
1. ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
1.1. การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์อย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน ให้เต็มตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคมและ วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนา ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่า ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติ
2. วิสัยทัศน์
2.1. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคน ให้ได้รับการพัฒนาด้ำนร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุข และเหมาะสมตามวัย มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย และสำนึกความเป็นไทย โดยความร่วมมือ ระหว่างสถานศึกษา พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก
3. หลักการ
3.1. 1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน
3.2. 2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
3.3. 3. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย
3.4. 4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต
3.5. 5. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน
4. สำหรับเด็กอายุต่ำกว่ำ 3 ปี
4.1. จุดหมาย
4.1.1. 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขภาพดี
4.1.2. 2. สุขภาพจิตดีและมีความสุข
4.1.3. 3. มีทักษะชีวิตและสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4.1.4. 4. มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสารและสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ
4.2. คุณลักษณะที่พึงประสงค์
4.2.1. 1. พัฒนาการด้านร่างกาย
4.2.1.1. 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี
4.2.1.2. 2. ใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน
4.2.2. 2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
4.2.2.1. 3. มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
4.2.3. 3. พัฒนาการด้านสังคม
4.2.3.1. 4. รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
4.2.3.2. 5. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
4.2.4. 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
4.2.4.1. 6. สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย
4.2.4.2. 7. สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
4.3. การอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็ก
4.3.1. แบ่งการอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็กออกเป็น 2 ช่วงอายุ ประกอบด้วย ช่วงอายุแรกเกิด - 2 ปี เป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน โดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูและช่วงอายุ 2-3 ปี เป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและ การเรียนรู้โดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู
4.4. ประสบการณ์สำคัญ
4.4.1. 1. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
4.4.1.1. สนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท
4.4.2. 2. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
4.4.2.1. แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกที่เหมาะสมกับวัย มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส
4.4.3. 3. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
4.4.3.1. ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวในชีวิตประจำวัน
4.4.4. 4. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
4.4.4.1. เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวในชีวิตประจำวันผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และการเคลื่อนไหว
4.5. สาระที่ควรเรียนรู้
4.5.1. 1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
4.5.1.1. เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเอง การเรียกชื่อ ส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย
4.5.2. 2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
4.5.2.1. เกี่ยวกับบุคคลภายใน ครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัว
4.5.3. 3. ธรรมชาติรอบตัว
4.5.3.1. เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว
4.5.4. 4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
4.5.4.1. เกี่ยวกับชื่อของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัว
5. สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี
5.1. จุดหมาย
5.1.1. 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี
5.1.2. 2. สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและจิตใจที่ดีงาม
5.1.3. 3. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
5.1.4. 4. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสารและการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
5.2. มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5.2.1. 1. พัฒนาการด้านร่างกาย
5.2.1.1. มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
5.2.1.2. มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
5.2.2. 2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
5.2.2.1. มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
5.2.2.2. มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
5.2.2.3. มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
5.2.3. 3. พัฒนาการด้านสังคม
5.2.3.1. มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5.2.3.2. มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย
5.2.3.3. มาตรฐานที่8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.2.4. 4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
5.2.4.1. มารฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
5.2.4.2. มาตรฐานที่10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
5.2.4.3. มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
5.2.4.4. มาตรฐานที่12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ ได้เหมาะสมกับวัย
5.3. การจัดเวลาเรียน
5.3.1. เวลาเรียนสำหรับเด็กจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง โดยมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่ำ 180 วันต่อ 1 ปีการศึกษา ในแต่ละวันจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
5.4. ประสบการณ์สำคัญ
5.4.1. 1. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
5.4.2. 2. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
5.4.3. 3. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
5.4.4. 4. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
5.5. สาระที่ควรเรียนรู้
5.5.1. 1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
5.5.1.1. เกี่ยวกับชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี
5.5.2. 2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
5.5.2.1. เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิด
5.5.3. 3. ธรรมชาติรอบตัว
5.5.3.1. เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง
5.5.4. 4. สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
5.5.4.1. เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน
5.6. การจัดประสบการณ์
5.6.1. ไม่จัดเป็นรายวิชาโดยมีหลักการจัดประสบการณ์ แนวทางการจัดประสบการณ์และการจัดกิจกรรมประจำวัน
5.6.2. หลักการจัดประสบการณ์
5.6.2.1. 1. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
5.6.2.2. 2. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
5.6.2.3. 3. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
5.6.2.4. 4. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
5.6.2.5. 5. ให้พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
5.6.3. แนวทางการจัดประสบการณ์
5.6.3.1. 1. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยำพัฒนาการและกำรทำงานของสมอง
5.6.3.2. 2. จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก
5.6.3.3. 3. จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะและสาระการเรียนรู้
5.6.3.4. 4. จัดประสบการณ์ให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำ และนำเสนอความคิด
5.6.3.5. 5. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่
5.6.3.6. 6. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5.6.3.7. 7. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน
5.6.3.8. 8. จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้ำและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริง โดยไม่ได้คำดการณ์ไว้
5.6.3.9. 9. จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นรายบุคคล
5.6.3.10. 10. จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งการวางแผนการสนับสนุน สื่อ แหล่งเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรมและการประเมินพัฒนาการ
5.7. หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน
5.7.1. 1. กำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ในแต่ละวัน
5.7.1.1. วัย 3 - 4 ปี มีความสนใจประมาณ 8 - 12 นาที
5.7.1.2. วัย 4 - 5 ปี มีความสนใจประมาณ 12 - 15 นาที
5.7.1.3. วัย 5 - 6 ปี มีความสนใจประมาณ 15 - 20 นาที
5.7.2. 2. กิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดทั้งในกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่อง นานเกินกว่า 20 นาที
5.7.3. 3. กิจกรรมที่เด็กมีอิสระเลือกเล่นเสรี เพื่อช่วยให้เด็กรู้จักเลือกตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ เช่น การเล่นตามมุม การเล่นกลางแจ้ง ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 40 - 60 นาที
5.7.4. 4. กิจกรรมควรมีควำมสมดุลระหว่ำงกิจกรรมในห้องและนอกห้อง
5.8. ขอบข่ายของกิจกรรรมประจำวัน
5.8.1. 1. การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่
5.8.2. 2. การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
5.8.3. 3. การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
5.8.4. 4. การพัฒนาสังคมนิสัย
5.8.5. 5. การพัฒนาการคิด
5.8.6. 6. การพัฒนาภาษา
5.8.7. 7. การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์