กระบวนการวิจัย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กระบวนการวิจัย by Mind Map: กระบวนการวิจัย

1. 2.1 การกำหนดปัญหาการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย

2. 1) การกำหนดปัญหาการวิจัย/ คำถามการวิจัย (Research problem)

2.1. การวิจัย (Research)

2.1.1. หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบเพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ ยอมรับในศาสตร์แต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง(คณะทำงานยกร่างจรรยาบรรณนักวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2540)

2.1.2. คือ การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)

2.2. หมายถึง ประเด็น ข้อสงสัยหรือคำถามที่ผู้วิจัยมีต่อปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ และต้องการแสวงหา คำตอบให้ถูกต้อง ตรงกับสภาพความเป็นจริงในปรากฏการณ์นั้น ด้วยกระบวนการวิจัยที่มีระเบียบ ระบบ

2.3. ปัญหาการวิจัย/ คำถามการวิจัย ต้องเกิดก่อน หัวข้อการวิจัย และ วัตถุประสงค์การวิจัย จึงนำไปสู่การทำวิจัย เพื่อหาคำตอบ

2.4. การกำหนดปัญหาการวิจัยที่ดี

2.4.1. 1. การกำหนดปัญหาวิจัยควรระบุในรูปคำถามมากกว่ารูปบอกเล่า เพราะจะทำให้มองเห็นภาพของปัญหาได้ชัดเจน

2.4.1.1. ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นชุมชน...

2.4.2. 2. ปัญหาไม่ควรจะกว้างหรือแคบเกินไป เพราะถ้าปัญหากว้างเกินไปจะทำให้ ขอบเขตเนื้อหาการวิจัยกว้างทำให้ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าปัญหาแคบ เกินไปอาจทำให้ขาดความน่าสนใจหรือนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ไม่คุ้มค่า

2.4.3. 4.ปัญหาควรมีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีหรือการปฏิบัต

2.4.4. 3. ปัญหาควรมีความชัดเจน ไม่คลุมเครือเพราะถ้าไม่ชัดเจน จะทำให้การออกแบบการวิจัยไม่ถูกต้องและมีความผิดพลาดจากการ วิจัยเกิดขึ้นเช่น ออกแบบสอบถามผิดประเด็นหัวข้อ

2.4.5. 6. ปัญหาของการวิจัยหนึ่งๆอาจมีหนึ่งข้อหรือมากกว่าหนึ่งข้อได้ แต่ถ้ามีหลายข้อควรจะเป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน

2.4.6. 5. ปัญหาไม่ควรอ้างอิงกับค่านิยม แต่ควรอ้างอิงกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้

2.5. แหล่งที่มาของการกำหนดปัญหาการวิจัย

2.5.1. 1. ทฤษฎี / แนวคิดใหม่ที่ผู้วิจัยสนใจปัญหาที่มาจากแนวความคิด และแบบจำลอง คือ สิ่งที่ นักวิชาการเฉพาะสาขาต้องการนำเสนอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ภายใต้ข้อสมมติฐาน

2.5.2. 2. สภาพปัญหาในที่ทำงานประสบการณ์ในการทำงาน การดำรงชีวิตของบุคคลหรือประสบการณ์ของผู้วิจัย

2.5.3. 3. การอ่าน ศึกษาค้นคว้า หนังสือ วารสาร บทคัดย่อ งานวิจัย ข้อเสนอแนะในรายงานการวิจัยของผู้อื่น หรือจากการพบช่องว่าง รูโหว่ หรือ ข้อค้นพบที่ยังไม่พบ แล้วนำไปทำการพิสูจน์

2.5.4. 4. การสอบถามผู้รู้ ผู้ชำนาญในสาขาวิชา ผู้นำทางวิชาการ เช่น อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ นักวิชาการในสาขาวิชานั้น ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้ผู้วิจัยเกิดมุมมองการวิจัยมากขึ้น

2.5.5. 5. การวิเคราะห์เหตุการณ์ ประเด็นปัญหาทางสังคม หรือการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ ที่ต้องการคำตอบแนว ทางแก้ไขหรือทางออกของปัญหา

2.5.6. 6. ความต้องการใช้ผลการวิจัยขององค์การและแหล่งทุนสนับสนุน การวิจัยต่างๆ กำหนดทิศทางการวิจัย(Term of reference) เพื่อเป็นกรอบหัวข้อวิจัย

2.5.7. 7.ประเด็นจากที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการ

2.6. ปัญหาการวิจัย

2.6.1. 1. ปัญหาการวิจัยจะเขียนอยู่ในรูปข้อคำถามที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปรากฏการณ์หรือตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

2.6.2. 2. ปัญหาการวิจัยต้องแสดงให้เห็นชัดว่าสามารถหาคำตอบของปัญหาได้ ตามกระบวนการวิจัยและสถิติเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบอย่างเชื่อถือ

2.7. หลักเกณฑ์การเลือกปัญหาเพื่อทำวิจัย

2.7.1. 1. พิจารณาความสามารถ และความสนใจของผู้วิจัย

2.7.2. 2. คุณค่าของผลการวิจัยที่จะได้โดยต้องตั้งคำถามว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ กับใคร เป็นความรู้ใหม่หรือไม่และไม่ซ้ำซ้อนกับใคร

2.7.3. 3. สามารถเก็บข้อมูลได้ตรวจสอบข้อมูลได้ภายใต้เงื่อนไขเวลาที่มีและ งบประมาณรวมทั้งไม่ละเมิดจริยธรรม จรรยาบรรณ ศิลธรรม วัฒนธรรม

2.8. หัวข้อการวิจัย (Research topic)

2.8.1. ความหมาย เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยตั้งชื่อเรื่องหรือหัวข้อการวิจัยให้ตรงกับประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา หรือหาคำตอบ (เมื่อกำหนดปัญหาการวิจัยได้ก็นำไปสู่หัวข้อการวิจัย)โดยมีหลักการดังนี้

2.8.1.1. 1. หัวข้อต้องตรงกับปัญหาที่ต้องการศึกษา

2.8.1.2. 2. ใช้ภาษาทางวิชาการชัดเจนกระทัดรัด และครอบคลุมปัญหาที่ต้องการศึกษา

2.8.1.3. 3. เป็นข้อความเรียงที่แสดงถึง วัตถุประสงค์หลักตัวแปรที่ศึกษา และตัวอย่างที่ศึกษา

2.8.1.4. 4. ใช้คำที่บ่งบอกถึงประเภทการวิจัย เช่น - การสำรวจความคิดเห็น........ - การศึกษาเปรียบเทียบ......

2.8.1.5. 5. หัวข้อต้องไม่นำไปสู่การแตกแยกหรือต่อต้าน เช่น - เปรียบเทียบศาสนา...

3. 2) การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยและสมมติฐานการวิจัย (Research objectives/purposes and Hypothesis)

3.1. วัตถุประสงค์การวิจัย

3.1.1. หมายถึง การกำหนดความต้องการในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้หาความจริงของผู้วิจัยว่าต้องการศึกษา เรื่องใดภายใต้ขอบเขตอะไรเพื่อให้ทราบว่าผู้วิจัยมุ่งหาคำตอบเรื่องใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องมีความชัดเจนใน เรื่องต่อไปนี้

3.1.1.1. 1. ผู้วิจัยต้องการศึกษาปัญหา หรือต้องการพิสูจน์เกี่ยวกับความจริงเรื่อง อะไรบ้าง

3.1.1.2. 2. แสดงขอบเขตของปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือต้องการศึกษานั้นกว้างขวาง เพียงใด ซึ่งการแสดงขอบเขตจะมีส่วนช่วยในการกำหนดสมมุติฐานการวิจัย ประชากรการสุ่มกลุ่มตัวอย่างวิธีดำเนินการวิจัย

3.2. หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย

3.2.1. - ครอบคลุมปัญหาการวิจัย หรือคำถามการวิจัยที่มีสอดคล้องกับ ชื่อเรื่องและความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เพราะจะได้หาคำตอบตามคำถามการวิจัยอย่างครบถ้วน

3.2.2. - วัตถุประสงค์จะต้องระบุวิธีการศึกษา ตัวแปร และกลุ่มที่ศึกษา อย่างชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร กับใคร อย่างไร

3.2.3. - วัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อต้องสามารถหาคำตอบได้หรือ สามารถวัดได้ทางสถิติ

3.2.4. - ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับของการศึกษา หรือ เรียงลำดับตามความสำคัญ

3.2.5. - การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยควรเขียนในรูปประโยคบอกเล่า โดยขึ้นต้นคำว่า “เพื่อ” แล้วตามด้วยคำที่แสดงพฤติกรรมที่มีความชัดเจนใน ตัวเองเข้าใจได้ง่ายตรงไปตรงมาในการแสวงหาคำตอบและสาระหลักที่ ต้องการศึกษา เช่น

3.2.5.1. - เพื่อศึกษาระดับ.. / เพื่ อศึกษาความสัมพันธ์.../ เพื่ อศึกษากระบวนการ..

3.2.5.2. พึงระวังคำว่า เพื่อศึกษา.... เพราะมีความหมายกว้างเกินไปควรเพิ่มว่า ศึกษาระดับอะไร เพื่อให้มีความชัดเจนในการหาคำตอบ

3.3. ข้อควรระวัง!!!! นักวิจัยมักจะสับสนระหว่าง... การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย และ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3.4. ความแตกต่างกันคือ ** วัตถุประสงค์ของการวิจัยแสดงถึงประเด็นที่จะทำการศึกษาก่อนที่วิจัยจะเริ่มต้นหรือ ก่อนที่วิจัยจะแล้วเสร็จ

3.5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย แสดงถึง สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการนำผลการวิจัยที่ เสร็จแล้วไปใช้ เช่น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลในการแกไ้ขปัญหาการตั้งครรภ์

3.6. ชนิดของวัตถุประสงค์การวิจัย

3.6.1. 1.วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่คาดหวัง(implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนี้เป็นการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ จุดมุ่งหมายในระดับกว้างจึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด

3.6.2. 2.วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective)จะพรรณนาถึงสิ่ง ที่จะเกิดขึ้นจริงในงานวิจัยนี้โดยอธิบายแจกแจงเป็นรายละเอียด จากวัตถุประสงค์ทั่วไปว่าจะทำอะไร เมื่อไร ที่ไหน ใคร อย่างไร

4. 3) สมมติฐานการวิจัย Hypothesis

4.1. ความหมาย เป็นข้อความที่คาดคะเนหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่าง สมเหตุสมผลโดยมาจากพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี ผลการวิจัยต่างๆ ที่ เกี่ยวกับเรื่องนั้นเพื่อตอบประเด็นปัญหาวิจัยที่กำหนดไว้ว่าผลการวิจัยของ ปัญหานั้นๆจะออกมาในลักษณะใดเพื่อจะเป็นแนวทางในการดำเนินการพิสูจน์ ตามกระบวนการวิจัยขั้นต่อไป

4.2. 1.1 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (directional hypothesis) เป็นสมมติฐาน ที่เขียนโดยสามารถระบุได้แน่นอนถึงทิศทางของความสัมพันธ์ของตัวแปร ว่าสัมพันธ์ในทางใด (บวกหรือลบ)

4.3. การตั้งสมมติฐานเป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยคาดการณ์คำตอบล่วงหน้า ซึ่งไม่ใช่การเดาสุ่มแต่เป็นการคาดคะเนอย่างมีเหตุผลตามหลักการที่ทบทวนทฤษฎีแล้ว

4.4. ลักษณะของสมมติฐาน

4.4.1. 1) สมมุติฐานเป็นคำกล่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

4.4.2. 2) สมมติฐานสร้างขึ้นจาก ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่ เกี่ยวข้อง

4.4.3. 3)สมมุติฐานสามารถทดสอบได้ตามหลักการทางสถิติ

4.5. แนวทางเขียนสมมุติฐานวิจัย

4.5.1. 1.เขียนเป็นประโยคบอกเล่า(ควรระบุทิศทาง)

4.5.2. 2. ประโยคสั้นๆชัดเจนไม่กำกวม และซ้ำซ้อน

4.5.3. 3.เขียนภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยเท่านั้น

4.5.4. 4. เขียนแยกเป็นข้อๆชัดเจนไม่เขียนรวมกัน

4.5.5. 5. สามารถทดสอบได้ตามหลักสถิติ

4.5.6. 6. ควรเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

4.6. ประโยชน์ของสมมุติฐานการวิจัย

4.6.1. 1.แสดงถึงการพิจารณาและเน้นตัวแปรสำคัญ

4.6.2. 2.เชื่อมโยงกรอบแนวคิดการวิจัยกับวัตถุประสงค์การวิจัย

4.6.3. 3. เชื่อมโยงแนวคิดระหว่างตัวแปรในสมมุติฐานกับแนวคิด ทางทฤษฎี

4.6.4. 4.กระบวนการตั้งสมมุติฐานสามารถสร้างทฤษฎีใหม่ได้

4.7. ประเภทของสมมติฐาน

4.7.1. 1. สมมติฐานทางวิจัย (Research hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนอยู่ในรูป ของข้อความที่ใช้ภาษาเป็นสื่อในการอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา สมมติฐานทางวิจัย

4.7.1.1. 1.2 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis) เป็น สมมติฐานที่เขียนโดยไม่ได้ระบุทิศทางของความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือทิศทางของความแตกต่าง

4.7.2. 2. สมมติฐานทางสถิติ (statistical hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียน ให้อยู่ในรูปของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์โดยใช้สัญลักษณ์แทนที่ คุณลักษณะของประชากร ซึ่งเรียกว่าค่าพารามิเตอร์มาเขียนอธิบาย ความสัมพันธ์ของตัวแปรหรืออธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มส่วนใหญ่ ใช้ในวิจัยทางคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์

4.7.2.1. 2.1 สมมติฐานหลัก (Null hypothesis) แทนด้วยสัญลักษณ์ H0 สมมติฐาน ทางสถิติที่เขียนอธิบายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยระบุว่าตัวแปร 2 ตัวนั้น ไม่มีความสัมพันธ์กันหรือคุณลักษณะใดคุณลักษณะหนึ่งของสอง กลุ่มนั้นไม่แตกต่างกัน

4.7.2.2. 2.2 สมมติฐานทางเลือก (Alternative hypothesis) แทนด้วยสัญลักษณ์ H1 เป็นสมมติฐานทางสถิติที่เขียนอธิบายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยระบุ ถึงทิศทางของความสัมพันธ์ของตัวแปรว่าสัมพันธ์กันทางใด (บวกหรือ ลบ)

5. 4)การกำหนดตัวแปรในการวิจัย(Research variable)

5.1. ตัวแปร (Variable)

5.1.1. หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่ต้องการศึกษาสามารถแปรค่าได้นับได้แจกแจงได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เพศ เชื้อชาติ ระดับสติปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรม ทัศนคติ ความพึงพอใจ เป็นต้น

5.2. ประเภทของตัวแปรในการวิจัย

5.2.1. 1. จำแนกตามความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงเหตุผลเป็นการ แบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุด

5.2.1.1. 1.1 ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล( ซึ่งก็คือตัวแปรตาม) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัย กำหนดขึ้นหรือนำเข้าในการวิจัยเพื่อศึกษาผลที่จะเกิดขึ้นจากตัวแปรนี้

5.2.1.2. 1.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็ นตัวแปรที่เป็นผลมาจากการ เปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับ นำมาวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด

5.2.2. 2. จำแนกตามค่าที่วัดตัวแปร

5.2.2.1. 2.1 ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) หรือ ตัวแปรค่า ต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรสามารถบอกจำนวนปริมาณมากน้อย

5.2.2.2. 2.2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative Variables) หรือ ตัวแปรค่า ไม่ต่อเนื่อง (Concret Variables) เป็นตัวแปรบอกลักษณะ

5.2.3. 3. จำแนกตามการจัดกระทำกับตัวแปรของผู้วิจัยซึ่งใช้ในกรณีเป็นการ วิจัยแบบทดลอง

5.2.3.1. 3.1 ตัวแปรที่กำหนดได้ (Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัย สามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่นวิธีสอนการจัดสอนซ่อมเสริม การจัดสภาพห้องเรียนและอื่นๆ เป็นต้น

5.2.3.2. 3.2 ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็น ลักษณะของผู้รับการทดลอง เช่น เพศ สภาพเศรษฐกิจ ความถนัดเป็นต้น

5.2.4. นอกจากนี้ กรณีที่เป็นการวิจัยแบบทดลอง( Experimental research) ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ผู้วิจัยมิได้มุ่งศึกษาโดยตรงแต่เป็นตัวแปรที่อาจมีผลกระทบ ต่อตัวแปรตามได้ ตัวแปรนี้เรียกว่า ตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) และ ตัวแปรสอดแทรก (Intervening variable) ที่จะมี อิทธิพลต่อตัวแปรตามคล้ายๆ กับตัวแปรแทรกซ้อน ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น นโยบายของรัฐบาล ภาวะเศรษฐกิจ

5.3. ระดับของการวัดตัวแปร (Level of measurement)

5.3.1. 1. ระดับนามบัญญัติหรือระดับกลุ่ม (Nominal scale) การวัดใน ระดับนี้เป็นการวัดเพื่อจัดกลุ่มหรือการแยกประเภท ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ ที่บ่งบอกถึงลักษณะที่แตกต่างกันเท่านั้นไม่สามารถบอกถึงปริมาณความมากน้อยที่ แตกต่างได้ เช่น เพศ(ชาย เพศหญิง)

5.3.2. 2. ระดับเรียงอันดับ (Ordinal scale) การวัดในระดับนี้เป็น การวัดที่สูงกว่าระดับนามบัญญัติสามารถบอกถึงลำดับของข้อมูลหรือ ตัวแปรได้ว่ามากหรือน้อยกว่า สูงหรือต่ำกว่าก่อนหรือหลัง เช่น ระดับการศึกษาแบ่งเป็น ประถมศึกษา มัธยมศึกษา

5.3.3. 3. ระดับอันตรภาค (Interval scale) การวัดในระดับนี้เป็นการ วัดที่สูงกว่ามาตราเรียงอันดับคือนอกจากจะสามารถบอกถึงความ แตกต่างแล้วยังสามารถบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้ว่าที่แตกต่างกัน นั้นแตกต่างกันอยู่เท่าไร ดังนั้น ตัวเลขในระดับนี้จึงสามารถ บวก ลบ กัน ได้ แต่ไม่สามารถคูณ หาร กันได้เนื่องจากในระดับนี้ไม่มีจุดศูนย์แท้ (Absolute zero) เช่น การวัดอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความร้อน

5.3.4. 4. ระดับอัตราส่วน (Ratio scale) การวัดในระดับนี้เป็นการวัด ที่สมบูรณ์ที่สุด กล่าวคือสามารถนำมาเรียงความสำคัญบอกความสูง ต่ำมากน้อยได้ บอกปริมาณความแตกต่างได้ และสามารถบอกถึง อัตราส่วนของความแตกต่างได้ด้วย ทั้งนี้ถือว่าเป็นระดับการวัดที่มีศูนย์ แท้ ดังนั้นตัวเลขในระดับนี้สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หารกันได้ เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก เงินเดือน รายได้ เป็นต้น