ทฤษฎีการพยาบาล Transtheoretical Model : TTM

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการพยาบาล Transtheoretical Model : TTM by Mind Map: ทฤษฎีการพยาบาล Transtheoretical Model : TTM

1. ความเป็นมาของทฤษฎี

1.1. เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1970 ในงานจิตวิทยาคลินิกของโปรชาสกา

1.2. เป็นรูปแบบการพัฒนาจากงานศึกษาวิจัยของโปรชาสกาและไดคลีเมน

2. ผู้คิดค้นทฤษฎี

2.1. James O.

2.2. Prochaska, Ph.D.

2.3. Carlo diClemente, Ph.D.

3. วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3.1. 1.การปลุกจิตสำนึก (Consciousness raising)

3.1.1. เป็นการเพิ่มการรับรู้สาเหตุ และสิ่งที่เป็นผลของพฤติกรรมที่ต้องการเปลี่ยน

3.1.2. กิจกรรมที่สามารถปลุกจิตสำนึก

3.1.2.1. การให้ข้อมูลย้อนกลับ

3.1.2.2. การเผชิญหน้า

3.1.2.3. การแปลความหมาย

3.1.2.4. การให้ข้อมูล

3.1.2.5. การสอน

3.2. 2.การเร้าอารมณ์และความรู้สึก (Dramatic relief)

3.2.1. อารมณ์จะมีผลให้คนเริ่มประเมินสถานการณ์และตัดสินใจ สามารถใช้เป็นเครื่องกระตุ้นให้ต้องการเปลี่ยนแปลง

3.2.2. กิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์

3.2.2.1. การพูดคุยในกลุ่ม

3.2.2.2. การดูภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

3.3. 3.การประเมินตนเอง (Self-evaluation)

3.3.1. เป็นกระบวนการที่คนแต่ละคนสะท้อนข้อดี ข้อเสีย ปัญหา อุปสรรค ประโยชน์ ของการทำพฤติกรรมในใจตนเองซึ่งจะทำอยู่ตลอดเวลา

3.3.2. การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ควรทำให้คนเชื่อว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

3.4. 4.การรับรู้สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ (Social liberation)

3.4.1. เป็นการเอื้อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์

3.5. 5.การทำพันธะสัญญากับตนเอง (Social-liberation)

3.5.1. เป็นการสนับสนุนให้บุคคลพัฒนา ความมุ่งมั่นที่จะสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

3.5.2. จำนวนทางเลือกที่หลากหลายจะเสริมให้บุคคลมุ่งมั่นที่จะไปถึงเป้าหมาย

3.6. 6.การหาแรงสนับสนุนทางสังคม (Helping relationships)

3.6.1. เป็นวิธีการจัดระบบ สนับสนุนทางสังคมให้ส่งเสริมการสร้างพฤติกรรม

3.6.2. ตัวอย่าง

3.6.2.1. การสนับสนุนของครอบครัว

3.6.2.2. การจัดระบบเพื่อนช่วยเพื่อน

3.7. 7.การทดแทนด้วยสิ่งอื่น (Counter conditioning)

3.7.1. เป็นการทดแทนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ด้วยพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

3.7.2. ตัวอย่าง

3.7.2.1. การทดแทนความเครียดด้วยกิจกรรมคลายเครียด

3.7.2.1.1. การออกกำลังกาย

3.7.2.1.2. การร้องเพลง

3.7.2.2. การทดแทนการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงด้วยผัก

3.8. 8.การประเมินผลของพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้าง (Environmental-reevaluetion)

3.8.1. เป็นขั้นที่คนประเมินความรู้และความรู้สึกของบุคคลว่าการกระทำของเขามีผลต่อคนอื่น

3.8.2. การจัดกิจกรรม

3.8.2.1. ทำให้คนนั้นรู้สึกว่าการทำพฤติกรรมของตนเองเป็นทั้งตัวแบบที่ดีและไม่ดี

3.8.2.2. ทำให้เข้าใจผลกระทบของพฤติกรรม

3.9. 9.การควบคุมสิ่งเร้า (Stimulus control)

3.9.1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเป็นไปได้ง่ายเมื่อไม่มีสิ่งเร้ามากระตุ้น

3.9.2. จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนรู้สึกถูกกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์

3.10. 10.การให้การเสริมแรง (Reinforcement management)

3.10.1. เสริมทางบวก

3.10.1.1. เพื่อรักษาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไว้

3.10.2. เสริมทางลบ

3.10.2.1. เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

4. New Topic

5. New Topic

6. ความหมายของทฤษฎี

6.1. เป็นโมเดลที่อธิบายความตั้งใจหรือความพร้อมของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง

6.2. เน้นที่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคลผู้นั้น

6.3. ช่วงแรกๆ TTM ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในผู้ติดเหล้าและบุหรี่

6.4. ต่อมาได้ใช้อธิบายพฤติกรรมการป้องกันโรคและการประยุกต์ใช้ในด้านบริการทางการแพทย์

6.5. TTM ถูกเรียกอีกชื่อว่า ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stage of Change : SOC)

6.6. โครงสร้างขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเป็นหัวใจหลักในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล

6.7. เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ใช่เป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งๆเท่านั้น

6.8. การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

7. แนวคิดขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

7.1. 1.ขั้นก่อนมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (pre-contemplation)

7.1.1. เป็นขั้นพฤติกรรมที่ยังไม่ปฏิบัติและยังไม่ตั้งใจจะปฏิบัติ

7.1.2. ไม่มีแรงจูงใจ ไม่พร้อมจะปฏิบัติ เนื่องจากไม่มีความรู้ ไม่รู้สึกถึงผลเสียของพฤติกรรมที่ทำอยู่

7.1.3. ภายใน 6 เดือนข้างหน้ายังไม่ตั้งใจจะปฏิบัติ

7.2. 2.ขั้นมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (contemplation)

7.2.1. เป็นขั้นพฤติกรรมที่ยังไม่ปฏิบัติ แต่มีความตั้งใจว่าอาจจะทำ

7.2.2. ตระหนักถึงปัญหาและคิดที่จะแก้ไขพฤติกรรม แต่ประเมินพฤติกรรมที่ทำให้ผลดีน้อยกว่าความพยายาม ความลำบากที่เจอทำให้ไม่เริ่มลงมือเปลี่ยนพฤติกรรมทันที่

7.2.3. มักวางแผนว่าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในอีก 1 เดือนข้างหน้า

7.3. 3.ขั้นเตรียมการ (preparation)

7.3.1. เป็นขั้นพฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติ/ปฏิบัติบ้างและตั้งใจจะทำทันที

7.3.2. อาจเคยลองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาแล้วในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แต่ล้มเหลว หรือ ปัจจุบันอาจจะพยายามเปลี่ยนแปลงแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย

7.3.3. มีความตั้งใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในอีกไม่เกิน 1 สัปดาห์ข้างหน้า

7.4. 4.ขั้นปฏิบัติการ (action)

7.4.1. เป็นขั้นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นบางครั้ง เป็นประจำเมื่อเร็วนี้

7.4.2. ผู้อยู่ในระดับนี้ต้องอุทิศเวลาและพลังงานอย่างมาก เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เคยชินให้เป็นพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ

7.4.3. ผู้ป่วยในระดับนี้มักมีอารมณ์ตึงเครียดมากกว่าผู้ที่อยู่ในระดับอื่น

7.4.4. จะถือว่าอยู่ในระดับนี้ เมื่อสามารถปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมายถึงระดับที่ต้องการได้ ตั้งแต่ 1 วันแต่อยู่ได้นานไม่เกิน 6 เดือน

7.5. 5.ขั้นระดับพฤติกรรมคงที่ (maintenance)

7.5.1. เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำนานแล้ว

7.5.2. ผู้ที่อยู่ในระดับที่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมายถึงระดับที่ได้ต้องการได้นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป

7.5.3. สิ่งที่บุคคลาการทางการแพทย์ต้องทำในระดับนี้ คือ การป้องกันการย้อนกลับไปปฏิบัติพฤติกรรมเดิมที่เป็นปัญหา

7.5.4. ผู้ป่วยจะมีความมั่นใจในความสามารถของตนเองในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสูง

8. แนวคิดหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

8.1. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy)

8.1.1. เป็นความเชื่อมั่นที่บุคคลมีต่อตนเองว่าตนเองมีความสามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมายได้สำเร็จ

8.2. ความสมดุลในการตัดสินใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Decisional balance)

8.2.1. การที่บุคคลประเมินสมดุลระหว่างผลดี ผลเสีย ที่จะได้รับจากการปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมาย