย ที่เป็น ตัวสื่อสาร ถึงผู้รับ ผ่านกระบวนการพิมพ์ ออกมา เช่น - หนังสือพิมพ์ (Newspaper) - นิตยสาร (Magazine) - วารสาร (Periodical) - หนังสือ (Book) - ภาพโฆษณา (Poster) - เครื่องหมายและการค้า (Trademark & Logo) - ตราสัญลักษณ์ (Logo) - บรรจุภัณฑ์ (Packaging) - สิ่งพิมพ์ทั่วไป (General printed matter)
3. ความหมายของนิเทศศิลป์นิเทศ
3.1. -(นิรเทศ,นิทเทศ)น.คำแสดงคำจำแนกออก,ก.ชี้แจง,แสดง,จำแนก,
3.2. -ศิลป์์ (ศิลปะ) น.ฝีมือทางการช่าง ,การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ให้ประจักษ์ ดังใจนึก
3.3. -นิเทศศิลป์์ หมายถึง งานศิลปะเพื่อการชี้แจงแสดง การนำเสนอให้ปรากฎ ในรูปแบบต่างๆ ผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญ
4. โครงสร้างและขอบข่ายของนิเทศศิลป์
4.1. นิเทศศิลป์ เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ทางการมองเห็น (Visual Communication) เพราะเป็นการสื่อสาร ไปยังผู้รับสารด้วยภาพเป็นสำคัญ (Visual Image) แม้จะมี บางองค์ประกอบจะมีการสื่อสารทางเสียง มาประกอบก็ตาม แต่สื่อหลัก ก็ยังเป็นการ สื่อสารด้วยภาพ โดยเสียงเป็นตัวเสริมให้ภาพนั้นสมบูรณ์ขึ้น
4.2. -Visual แปลว่า การมองเห็น -Communication แปลว่า การสื่อสาร มาจากคำว่า communis หรือ commones ซึ่งแปลว่า ร่วมกัน หรือเหมือนกัน