ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy Adaptation Theory

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy Adaptation Theory by Mind Map: ทฤษฎีการปรับตัวของรอย  Roy Adaptation Theory

1. กระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับทฤษฎี

1.1. บุคคล หมายถึง คนหรือมนุษย์ที่เป็นผู้รับบริการที่ประกอบด้วย ชีวะ จิต สังคม และมีระบบการปรับตัวเป็นองค์รวม มีลักษณะเป็นระบบเปิด

1.2. ภาวะสุขภาพ หมายถึง สภาวะและกระบวนการที่ทำให้บุคคลมีความมั่นคงสมบูรณ์

1.3. สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลทั้งภายในและภายนอก ซึ่งรอยได้เรียกสิ่งแวดล้อมว่าเป็นสิ่งเร้า มี 3 ประเภท คือ

1.3.1. สิ่งเร้าตรง

1.3.2. สิ่งเร้าร่วม

1.3.3. สิ่งเร้าแฝง

1.4. การพยาบาล การช่วยเหลือให้กับบุคคล กลุ่มบุคคล ครอบครัว ชุมชน และการพยาบาลมีเป้าหมายส่งเสริมให้มีการปรับตัวที่เหมาะสมของบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุ เพื่อบรรลุซึ่งการมีสภวะสุขภาพและคุณภาพชีวิต

2. ทฤษฎีการปรับตัวของรอยกับกระบวนการทางพยาบาล

2.1. ขั้นตอนที่ 1  การประเมินสภาวะ

2.1.1. 1.ประเมินพฤติกรรม ปฏิกริยาตอบสนองของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้า

2.1.2. 2. ประเมินองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว ประเมินหรือค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาการปรับตัว

2.2. ขั้นตอนที่ 2  การวินิจฉัยการพยาบาล

2.2.1. จะกระทำหลังการประเมินสภาวะ โดยการระบุปัญหาที่ประเมินได้ และระบุสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุของปัญหา

2.3. ขั้นตอนที่ 3  การวางแผนการพยาบาล

2.3.1. กำหนดเป้าหมายการพยาบาลหลังจากที่ได้ระบุปัญหาและสาเหตุ จุดมุ่งหมายของการพยาบาลคือการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม

2.4. ขั้นตอนที่ 4  การปฏิบัติการพยาบาล

2.4.1. ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลเป็นขั้นตอนที่ 5 ตามแนวคิดของรอย โดยเน้นจัดการกับสิ่งเร้า หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาการปรับตัว โดยทั่วไปมักจะมุ่งปรับสิ่งเร้าตรงก่อนเนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหา ขั้นต่อไปจึงพิจารณาปรับสิ่งเร้าร่วมหรือสิ่งเร้าแฝง และส่งเสริมการปรับตัวให้เหมาะสม

2.5. ขั้นตอนที่ 5  การประเมิน

2.5.1. ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาลคือ การประเมินผลการพยาบาล โดยดูว่าการพยาบาลที่ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่

3. มโนทัศน์หลักในทฤษฎีการปรับตัวของรอย

3.1. บุคคลเป็นระบบการปรับตัว (Human as Adaptive system)

3.1.1. สิ่งนำออกหรือผลรับ

3.1.1.1. เป็นผลของการปรับตัวของบุคคลที่จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการปรับตัวทั้ง 4 ด้าน

3.1.2. สิ่งนำเข้า

3.1.2.1. สิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมหรือจากตัวบุคคลและระดับการปรับตัวของบุคคล

3.1.3. กระบวนการ

3.1.3.1. กลไลการควบคุม เกิดขึ้นในระบบตามธรรมชาติ นั่นคือ การปรับตัวพื้นฐานของบุคคล

3.1.3.2. กลไกการรับรู้ เกิดจากการเรียนรู้ คือ การทำงานของจิตและอารมณ์ 4 กระบวนการ ได้แก่

3.1.3.2.1. การรับรู้

3.1.3.2.2. การเรียนรู้

3.1.3.2.3. การตัดสินใจ

3.1.3.2.4. การแก้ปัญหา

3.2. พฤติกรรมการปรับตัว (Adaptive Mode)

3.2.1. ด้านร่างกาย

3.2.1.1. วิธีการตอบสนองด้านร่างกายต่อสิ่งเร้าโดยสะท้อนให้เห็นการทำงานระดับเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ

3.2.1.1.1. การรับความรู้สึก

3.2.1.1.2. น้ำและอิเลคโตรลัยท์

3.2.1.1.3. การทำงานของระบบประสาท

3.2.1.1.4. การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ

3.2.2. ด้านอัตมโนทัศน์

3.2.2.1. อัตมโนทัศน์ด้านร่างกาย

3.2.2.1.1. ด้านรับรู้ความรู้สึกด้านร่างกาย

3.2.2.1.2. ด้านภาพลักษณ์ของตนเอง

3.2.2.2. อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคล

3.2.2.2.1. ด้านความมั่นคงในตนเอง

3.2.2.2.2. ด้านความคาดหวัง

3.2.2.2.3. ด้านศีลธรรมจรรยา

3.2.3. ด้านบทบาทหน้าที่

3.2.3.1. บทบาทปฐมภูมิ

3.2.3.1.1. ( Primary role ) ป็นบทบาทที่มีติดตัว เกิดจากพัฒนาการช่วงชีวิตช่วยในการคาดคะเนว่าแต่ละบุคคลควรมีพฤติกรรมอย่างไร

3.2.3.2. บทบาททุติยภูมิ

3.2.3.2.1. ( Secondary role)เกิดจากพัฒนาการทางด้านสังคมการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ

3.2.3.3. บทบาทตติยภูมิ

3.2.3.3.1. ( Tertiary role ) ป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลมีอิสระที่จะเลือกเพื่อส่งเสริมให้บรรลุซึ่งเป้าหมายบางอย่างของชีวิต สิ้นสุดการสนทนาผ่านแชท

3.2.4. ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน

3.2.4.1. สัมพันธภาพกับบุคคลใกล้ชิด

3.2.4.1.1. บุคคลมีความสำคัญต่อตนเองมากที่สุด

3.2.4.2. สัมพันธภาพกับระบบสนับสนุน

3.2.4.2.1. บุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องและพึ่งพาซึ่งกันและกัน

3.2.5. เป็นการรับรู้ต่อตนเองตามความรู้สึก เกียวกับความพยายามในการดำรงไว้ ซึ่งความมั่นคง หรือความปลอดภัย ถ้าหากมีการปรับตัวไม่ได้ บุคคลจะเเสดงออกในพฤติกรรม เช่น ควาวิตกกังวล ไม่สบายใจ เจ็บปวดทางด้านจิตใจ

3.3. สิ่งเร้า (stimuli)

3.3.1. สิ่งเร้าตรง

3.3.1.1. สิ่งเร้าที่บุคคลเผชิญโดยตรงและมีความสำคัญมากที่สุดที่ทำให้บุคคลต้องปรับตัว เช่น ได้รับการผ่าตัดหรือการฉายรังสี เป็นต้น

3.3.2. สิ่งเร้าร่วม

3.3.2.1. สิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม และมีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลนั้น

3.3.2.1.1. เช่น คุณลักษณะทางพันธุกรรม เพศ ระยะพัฒนาการของบุคคล ยา สุรา บุหรี่ อัตมโนทัศน์ การพึ่งพาระหว่างกัน

3.3.3. สิ่งเร้าแฝง

3.3.3.1. สิ่งเร้าที่เป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีตซึ่งเกี่ยวกับทัศนคติ อุปนิสัยและบุคลิกภาพเดิม สิ่งเร้าในกลุ่มนี้บางครั้งตัดสินยาก ว่ามีผลต่อการปรับตัวหรือไม่

4. สรุป ทฤษฎีการปรับตัวของรอย

4.1. ทฤษฏีการปรับตัวของรอย ช่วยให้เห็นลักษณะของวิชาชีพพยาบาล และทิศทางของการปฏิบัติการพยาบาล จุดมุ่งหมายและกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสม และท้ายที่สุดทฤษฎีการปรับตัวของรอย ยังได้เน้นให้เห็นถึงคุณค่าของผู้ป่วย ซึ่งเป็นผู้รับบริการที่พยาบาลควรให้ความสำคัญการส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วยนับว่าเป็นบริการจากพยาบาลที่มีคุณประโยชน์ต่อบุคคลในสังคม