ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม by Mind Map: ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยม

1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์(Thorndike’s Connectionism Theory)

1.1. หลักการเรียนรู้

1.1.1. กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง(Response - R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า “การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี หรือเหมาะสมที่สุด เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด (Trial and error) นั่นคือการเลือกตอบสนองของผู้เรียนรู้จะกระทำด้วยตนเองไม่มีผู้ใดมาก าหนดหรือชี้ช่องทางในการปฏิบัติให้และเมื่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว การตอบสนองหลายรูปแบบจะหายไปเหลือเพียงการตอบสนองรูปแบบเดียวที่เหมาะสมที่สุด และพยายามทำให้การตอบสนองเช่นนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าที่ต้องการให้เรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ

1.2. กฎการเรียนรู้

1.2.1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจจะท าให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อย ๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงทนถาวร และในที่สุดอาจลืมได้ กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่งคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการน าไปใช้บ่อย ๆ หากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมเกิดขึ้นได้ กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้นการได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้

1.3. การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1.3.1. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเองบาง จะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา การสำรวจความพร้อมหรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการก่อนการเรียนเสมอ หากต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในเรื่องใดแล้ว ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ และให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ การให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจ จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แนวปัญญานิยม (Cognitive Theory)

2.1. ความหมายแนวปัญญานิยม ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ ได้ขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรม ออกไปสู่กระบวนการทาง ความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฎีกลุ่มนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็น ด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์มนุษย์ไว้ว่า เป็น เสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายใน จิตใจ ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอน ก็ควรที่จะคำนึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วยประกอบด้วยทฤษฎีที่สำคัญ คือ 1. ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ( Gestalt) 2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาบรุเนอร์(Bruner)

2.1.1. 1.ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ( Gestalt)

2.1.1.1. คำว่า“Gestalt” หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดหรือโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งเป็นคำที่มา จาก ภาษาเยอรมันทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เป็นแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่ม เกสตัลท์ เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับพฤติกรรมนิยม ผู้นำกลุ่มได้แก่ แมกซ์เวอร์ไธเมอร์ และ ผู้ร่วมกลุ่ม2 คน เคอร์ท คอฟพ์กา และวอล์ฟแกง โคเลอร์ เป็นชาวเยอรมัน 1.1 หลักการเรียนรู้ กลุ่มเกสตัลท์กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ

2.1.1.1.1. 1. การรับรู้(perception)หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อ สิ่งเร้าของอวัยวะ รับสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วนได้แก่ หู จมูก ลิ้น และผิวหนังโดย การตีความนี้มักอาศัยประสบการณ์เดิม การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่มออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้ 1. กฎแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz) 2. กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) 3. กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) 4. กฎแห่งการสิ้นสุด / กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)

2.1.1.1.2. 2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยจะเกิดแนวความคิดใน การเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาขึ้นอย่างฉับพลันทันทีทันใด (เกิดความคิดแวบขึ้นมาในสมองทันที) มองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นเป็นขั้นตอนจนถึงจุดสุดท้ายที่สามารถจะแก้ปัญหาได้ กลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกันเริ่มต้น ด้วยการ รับรู้โดยส่วนรวมก่อนแล้ว จึงจะสามารถวิเคราะห์เรื่องการเรียนรู้ส่วนย่อยทีละส่วน ต่อไป ในปัจจุบันได้มีผู้นำวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวางโดยเชื่อว่าเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้วผู้เรียนจะมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ และมีความรวดเร็วในการเรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น

2.1.1.2. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

2.1.1.2.1. 1.2.1 ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลและเกิดการหยั่งเห็น 1.2.2 เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน โดยใช้แนวทางต่อไปนี้ - เน้นความแตกต่าง -กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล -กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม -กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ -กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น 1.2.3 การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอนเนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน 1.2.4 คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย 1.2.5 บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอดจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้

3. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา บรุเนอร์(Bruner)

3.1. บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทาง สติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและ การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ บรุนเนอร์ มีดังนี้

3.1.1. 2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้

3.1.1.1. 1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการ ทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3ขั้นใหญ่ ๆ คือ 5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดีการเรียนรู้เกิดจากการกระทำ 5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้ 5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้น การเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้ 6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือ สามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3.2. การนำทฤษฎีการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้

3.2.1. 2.1.1 กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน 2.1.2 การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน 2.1.3 การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบ ยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน 2.1.4 ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน 2.1.5 การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน 2.1.6 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 2.1.7 การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจ าเป็น การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ได้ดี

4. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classic Conditioning Theory) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น ผู้ริเริ่มตั้งทฤษฎีนี้ เป็นคนแรก คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ต่อมาภายหลังวัตสัน (Watson) ได้น าเอา แนวคิดของพาฟลอฟไปดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

4.1. หลักการเรียนรู้

4.1.1. พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข(Conditioning) คือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่น สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำาลายไหล เป็นต้น โดยเสียงกระดิ่งคือสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข ซึ่งเรียกว่า “สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned stimulus) และปฏิบัติกิริยาการเกิดน้ำลายไหลของสุนัข เรียกว่า “การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response)ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข

4.2. กฎการเรียนรู้

4.2.1. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏถ้าน าสิ่งเร้านั้นออก กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีกแต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้งก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไขอินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ

4.3. การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

4.3.1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง

5. ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์(SkinnerBehavior Theory)

5.1. หลักการเรียนรู้

5.1.1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์(D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐอเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพ เขาจึงได้คิดเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน(Teaching Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner) กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น A คือสภาพแวดล้อม S คือสิ่งเร้า R คือการตอบสนอง C คือผลกรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมที่เกอดขึ้นโดยที่ C+ เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำพึงพอใจ C- เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำไม่พึงพอใจ จะเห็นได้ว่า ในสภาพแวดล้อมมีสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้กระทำแสดงพฤติกรรมออกมา ซึ่งพฤติกรรมนั้น จะมีผลกรรมตามมาและผลกรรมนั้นทำให้อาจจะเพิ่มขึ้นหรือระดับคงที่หรือลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าถ้าเป็นผลกรรมพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ

5.1.1.1. กฎแห่งการเรียนรู้คือ กฎการเสริมแรง ซึ่งมีอยู่ 2 เรื่อง คือ

5.1.1.1.1. ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedule of Reinforcement)เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่างเช่น เวลาพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดในการเสริมแรง อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากการเสริมแรงต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นมากน้อยและนานคงทนถาวรเท่าใด ย่อมแล้วแต่ตารางกำหนดการเสริมแรงนั้น ๆ

5.2. การนำไปใช้ในการเรียนการสอน

5.2.1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning) บทเรียนสำเร็จเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1954 จากแนวความคิดของสกินเนอร์ โดยมีจุดประสงค์ว่าผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีที่แสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องบทเรียน