การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

Começar. É Gratuito
ou inscrever-se com seu endereço de e-mail
การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง por Mind Map: การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากรแบ่งเป็น 2 ประเภท

1.1. 1. ประชากรที่นับได้ (Finite Population) หมายถึง ประชากรที่มีจำนวนจำกัดหรือมีขนาดพอที่จะนับจำนวนแน่นอนได้ เช่น จำนวนนักเรียนจำนวนพนักงานของบริษัท

1.2. 2. ประชากรที่นับไม่ได้ (InfinitePopulation) หมายถึง ประชากรที่มีจำนวนไม่สิ้นสุดหรือมีขนาดใหญ่ จนไม่สามารถนับจำนวนที่แน่นอนได้ เช่น จำนวนเมล็ดข้าวสารในกระสอบ จำนวนปลาในแม่น้ำ เป็นต้น

2. การกำหนดประชากร

2.1. ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่างๆทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มของ สิ่งของ คน หรือเหตุการณ์ต่างๆ

2.1.1. -

2.1.2. -

3. กลุ่มตัวอย่าง (Sample)

3.1. กลุ่มตัวอย่าง (Sample)หมายถึง ตัวแทนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชากรที่ผู้วิจัยเลือกมาศึกษา เพื่อนำผลสรุปจากการศึกษาไปบรรยายลักษณะของสิ่งที่ศึกษาหรือสรุปอ้างอิงคุณลักษณะของประชากร

3.2. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Sampling) หมายถึงวิธีการเลือกประชากรส่วนหนึ่งมาศึกษา

3.3. การสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) หมายถึงการกลุ่มตัวอย่างของทุกหน่วยของประชากรที่มีโอกาสเลือกเท่าๆกัน

3.4. หน่วยตัวอย่าง (Sample Unit) คือ องค์ประกอบย่อยของประชากร เช่น •ถ้าประชากรในงานวิจัยคือคนไทยทุกคน หน่วยหรือองค์ประกอบ ย่อยของประชากร คือคนไทยคนหนึ่ง ๆ •ถ้าทุกครัวเรือนในประเทศไทยคือประชากรในงานวิจัย หน่วยหรือ องค์ประกอบย่อยของประชากร คือ ครัวเรือนหนึ่งครัวเรือน

4. ความหมายของค่าพารามิเตอร์และค่าสถิติ

4.1. -

4.2. ค่าพารามิเตอร์ (Parameters) หมายถึง ค่าต่าง ๆ ที่คำนวณได้จากประชากร เช่น ค่าเฉลี่ยของประชากร  แทนด้วยสัญลักษณ์  μ (มิว)   เบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร แทนด้วยสัญลักษณ์ σ  (ซิกม่า )

4.3. ค่าสถิติ(Statistic) เป็นค่าตัวเลขที่คำนวณได้จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้สรุปหรือบรรยายแสดงลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างแทนด้วยสัญลักษณ์X (เอ็กซ์บาร์) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของของกลุ่มตัวอย่างแทนด้วยสัญลักษณ์S.D. (เอสดี)

5. ลักษณะกลุ่มตัวอย่างที่ดี

5.1. 1.การเป็นตัวแทน(Representation)หมายถึง ผู้ที่จะถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติเหมือนหรือใกล้เคียงกับประชากรที่ต้องการศึกษา การเป็นตัวแทนที่ดี

5.2. 2. ความเหมือนกัน (Homogeneous) •ถ้าประชากรมีความเหมือนกันมากความแตกต่างของสมาชิกมีน้อย แสดงถึง ความแปรปรวนในกลุ่มตัวอย่างมีน้อย ก็ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย •ถ้าความเหมือนมีความแตกต่างกันมาก แสดงถึง ความแปรปรวนในกลุ่มตัวอย่างมีมากจำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนมาก เพื่อคลอบคลุมคุณลักษณะต่างๆ ของประชากร

5.3. -

5.4. 3. ความแม่นยําชัดเจน ถ้าต้องการความแม่นยําชัดเจนในเรื่องที่ จะศึกษาค้นคว้า ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่เพื่อให้ผลการศึกษาเกิดความแม่นยำมากขึ้น

6. ปัจจัยในการพิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

6.1. 1.ประชากร ถ้าประชากรมีความแตกต่างน้อยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยได้แต่ถ้าประชากรมีลักษณะที่แตกต่างกันมาก ควรใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้นและให้กระจายไปตามลักษณะที่แตกต่างกันของประชากรนั้นๆ

6.2. 2.จำนวนตัวแปรที่ศึกษาถ้ามีการศึกษาตัวแปรหลายๆตัว และมีการเปรียบเทียบตัวแปรด้วยก็ยิ่งต้องใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมากๆเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างกระจาย เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้

6.3. 3.ลักษณะของเรื่องที่วิจัยและวิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยบางประเภทไม่จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เช่น การวิจัยเชิงทดลอง

6.4. 4.ค่าใช้จ่าย เวลา แรงงาน ถ้ามีจำนวนเงินมากพอก็สามารถใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น ถ้ามีจำนวนเงินน้อยก็อาจกำหนดขอบเขตของประชากร และกลุ่มตัวอย่างให้น้อยลง

6.5. 5.ขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ยินยอมให้เกิดขึ้นจากการสุ่มตัวอย่าง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของการวิจัย ถ้าปัญหานั้นมีความสำคัญมากต้องการความเชื่อมั่นสูงก็อาจกำหนดความคลาดเคลื่อนไว้น้อย ถ้าปัญหานั้นสำคัญน้อยกว่าก็อาจยินยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อนให้มากขึ้น

7. ขั้นตอนในการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง

7.1. 1.การกำหนดขนาดหรือจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง 2.วิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง(หน่วยวิเคราะห์)

7.2. -