
1. อาการปวดศีรษะมักรุนแรง และส่วนมากจะมีการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะ ก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้ บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก จนรับประทานอะไรไม่ได้อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อน ปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็น ภาพบิดเบี้ยวนำมาก่อน
2. อาการปวด
2.1. โรคไมเกรน (Migraine)
2.1.1. สาเหตุ
2.1.1.1. อาจจะเกิดจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแสในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดสมอง
2.1.2. อาการและอาการแสดง
2.1.2.1. ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอย แต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกันหรือเป็นสลับข้าง
2.1.2.2. ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากจะปวดตุ๊บๆ นานๆครั้งหรือเกิน20นาที (ยกเว้นจะได้รับประทานยา) แต่บางครั้งถ้าเป็นรุนแรง อาจปวดนานเป็นวันๆหรือสัปดาห์ ก็ได้ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อๆสลับกับปวดตุ๊บๆในสมอง
2.1.3. การตรวจ
2.1.3.1. ตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆจากการตรวจร่างกาย หรือ การตรวจภาพวินิจฉัยสมอง แต่สามารถวินิจฉัย ได้จากประวัติอาการปวดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
2.1.4. การรักษา
2.1.4.1. 1.บรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้ยา เช่น การนวด การกดจุด การประคบเย็น ประคบร้อน หรือการนอนหลับให้เพียงพอ
2.1.4.2. 2.ลดความถี่ ความรุนแรงของโรค ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การกำจัดความเครียด ทานยาป้องกันไมเกรน
2.1.4.3. 3.หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการปวด
2.2. รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
2.2.1. สาเหตุ
2.2.1.1. ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงต้นตอของการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่แน่ชัด ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในขณะที่ยีนอาจไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง แต่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีความไวต่อปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมได้ เช่น การติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่กระตุ้นการเกิดโรค
2.2.2. อาการและอาการแสดง
2.2.2.1. 1.มีอาการปวด บวม แดง อุ่น ข้อฝืด โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันในร่างกาย เช่น มือ ข้อมือ ข้อศอก เท้า ข้อเท้า เข่า และคอ
2.2.2.2. 2.อาการข้อฝืดแข็ง อาจเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ตอนตื่นนอนในตอนเช้า หรือ นั่งเป็นเวลานาน ๆ
2.2.2.3. 3.ปุ่มรูมาตอยด์ (Rheumatoid Nodules) ปุ่มเนื้อนิ่ม ๆ ที่มักเกิดบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ เช่น ข้อศอก ข้อนิ้วมือ กระดูกสันหลัง
2.2.3. การตรวจ
2.2.3.1. ตรวจเลือด ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ มักมีการประเมินผลจากค่าการอักเสบ (Erythrocyte Sedimentation Rateinflamation: ESR) หรือหาค่าโปรตีนในร่างกายที่เป็นตัวบ่งบอกว่ามีการอักเสบขึ้นในร่างกาย (C-reactive protein: CRP)
2.2.3.2. เอกซเรย์ แพทย์อาจแนะนำให้เอกซเรย์เพื่อติดตาม การดำเนินของโรค
2.2.4. การรักษา
2.2.4.1. 1. การใช้ยา
2.2.4.1.1. ได้แก่ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
2.2.4.1.2. ในรายที่เป็นรุนแรง มีอาการมากและข้อถูกทำลายมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ายาระดับที่ 2 ซึ่งได้แก่ ยาต้านมาลาเรีย ยาทองคำ ยาเมทโธเทรกเซท (methotrexate) ยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine) เป็นต้น
2.2.4.2. 2. การพักผ่อนและการบริหารร่างกาย
2.2.4.3. 3.การป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายมากขึ้นและหลีกเลี่ยงการกระทำบางอย่างที่อาจส่งเสริมให้ข้อถูกทำลายเร็วขึ้น เช่น การนั่งพับเข่าในกรณีที่มีข้อเข่าอักเสบ หรือการบิดข้อมือใน
2.2.4.4. 4.การผ่าตัด จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว หรือกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เอ็นขาด เป็นต้น
2.2.5. ภาวะแทรกซ้อน
2.2.5.1. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
2.2.5.2. ปุ่มรูมาตอยด์ (Rheumatoid Nodules)
2.2.5.3. ตาแห้งและปากแห้ง
2.2.5.4. การติดเชื้อ
2.2.5.5. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)
2.2.5.6. ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ
2.2.5.7. โรคปอด
2.2.5.8. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
3. อาการเวียนศีรษะ
3.1. สาเหตุ
3.1.1. การเสียการทรงตัวที่ระบบการทรงตัวส่วนปลาย
3.1.1.1. โรคของหูชั้นกลางที่มีผลต่อหูชั้นใน
3.1.1.2. โรคของหูชั้นใน
3.1.2. การอยู่ในวัตถุที่เคลื่อนที่และโคลงเคลง
3.1.3. ปัญหาทางสายตา
3.1.4. การกระทบกระเทือนของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน
3.1.5. การได้รับสารพิษ หรือที่เป็นอันตรายต่อประสาทการได้ยิน
3.1.6. การเสียการทรงตัวที่ระบบประสาทส่วนกลาง
3.1.6.1. เนื้องอกของระบบประสาท
3.1.6.2. การแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่สมอง
3.1.7. ตั้งครรภ์ในระยะแรก (แพ้ท้อง)
3.1.8. โรคทางจิตเวช
3.1.8.1. โรคเครียด
3.1.8.2. โรควิตกกังวล
3.1.8.3. โรคซึมเศร้า
3.1.8.4. โรคแพนิก
3.2. อาการและอาการแสดง
3.2.1. ความรู้สึกเหมือนสภาพแวดล้อมหรือสิ่งรอบตัวมีการหมุน หรือที่เรียกว่า บ้านหมุน (Vertigo)
3.2.2. มีอาการเวียนหัวในลักษณะหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม (Lightheadedness)
3.2.3. ไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้ หรือทรงตัวไม่อยู่
3.2.4. มีอาการหนักหัว มึนงง ตื้อ ๆ
3.2.5. คลื่นไส้ อาเจียน
3.3. การตรวจ
3.3.1. ตรวจการได้ยิน (audiogram)
3.3.2. ตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (video electronystagmography, VNG)
3.3.3. ตรวจวัดแรงดันของน้ำในหูชั้นใน (electrocochleography, ECOG)
3.3.4. ตรวจการทรงตัว (post urography)
3.3.5. ตรวจการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน (evoke response audiometry)
3.4. การรักษา
3.4.1. 1.พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล นอนพักขณะที่มีอาการเวียนศีรษะ
3.4.2. 2.หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะในระหว่างเกิดอาการ เช่น การหมุนหันศีรษะเร็วๆ การเปลี่ยนแปลงท่าทางอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้มเงยคอหรือหันอย่างเต็มที่
3.4.3. 3.ขณะเวียนศีรษะห้ามขับรถ หรือทำงานเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล
3.4.4. 4.ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีผลต่อระบบหลอดเลือดสมอง เช่น โรคเบาหวาน โดยควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดให้อยู่ในระดับปกติ โรคความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับไขมันในเลือด ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่และ งดดื่มสุรา
3.4.5. 5.หลังจากอาการเวียนศีรษะดีขึ้น ให้พยายามลุกขึ้นบ่อย ๆ เพื่อให้สมองปรับตัว กับอาการเวียนศีรษะ
3.4.6. 6.ลดการสูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงกาแฟ และควรดื่มน้ำให้มากๆ