เครือข่ายคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ by Mind Map: เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. 3.1.1 LAN (Local Area Network)

1.1.1. ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่าย การสื่อสารขององค์การโทรศัพท์เป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคารใน ระยะใกล้ๆ

1.2. 3.1.2 MAN (Metropolitan Area Network)

1.2.1. ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการ ติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก

1.3. 3.1.3 WAN (Wide Area Network)

1.3.1. ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็น การสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN)

2. โพรโตคอล(Protocol)

2.1. โพรโทคอล คือ ข้อกําหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะ เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ โดยเครื่อง คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้นจึงจะสามารถติดต่อและส่ง ข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทคอลมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งต้องใช้ ภาษาเดียวกันจึงจะสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจองค์ประกอบหลักของโพรโตคอล จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ

2.1.1. 3.3.1 โพรโตคอลTCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)นี้ ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการ

2.1.2. 3.3.2 โพรโตคอล FTP (File Transfer Protocal) การถ่ายโอนไฟล์หรือเรียกได้อีกอย่างว่า การ คัดลอกแฟ้มข้อมูลบนเครือข่าย คือ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งมายัง อีกระบบหนึ่งผ่านเครือข่าย ซึ่งทําได้หลายรูปแบบ เช่น การโอนจากแม่ข่ายมายังเครื่องพีซีหรือ เครื่องพีซีไปแม่ข่ายหรือระหว่างแม่ข่ายด้วยกันเอง

2.1.3. 3.3.3โพรโตคอล HTTP(Hyper Text Transport Protocol) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกร,ประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทํางานร่วมกันกับ สารสนเทศของสื่อผสมใช้สําหรับการรับทรัพยากรที่ เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนําไปสู่การจัดตั้ง เวิลด์ไวด์เว็บการพัฒนา HTTP เป็นการทํางาน ร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และ คณะทํางานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอ ความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สําคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กําหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

3. รูปร่างเครือข่าย

3.1. คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันใน รูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย (Network Topology) โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย ซึ่งก็หมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยง สายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายเข้า ด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่ายแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมี ความจําเป็นที่เราจะต้องทําการศึกษาลักษณะคุณ สมบัติข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนําไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับ การใช้งาน

3.1.1. 3.4.1 การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point-to-point)เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารสอง เครื่อง โดยใช้สื่อกลางหรือช่องทางในการ สื่อสารช่องทางเดียวเป็นการจองสายในการ ส่งข้อมูลระหว่างกันโดยไม่มีการใช้งาน สื่อกลางนั้นร่วมกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ การ เชื่อมต่อลักษณะนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ทําให้ สิ้นเปลืองช่องทางการสื่อสาร

3.1.1.1. 3.4.2 การเชื่อมต่อแบบหลายจุด(multipoint)เป็นการใช้งานช่องทางการสื่อสารเต็มประสิทธิภาพ มากขึ้นโดยการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะใช้ช่องทางการสื่อสารหนึ่งช่องทางเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อง คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารหลายชิ้น โดยมีจุดเชื่อมแยกออกมาจากสายหลักดังต่อไปนี้

4. อุปกรณ์เครือข่าย

4.1. 3.5.1 การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) หรือการ์ดแลน หรืออีเธอร์เน็ตการ์ด ทําหน้าที่ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้นเข้ากับระบบเครือข่ายได้เช่น ในระบบ แลน เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วย สายเคเบิลจึงสามารถทําให้เครื่องติดต่อกับเครือข่ายได้ส่วนในกรณีเป็นระบบแลนไร้ สาย ก็จะต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สาย (Wireless PCI/PCMCIA Card) ร่วมกับอุปกรณ์ ที่เรียกว่าแอกเซสพอยต์ (Wireless Access Point)

4.2. 3.5.2 ฮับ (Hub)คืออุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจาก อุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับ เปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่ง แบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยัง ทุกสถานีที่ติดต่อยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึง ต้องดูที่แอดเดรส(address) ที่กํากับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเก็ต

4.3. 3.5.3 สวิตช์ (Switch)คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานี เช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัว หนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็ก เก็ตมาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทางไปที่ใด สวิตช์จะลดปัญหา การชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานีและยังมีข้อดีในเรื่องการ ป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย

4.4. 3.5.4 บริดจ์ (Bridge)เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับเครือข่ายหลายๆ กลุ่มที่เชื่อมต่อกัน เนื่องจาก สามารถแบ่งเครือข่ายที่เชื่อมต่อ กันหลายๆ เซกเมนต์แยกออก จากกันได้ทําให้ข้อมูลในแต่ละ เซกเมนต์ไม่ต้องวิ่งไปทั่วทั้ง

4.5. 3.5.5 รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ ระยะไกลขึ้น คือ รีพีตเตอร์จะปรับปรุงสัญญาณที่อ่อนตัวให้กลับมาเป็นรูปแบบเดิม เพื่อให้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลายๆ เซกเมนต์ ซึ่งความยาวของแต่ละเซกเมนต์นั้นจะมีระยะทางที่จํากัด ดังนั้นอุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์ก็ จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

4.6. 3.5.6 เร้าเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยง หลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้า ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทําหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อให้การส่งข้อมูล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางเลือกเส้นทางได้ถูกต้อง เพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกํากับ อุปกรณ์จัดเส้นทางต้องรับรู้ ตําแหน่งและสามารถนําข้อมูล ออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตาม ตําแหน่งแอดเดรสที่กํากับอยู่ ในเส้นทางนั้น