ความรู้เบื้องต้นระบบคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ความรู้เบื้องต้นระบบคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ความรู้เบื้องต้นระบบคอมพิวเตอร์

1. แนวคิดสำหรับธุรกิจ1. การปฏิวัติระบบสารสนเทศ (Information Revolution)ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมทางด้านการเงิน การสื่อสาร การค้าส่ง การค้าปลีก ธุรกิจต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้จะต้องมีการปรับตัว ต้องการเปลี่ยนแปลง 2. เทคโนโลยีใหม่ ๆ (New Technology) จะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องจักร และพัฒนาทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ (Biotechnology) การนำคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น 3. การเพิ่มขึ้นของโลกโลกาภิวัฒน์ (Increasing Globalization) การดำเนินงานของธุรกิจมีการขยายตัวไปยังตลาดทั่วโลก ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการแข่งขันสูงขึ้น ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำ เพื่อที่จะได้สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้

2. หน้าที่ในการประกอบธุรกิจ 1. การผลิต (Production) เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการบริโภค กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ 2. การจัดหาเงินทุน (Capital) เงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีการบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดสรรเงินทุนในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3. การจัดหาทรัพยากรด้านกำลังคน คนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องจัดหาบุคคลที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับตำแหน่งงาน 4. การบริหารการตลาด เป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค

3. ประเภทของธุรกิจ1. แบ่งประเภทของธุรกิจตามลักษณะของกิจกรรมที่ธุรกิจกระทำ แบ่งออกได้ 8 ประเภท ดังนี้ 1. ธุรกิจการเกษตร (Agriculture) เช่น การทำนา การทำไร่ การทำสวน2. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing) เช่น ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่ออุปโภค แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 2.1 อุตสาหกรรมในครัวเรือน จัดเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ใช้แรงงานเฉพาะสมาชิกในครอบครัว 2.2 อุตสาหกรรมโรงงาน เป็นอุตสาหกรรมที่ผู้ผลิตสินค้ามีโรงงาน มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าได้ครั้งละจำนวนมาก มีการจ้างแรงงานจากบุคคลภายนอก3. ธุรกิจเหมืองแร่ (Mineral)4. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial) 5. ธุรกิจการก่อสร้าง (Construction)6. ธุรกิจการเงิน (Finance)7. ธุรกิจให้บริการ (Service) 8. ธุรกิจอื่น ๆ เป็นธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ อาชีพอิสระต่าง ๆ เช่น วิศวกร แพทย์ สถาปัตย์ ช่างฝีมือ ประติมากรรม ฯลฯ

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย 1.เพื่อความมั่นคงของกิจการ 2.เพื่อความเจริญเติบโตของธุรกิจ 3.เพื่อผลประโยชน์หรือกำไlรสิ่งที่จูงใจให้เจ้าของธุรกิจดำเนินธุรกิจต่อไป 4.เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม

5. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น

5.1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น 2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง

6. ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบ

7. 2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย

8. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้นแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)

9. คอมพิวเตอร์" คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronicdevice) ที่ มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ

10. คุณสมบัติของนักธุรกิจ 1. มีความเชื่อมั่นในตนเอง 2. มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าทั้งด้านคำพูดและการกระทำ3. มีความกตัญญูต่อลูกค้าและผู้มีบุญคุณอื่น ๆ 4.มีความยุติธรรมในการบริหารงานและตัดสินปัญหาต่าง ๆ 5.มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ

11. ส่วนประกอบสำคัญ 1. การผลิต (Productions) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมการผลิตวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป เช่น การผลิตผลิตผลต่าง ๆ พืชไร่ ป่าไม้ เหมืองแร่ เป็นต้น 2. การจัดจำหน่าย (Distributions) หมายถึง การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการขายสินค้า ทั้งสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตให้ผู้บริโภคหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ให้แก่ธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูป 3. การบริการ (Services) หมายถึง การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ เช่น ธุรกิจโรงแรม กิจการขนส่ง หรือการประกันภัย เป็นต้น 4. กำไร (Profit) หมายถึง ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการจะได้รับการดำเนินงาน เป็นผลแตกต่างระหว่างรายได้ของธุรกิจและค่าใช้จ่าย

12. ความหมายของธุรกิจความหมายของธุรกิจ ธุรกิจ (Business)หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้าและการให้บริการ โดยมุ่งหวังผลกำไร (Profit) ขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงต่อการขาดทุน

13. ความรู้ด้านธุรกิจ

14. 4. ข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information) ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ สารสนเทศ หมายถึงสิ่งที่ได้จากการนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ สารสนเทศจึงมีความหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการคัดเลือกสรรให้เหมาะกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้

15. 3. บุคลากร (People) 1.ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 2. ผู้เขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึง ผู้เขียนโปรมแกรมตามที่ผู้ออกแบบ และวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์ โดยภาษาต่างๆได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้งาน 3. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพงานดี เป็นผู้ออกแบบโปรมแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรมแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป

16. คอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ 1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีย์บอร์ด หรือ เมาส์ 2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ 3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ 4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต