1. Urinary Tract Infection หรือ UTI
1.1. สาเหตุ
1.1.1. ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในทางเดินปัสสาวะ โดยผ่านทางท่อปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มักเกิดจากเชื้อ E. coli (อี. โคไล) และแบคทีเรียอื่น ๆ ที่พบได้ปกติในบริเวณทางเดินอาหาร
1.1.2. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่เชื้อ Herpes (เฮอร์พีรส์), Gonorrhea (โกโนเรีย), Chlamydia (คลาไมเดีย) และ Mycoplasma (ไมโคพลาสมา) สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
1.2. อาการ
1.2.1. ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือเหม็น ผิดปกติ อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน
1.3. การวินิจฉัย
1.3.1. ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะดูเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง อาจตรวจภายในในผู้ป่วยหญิง การตรวจทางทวารหนักในผู้ชายเพื่อตรวจคลำต่อมลูกหมาก และอาจมีการตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจย้อมเชื้อ และ/หรือเพาะเชื้อ จากปัสสาวะร่วมกับตรวจหาชนิดของยาปฏิชีวนะที่จะใช้ฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเอกซเรย์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และ/หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ
1.4. รักษา
1.4.1. การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยชนิด ขนาดยา (Dose) และระยะเวลาที่ใช้ยา ขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการ เชื้อที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การเป็นการเกิดโรคครั้งแรกหรือเป็นโรค/ภาวะย้อน กลับเป็นซ้ำ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่เกิดโรคบ่อย อาจมีการให้ยาปฏิชีว นะ เพื่อการป้องกันการเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ การรักษาสาเหตุ เช่น การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อโรคเกิดจากโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ หรือการรักษาโรคนิ่วในไต หรือโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อโรคเกิดจากโรคนิ่วในไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการ คลื่น ไส้ อาเจียน และการดื่มน้ำมากๆ มากกว่าปกติ เป็นต้น
2. Pyelonephritis
2.1. อาการ
2.1.1. มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส รู้สึกหนาวสั่น เจ็บปวดบริเวณหลังหรือสีข้าง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีหนองหรือเลือดปนมากับปัสสาวะ หากเกิดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ อาจมีหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ
2.2. สาเหตุ
2.2.1. - เพศหญิง ผู้หญิงเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่า และอยู่ใกล้ช่องคลอดกับทวารหนัก - ผู้ที่ตั้งครรภ์ เพราะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น และความดันท่อไตสูงขึ้น หรือกรวยไตอาจอุดตันจากการถูกมดลูกกดเบียด ทำให้เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น - ผู้ที่มีระบบทางเดินปัสสาวะอุดตันหรือมีโครงสร้างระบบทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติ ซึ่งทำให้ปัสสาวะไม่สะดวก เช่น ผู้ที่มีนิ่วในไต ระบบทางเดินปัสสาวะตีบ และผู้ชายที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต - ผู้ที่กำลังติดเชื้อหรือเคยติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา - ผู้ที่มีเส้นประสาทหรือไขสันหลังรอบกระเพาะปัสสาวะเสียหาย - ผู้ที่เคยใช้สายสวนปัสสาวะ เช่น เคยรับการผ่าตัด วินิจฉัยโรค หรือพักฟื้นในโรงพยาบาล - ผู้ที่มีภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ ซึ่งปัสสาวะบางส่วนจะไหลย้อนจากกระเพาะปัสสาวะเข้าสู่ท่อไตและไตข้างใดข้างหนึ่งหรือไตทั้งสองข้าง โดยมักพบในเด็กเล็กที่มีความผิดปกติลักษณะนี้แต่กำเนิด - ผู้ที่เคยได้รับการส่องกล้องหรือเคยรับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ - ผู้ที่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน หรือดื่มน้ำน้อย ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะนานเกินไป - ผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียในกระดูก ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ แล้วเชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่กรวยไต หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด - ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เอดส์ หรือมะเร็ง รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่าย - ผู้ที่ติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งโรคนี้มีความเสี่ยงสูงในกลุ่มผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
2.3. การวินิจฉัย
2.3.1. - การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจหนอง เลือด หรือเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนในปัสสาวะ หรืออาจตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ - การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ ในเลือด - การตรวจด้วยรังสีวิทยา แพทย์อาจวินิจฉัยโรคกรวยไตอักเสบด้วยการอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (Voiding Cystourethrogram) เพื่อตรวจหาซีสต์ เนื้องอก หรือการอุดตันในระบบทางเดินปัสสาวะ
2.4. การรักษา
2.4.1. ผู้ป่วยมีภาวะไตติดเชื้อรุนแรง แพทย์อาจต้องฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ร่วมกับการให้น้ำเกลือและยาแก้ปวดลดไข้ ติดตามอาการโดยตรวจปัสสาวะและเลือดอย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น อาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 10-14 วัน ส่วนผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจเสี่ยงเกิดอันตรายต่อตนเองและทารกในครรภ์ หรือทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดเบตา-แลกแทม เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
2.5. ภาวะแทรกซ้อน
2.5.1. ติดเชื้อในกระแสเลือด
2.5.2. ภาวะความดันโลหิตสูง การเกิดแผลเป็นหรือฝีในไต และภาวะไตวายเฉียบพลัน
3. ESRD
3.1. สาเหตุ
3.1.1. เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กรวยไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำในไต โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ และการได้รับสารหรือยาที่ทำลายไต เช่น ยาแก้ปวด บางชนิด และยาปฏิชีวนะ บางชนิด เป็นต้น
3.2. อาการ
3.2.1. เกิดการคั่งของเกลือแร่ น้ำส่วนเกิน และของเสียในเลือด เช่น ปริมาณปัสสาวะลดลง ความดันโลหิตสูงขึ้น ซีด เหนื่อยง่ายขึ้น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ คันตามตัว มีอาการบวมที่หน้า ขา และลำตัว ความรู้สึกตัวลดลง หรือมีอาการชัก เป็นต้น
3.3. วินิจฉัย
3.3.1. การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะเพื่อดูปริมาณโปรตีนและการมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ และตรวจเลือดเพื่อวัดระดับสารครีอะตินีนซึ่งปกติจะถูกไตกำจัดออกไปทางปัสสาวะและถูกนำมาใช้ในการคำนวณอัตราการกรองของไต ในผู้ป่วยบางราย จะได้รับการทำเอกซเรย์ระบบทางเดินปัสสาวะ และตรวจชิ้นเนื้อไตเพิ่มเติม (การตรวจทางพยาธิวิทยา)
3.4. การรักษา
3.4.1. - การรักษาเฉพาะเจาะจงตามชนิดของโรคไตเรื้อรัง เช่น คุมระดับน้ำตาลในเลือดในกรณีเป็นเบาหวาน กำจัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น - ประเมินและรักษาโรคหรือภาวะอย่างอื่นที่พบร่วมด้วย ชะลอการเสื่อมของไต - ป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด - ป้องกันและรักษาผลแทรกซ้อนที่เกิดจากการทำงานของไตลดลง - เตรียมผู้ป่วยสำหรับกรณีไตวายเรื้อรัง รวมถึง- - เตรียมการรักษาทดแทนไต - ให้การรักษาทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง หรือการปลูกถ่ายไต เมื่อมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
4. นางสาวอมรรัตน์ แสงทอง เลขที่85 ปี2
5. Nephrotic Syndrome
5.1. อาการ
5.1.1. บวมบริเวณรอบดวงตา ท้อง แขน ขา ข้อเท้า และเท้า
5.1.2. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
5.1.3. ปัสสาวะเป็นฟอง
5.1.4. ปวดปัสสาวะน้อยมาก
5.1.5. อ่อนเพลีย
5.1.6. เบื่ออาหาร
5.1.7. ท้องเสีย
5.2. สาเหตุ
5.2.1. กรวยไตเป็นแผล
5.2.2. การกรองไตผิดปกติ
5.2.3. เยื่อบุผิวภายในกรวยไตหนาตัวขึ้น
5.2.4. กลุ่มอาการอะมีลอยโดซิส (Amyloidosis)
5.2.5. โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง
5.2.6. โรคไตจากเบาหวาน
5.2.7. ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดไต
5.2.8. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ และยาต้านการติดเชื้อ
5.3. การวินิจฉัย
5.3.1. ตรวจประวัติการเจ็บป่วย ตรวจร่างกาย และตรวจปัสสาวะโดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจปริมาณของโปรตีนที่ปนอยู่ในน้ำปัสสาวะและตรวจเลือดเพื่อหาระดับโปรตีนในเลือดด้วย นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อไปส่งตรวจ เป็นต้น เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของไตต่อไป
5.4. การรักษา
5.4.1. - ยาขับปัสสาวะ
5.4.2. ยากดภูมิคุ้มกัน
5.4.3. ยาลดคอเลสเตอรอล
5.4.4. ยาควบคุมความดันโลหิต
5.4.5. ยาเจือจางเลือด
6. Acute Glomerulonephritis
6.1. อาการ
6.1.1. การปนเปื้อนของเซลล์เม็ดเลือดแดงในน้ำปัสสาวะ (Hematuria) จนกลายเป็นสีชมพู หรือสีโคล่า เกิดอาการบวมน้ำที่บริเวณใบหน้า มือ เท้า หรือท้อง มีความดันเลือดสูง ปัสสาวะเป็นฟองเนื่องจากมีโปรตีนส่วนเกินปนออกมาในปัสสาวะ อาการที่ปรากฏตามร่างกาย เช่น อ่อนล้า เหนื่อย เพลีย ปวดข้อ เป็นผื่นคัน หรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
6.2. สาเหตุ
6.2.1. การอักเสบที่เป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากการติดเชื้อ
6.2.2. การอักเสบจากโรคทางภูมิคุ้มกัน
6.2.3. การอักเสบจากกลุ่มโรคหลอดเลือดอักเสบ
6.3. การวินิจฉัย
6.3.1. การตรวจปัสสาวะ
6.3.2. การตรวจเลือด
6.3.3. การวินิจฉัยผ่านการเจาะเก็บเนื้อเยื่อไต
6.4. การรักษา
6.4.1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ซึ่งช่วยในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ งดอาหารรสเค็ม หรืองดเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมจำนวนมาก
6.4.2. งดหรือเลิกบุหรี่ เพราะว่าการงดสูบบุหรี่ช่วยชะลอการเติบโตของโรคที่เกิดจากการอักเสบของไตได้
6.4.3. การใช้ยากดภูมิต้านทาน (Immunosuppressants)
6.4.4. รักษาด้วยยาซัยโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide)
6.4.5. รักษาด้วยยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
6.4.6. รักษาด้วยยาขับปัสสาวะ
7. phimosis in children
7.1. อาการ
7.1.1. ปลายองคชาตและหนังหุ้มปลายองคชาตอักเสบ ทำให้มีอาการบวมแดงและรู้สึกเจ็บปวด ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลำบาก รู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ รู้สึกเจ็บปวดเมื่อองคชาตแข็งตัว
7.2. สาเหตุ
7.2.1. ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบตั้งแต่แรกเกิดที่แน่ชัด ส่วนภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบที่เกิดขึ้นตอนโตนั้นอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายองคชาตหรือผิวหนังหุ้มปลายองคชาต หรือการเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณองคชาตที่ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง จึงยากต่อการดึงให้เปิดขึ้น ทั้งนี้ การมีอายุมากขึ้นอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะนี้มากขึ้น เนื่องจากผิวหนังหุ้มปลายองคชาตมีแนวโน้มสูญเสียความยืดหยุ่นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีองคชาตแข็งตัวได้ยาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงเกิดภาวะปลายองคชาตอักเสบและติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไปก็เสี่ยงเกิดภาวะนี้ตามมาได้เช่นกัน
7.3. การวินิจฉัย
7.3.1. ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบตั้งแต่แรกเกิดที่แน่ชัด ส่วนภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบที่เกิดขึ้นตอนโตนั้นอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายองคชาตหรือผิวหนังหุ้มปลายองคชาต หรือการเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณองคชาตที่ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง จึงยากต่อการดึงให้เปิดขึ้น ทั้งนี้ การมีอายุมากขึ้นอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงต่อภาวะนี้มากขึ้น เนื่องจากผิวหนังหุ้มปลายองคชาตมีแนวโน้มสูญเสียความยืดหยุ่นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีองคชาตแข็งตัวได้ยาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เสี่ยงเกิดภาวะปลายองคชาตอักเสบและติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไปก็เสี่ยงเกิดภาวะนี้ตามมาได้เช่นกัน
7.4. การรักษา
7.4.1. สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ร่วมด้วย แพทย์จะสอนผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีรูดเปิดผิวหนังหุ้มปลายองคชาตให้เด็กทีละน้อยเป็นประจำทุกวันจนกระทั่งเปิดได้เป็นปกติ หากปฏิบัติตามวิธีนี้แล้วไม่ได้ผลอาจให้ผู้ป่วยใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เพื่อช่วยให้หนังหุ้มปลายนุ่มและรูดเปิดได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ที่ใช้ยาหรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการขลิบหนังหุ้มปลายซึ่งเป็นการผ่าตัดนำหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกและช่วยป้องกันการเกิดภาวะนี้ซ้ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการขลิบหนังหุ้มปลายอาจเข้ารับการผ่าตัดแยกหนังหุ้มปลายองคชาตออกจากปลายองคชาตแทน แต่ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบซ้ำได้