พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 by Mind Map: พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528

1. หมวด 4 การดำเนินกิจการของคณะกรรมการ

1.1. มาตรา 24 : ประชุมไม่น้อยกว่า 16 คน และลงมติตามเสียงข้างมาก ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานออกอีกเสียงและเป็นเสียงชี้ขาด

1.1.1. ยกเว้น การประชุมเพื่อให้สมมาชิกสมามัญ พ้นจากสภาพ เพราะขาดตามมาตรา 11 ( 1 ค ง และ จ ) โดยให้ถือเสียง 22 คนขึ้นไปในจำนวนกรรมการ

1.2. มาตรา 25 : สภานายกพิเศษจะส่งหนังสือไปที่กรรมการเรื่องใดก็ได้เพื่อแสดงความเห็น

1.3. มาตรา 26 : มติที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษก่อน และภายใน 15 วันถ้าไม่มีคำสั่งยับยั้งจะถือว่าเห็นชอบ แต่ถ้ายับยั้งมตินี้ จะประชุมอีกครั้งใน 30 วัน และเสียงต้องมากกว่า 22 คนจึงจะดำเนินการมตินั้น

1.3.1. 1 การออกข้อบังคับ

1.3.2. 2 การกำหนดงบประมาณ

1.3.3. 3 การให้สมาชิกสามัญพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 24 วรรคสาม

1.3.4. 4 การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 41 วรรรคสาม (4และ5)

2. หมวด 5 การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

2.1. มาตรา 27 : ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลมาทำการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์

2.1.1. ยกเว้น 1 กระทำต่อตนเอง

2.1.2. ยกเว้น 3 เป็นนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ฝึกอบรมจากสถาบันที่ได้รับอนุญาตจากราชการ

2.1.3. ยกเว้น 4 บุคคลซึ่งกระทรวงมอบหมายให้กระทำได้

2.1.4. ยกเว้น 5 ผู้ประกอบโรคศิลปะ

2.1.5. ยกเว้น 6 ผู้เชี่ยวชาญของทางราชการซึ่งมีใบอนุญาต

2.1.6. ยกเว้น 7 คนที่ปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

2.1.6.1. ยกเว้น 2 ช่วยเหลือหรือเยียวยาผู้ป่วยโดยไม่รับผลประโยชน์

2.1.7. ยกเว้น 8 คนที่ดูแลผู้ป่วยตามระเบียบของรัฐมนตรี

2.2. มาตรา 28 : การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาตและอื่นๆให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล

2.3. มาตรา 29 : การขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาต มี ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ และทั้งคู่

2.4. มาตรา 30 :ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องมี ดังนี้

2.4.1. 1 ชั้นหนึ่ง

2.4.1.1. ก รับปริญญาหรือเทียบเท่าในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือทั้งคู่จากสถาบันที่รับรองแล้ว

2.4.1.2. ข รับปริญญาหรือเทียบเท่าในสาขาการพยาบาลการผดุงครรภ์หรือทั้งคู่จากสถาบันจากต่างประเทศซึ่งตรวจสอบแล้ว แต่ถ้าเป็นคนไทยไม่ต้องตรวจ

2.4.2. 2 ชั้นสอง

2.4.2.1. ก รับประกาศนียบัตรในระดับต้นจากสถาบันที่กรรมการรับรอง

2.4.2.2. ข รับประกาศนียบัตรจากต่างประเทศและได้รับการรับรอง แต่ถ้าเป็นคนไทยไม่ต้องเป็นผู้ที่ถูกตรวจ

2.5. มาตรา 31 : ผู้ใดที่ขาดจากสมาชิกภาพจะให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดและนำใบมาส่งภายใน 15 วัน

2.6. มาตรา 32 : ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

2.7. มาตรา 33 : คนที่ได้รับความเสียหายเพราะคนในวิชาชีพสามารถมายืนเรื่องต่อสภาการพยาบาลได้ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่ผู้กว่าวโทษรู้เรื่อง และไม่เกิน 3 ปี

2.8. มาตรา 34 : เมื่อสภารับเรื่องแล้วตามมาตรา 33 ถ้ามีมติให้พิจารณาจริยธรรม เลขาธิการต้องเสนอเรื่องให้ประธานอนุกรรมการจริยธรรม

2.9. มาตรา 35 : คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมจากสมาชิกสามัญโดย

2.9.1. ประธาน 1 คน , อนุกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คนแล้วเสนอต่อคณะกรรมการ

2.10. มาตรา 36 : คณะกรรมการมีมติต่อรายงาน

2.10.1. 1 ให้คณะอนุกรรมการหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม

2.10.2. 2 ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนถ้ามีมูล

2.10.3. 3 ยกข้อกล่าวหาถ้าไม่มีมูล

2.11. มาตรา 37 : คณะอนุกรรมการสอบสวนต้องสรุปผลการสอบสวนให้กรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด

2.12. มาตรา 38 : ให้อนุกรรมการจริยธรรมและสอบสวนเป็นเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฏหมายอาญา

2.13. มาตรา 39 : ประธานอนุกรรมการส่งเรื่องให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิทำคำชี้แจ้งและนำพยานต่างๆมายืนยันต่อประธานอนุกรรมการภายใน 15 วันนับแต่ตั้งวันที่รับแจ้ง

2.14. มาตรา 40 : ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนเสนอสำนวนการสอบสวนต่อคณะกรรมการเมื่อเสร็จ

2.15. มาตรา 41 : กรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดดังนี้ ภายใต้บังคับมาตรา 26 คำวินิจฉัยของกรรมการถือเป็นที่สุด

2.15.1. 1 ยกข้อกล่าวหา

2.15.2. 2 ว่ากล่าวตักเตือน

2.15.3. 3 ภาคทัณฑ์

2.15.4. 4 พักใช้ใบอนุญาตตามสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี

2.15.5. 5 เพิกถอนใบอนุญาต

2.16. มาตรา 42: ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งสภาการพยาบาลตามมาตรา 41

2.17. มาตรา 43 : ตามมาตรา 27 ห้ามไม่ให้ผู้ที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอน มาประกอบวิชาชีพนับตั้งแต่วันที่รับทราบ

2.18. มาตรา 44 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 จะถูกลงโทษตามมาตรา 46

2.19. มาตรา 45 : ผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อครบ 2 ปีแล้วสามารถยืนคำร้องขอใบอนุญาตใหม่ได้ ถ้าคณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาตเป็นครั้งที่ 2 ผู้นั้นจะหมดสิทธิจะขอรับใบอนุญาตอีกต่อไป

3. หมวด 5 ทวิ พนักงานเจ้าหน้าที่

3.1. มาตรา 45 ทวิ : ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปเพื่อตรววจสอบใบอนุญาต ค้นหรือยึดเอกสารในเวลาทำการหรือเวลากลางวัน

3.2. มาตรา 45 ตรี : เจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวในการเข้าตรวจ

3.3. มาตรา 45 จัตวา : ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายอาญา

3.4. มาตรา 45 เบญจ : ให้ผู้รับผิดชอบในมาตรา 45 ทวิ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

4. หมวด 6 บทกำหนดโทษ

4.1. มาตรา 46 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือ มาตรา 43 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี/ปรับไม่เกิน 20,000 บาท / ทั้งจำทั้งปรับ

4.2. มาตรา 47 : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

4.3. มาตรา 48 : ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือ ไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตามมาตรา 38 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน / ปรับไม่เกิน 1,000 บาท / ทั้งจำทั้งปรับ

4.4. มาตรา 48 ทวิ : ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา 45 เบญจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน / ปรับไม่เกิน 1,000 บาท / ทั้งจำทั้งปรับ

5. มาตราทั่วไป

5.1. มาตรา 1 : เรียก พรบ.นี้ว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528

5.2. มาตรา 2 : มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

5.3. มาตรา 3 : ในส่วนของบรรดากฎหมาย กฏต่างๆ หากขัดแย้ง ให้ยึดพรบ.นี้ เป็นหลัก

5.4. มาตรา 4 :

5.4.1. การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ มีการสอน การแนะนำ การตรวจและทำคลอดรวมไปถึงการวางแผนครอบครัว

5.4.2. การประกอบวิชาชีพพยาบาล มีการสอน การบรรเทาอาการของโรค การรักษาในเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ ช่วยเหลือแพทย์ในการรักษาโรค

5.5. มาตรา 5 : ว่าด้วยเรื่ององค์ประกอบของสภาการพยาบาล ซึ่งมี สมาชิก กรรมการ คณะกรรมการ เลขาธิการ พนักงานเจ้าหน้าที่ รัฐมนตรีโดยรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งตำแหน่งในองค์กร

6. หมวด 1 สภาการพยาบาล

6.1. มาตรา 6 : สภาการพยาบาลเป็นนิติบุคคล

6.2. มาตรา 7 : วัตถุประสงค์ เพื่อ ควบคุมความประพฤติ ส่งเสริมการศึกษา ช่วยเหลือและให้คำปรึกษารวมถึงผดุงความเป็นธรรมให้แก่สมาชิก

6.3. มาตรา 8 : อำนาจขององค์กร ได้แก่ รับขึ้นทะเบียน ออกใบอนุญาต สั่งพักใช้และเพิกถอน รับรองหลักสูตร รับรองสถาบัน รับรองปริญญา

6.4. มาตรา 9 : รายได้ ขององค์กรมาจาก เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ค่าจดะเบียนสมาชิิกสามัญทค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมต่างๆ

6.5. มาตรา 10 : รัฐมนตรี = สภานายกพิเศษ

7. หมวด 2 สมาชิก

7.1. มาตรา 11 :

7.1.1. 1 สมาชิกสามัญ

7.1.1.1. ก ไม่ต่ำกว่า 18 ปี

7.1.1.2. ข มีประกาศนียบัตรในการพยาบาล ผดุงครรภ์ หรือทั้งคู่

7.1.1.3. ค ไม่ประพฤติเสียหาย

7.1.1.4. ง ไม่เคยเข้าคุก

7.1.1.5. จ ไม่มีจืดฟั่นเฟือนและไม่มีโรคที่กำหนด

7.1.2. 2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ = สภาเชิญมา

7.2. มาตรา 12 : สิทธิ หน้าที่ของ สมาชิกสามัญ

7.2.1. 1 ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นสิทธิ

7.2.2. 2 แสดงความเห็นและส่งหนังสือมาที่สภา เป็นสิทธิ

7.2.3. 3 เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง/ รับเลือกเป็นกรรมการ เป็นทั้งสิทธิและหน้าที่

7.2.4. 4 คงเกียรติศักดิ์ของวิชาชีพ เป็นหน้าที่

7.3. มาตรา 13 : สภาพของสมาชิกสามัญสิ้นสุด

7.3.1. ตาย

7.3.2. ลาออก

7.3.3. ขาดตามมาตรา 11 (1)

8. หมวด 3 คณะกรรมการ

8.1. มาตรา 14 : คณะกรรมการสภาการพยาบาล มี ทั้งหมด 32 คน แบ่งได้ดังนี้

8.1.1. แต่งตั้งจากกระทรวงต่างๆ 16 คน

8.1.2. มาจากกาารเลือกตั้ง 16 คน

8.2. มาตรา 15 : กรรมการที่ปรึกษา ไม่เกิน 8 คน และอยู่ตามวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

8.3. มาตรา 16 : คณะกรรมการเลือกกรรมการมาเป็น นายกสภา, อุปนายก1และ2 รวม 3 คน

8.4. มาตรา 17 : เลือกกรรมการตามมาตรา 14 แต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา 15 เลือกกรรมการไปดำรงตำแหน่งต่างๆตามมาตรา 16

8.5. มาตรา 18 : คุณสมบัติของกรรมการที่ปรึกษา

8.5.1. 1 ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือทั้งคู่

8.5.2. 2 ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบ/เพิกถอนใบอนุญาต

8.5.3. 3 ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย

8.6. มาตรา 19 : กรรมการอยู่ไม่เกิน2วาระ (วาระหนึ่งคือ 4 ปี)

8.7. มาตรา 20 : การพ้นจากตำแหน่งตามวาระของกรรมการ

8.7.1. 1 สภาพสิ้นสุดตามมาตรา 13

8.7.2. 2 ขาดตามมาตรา 18

8.7.3. 3 ลาออก

8.8. มาตรา 21 : กรณีตำแหน่งว่าง

8.8.1. ถ้าตำแหน่งว่าง < 8 คน = คณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญตามมาตรา 18 ใน 30 วัน

8.8.2. ถ้าตำแหน่งว่าง>8 คน = สมาชิกสามัญเลือกตั้งกรรมการ ใน 90 วัน

8.8.3. ถ้าวาระของกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งเหลือไม่ถึง 90 วัน = ไม่ต้องเลือกกรรมการแทน

8.8.4. ให้คนที่แทนกรรมการอยู่เท่าวาระที่จะหมด เท่านั้น

8.9. มาตรา 22 : อำนาจหน้าที่ของกรรมการ : บริหารกิจการตามวัตถุประสงค์ใในมาตรา 7 แต่งตั้งอนุกรรมการจริยธรรม และออกข้อบังคับต่างๆ ว่าด้วยการเป็นสมาชิก การกำหนดโรค การกำหนดค่าลงทะเบียน

8.10. มาตรา 23 : นายกสภา จะมีอุปนายกคนที่ 1และ 2 เลขาธิการ(นายกเลือกเอง) รองเลขา ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก