1. ด้านสิ่งแวดล้อม
1.1. วิกฤต
1.1.1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1.1.1.1. เกิดสภาวะอากาศแบบสุดขั้ว(5)
1.1.1.2. ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและมีสีเข้ม ทำให้ดูดซับความร้อนได้ดี ส่งผลให้อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น(5)
1.1.1.3. น้ำแข็งขั้วโลกละลายจนทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สะสมมสนานกว่าพันปีออกไป(5)
1.1.2. มลภาวะทางดิน น้ำ อากาศ
1.1.2.1. การเผาเชื้อเพลิงประเภทซากดึกดำบรรพ์ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากรถยนต์ การเผาซากวัสดุทางการเกษตร(5)
1.1.3. ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากฝีมือมนุษย์
1.1.3.1. การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์(5)
1.1.3.2. การทำประมงที่มากเกินไป ทำให้ปะการังถูกทำลาย(5)
1.1.4. จำนวนขยะพลาสติกที่เพิ่มมากขึ้น
1.1.4.1. ระบบทุนนิยมและกระแสบริโภคนิยมก่อให้เกิดการใช้พลาสติกที่เพิ่มขึ้น ทำให้วาฬนำร่องครีบสั้นเกยตื้นและปละพะยูน(น้องมาเรียม)เสียชีวิตเนื่องจากพบขยะพลาสติกขวางลลำไส้(5)
1.2. การพัฒนา
1.2.1. พื้นที่สีเขียว
1.2.1.1. อนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในและนอกท้องถิ่นกำเนิด รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน(1) ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นและเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจหมุนเวียน(2)
1.2.2. ภาคทะเล
1.2.2.1. ปรับปรุง พื้นฟู และสร้างทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ ฟื้นฟูชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชายฝั่งทะเลได้รับการป้องกันและแก้ไขทั้งระบบ พัฒนาและเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมทางทะเลี่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(1)
1.2.3. สภาพภูมิอากาศ
1.2.3.1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีการปรับตัวเพื่อลดความสูญเสียจากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาและสร้างระบบรับมือ ปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ(1) ผลักดันให้ภาคการผลิตปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจตามแนวทางทางเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ(2)
1.2.4. ระบบนิเวศ
1.2.4.1. จัดทำผังภูมินิเวศเพื่อพัฒนาเมือง ชนบท พื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และพื้นที่อนุรักษ์ตามศักยภาพและเหมาะสม จัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสารเคมีในภาคเกษตรทั้งระบบ สงวนรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (1) ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และสอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ(2)
1.2.5. น้ำ
1.2.5.1. พัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบ เพิ่มผลิตภาพของน้ำทั้งระบบในการใช้น้ำทั้งระบบในการใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำให้ทัดเทียมกับระดับสากล(1)
1.2.6. พลังงาน
1.2.6.1. พัฒนาความมั่นคงพลังงานของประเทศ ส่งเสริมการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการใ้ช้พลังงานโดยลดความเข้มข้นของการใช้พลังงาน(1) ลดการใช้วัตถุดิบและลดของเสียจากกระบวนการผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ(2)
1.2.7. กระบวนทัศน์การพัฒนา
1.2.7.1. ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี พัฒนาเครื่องมือ กลไกและระบบยุติธรรมและรบบประชาธิปไตยส่ิงแวดล้อม (1) การมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยส่งเสริมการใช้มาตรการเชิงป้องกันก่อนเกิดภัยในพื้นที่สำคัญ(2) มีเป้าหมายเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตในการเกษตรและอาหารของประเทศทั้งระบบตั้งแต่การ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นต้นน้ำและแหล่งทรัพยากรชีวภาพของประเทศไปจนถึงการใช้ประโยชน์ อย่างสูงสุดและยั่งยืน การพัฒนาและปรับปรุงทรัพยากรที่มี การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการนำกลับมาใช้ใหม่ (4)
2. หากประชาชนของประเทศเป็นบุคคลที่มีความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างไร?
2.1. ด้านเศรษฐกิจ
2.1.1. การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ประชาชนสามารถพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งสามารถนำไปสู่การสร้างธุรกิจใหม่ การเพิ่มผลิตภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: ประเทศที่มีประชาชนที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์สูงสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการจัดการที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยในการเพิ่มผลิตภาพและลดต้นทุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุน: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การผลิตอัจฉริยะ และการพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งสามารถสร้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างความรู้และทักษะใหม่: การให้การศึกษาและฝึกอบรมทางวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาทักษะของบุคลากร ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดงานในยุคใหม่ และช่วยให้แรงงานมีความสามารถในการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูง การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ประชาชนสามารถระบุและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เช่น การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การสร้างสรรค์นวัตกรรมในภาคการเกษตรและการผลิต: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเกษตรและการผลิต เช่น การใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่ทนทาน การใช้หุ่นยนต์และออโตเมชั่นในกระบวนการผลิต การส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนา: การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์สามารถนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างโอกาสในเศรษฐกิจดิจิทัล: ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ การพัฒนาแอพพลิเคชั่น และการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจ การสนับสนุนการจัดการความเสี่ยง: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เช่น การป้องกันภัยพิบัติ การจัดการปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อแรงงานและธุรกิจ
2.2. ด้านสังคม
2.2.1. การตัดสินใจที่มีข้อมูล: ผู้คนที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จะสามารถตัดสินใจที่ดีขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเข้าใจและตอบสนองต่อข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและวิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล การสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้บุคคลสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการนวัตกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับโลก การแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม: ผู้ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการหาวิธีการที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน ซึ่งช่วยในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ หรือการใช้พลังงานทดแทน การศึกษาและการพัฒนาทักษะ: การให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ในระบบการศึกษา จะช่วยพัฒนาทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม การเสริมสร้างสุขภาพสาธารณะ: ความเข้าใจในหลักการทางวิทยาศาสตร์สามารถช่วยให้ประชาชนมีความรู้ ในการป้องกันและจัดการกับโรคต่างๆ เช่น การเข้าใจหลักการของการฉีดวัคซีน หรือการปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัย การตระหนักรู้ถึงโทษของสารเสพติด การส่งเสริมการวิจัย: เมื่อประชาชนมีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น การสนับสนุนและความสนใจในด้านการวิจัย และการพัฒนาอาจเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการสร้างความก้าวหน้าและนวัตกรรมในประเทศ
2.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
2.3.1. การตัดสินใจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้ประชาชนสามารถทำการตัดสินใจที่มีข้อมูลและ รู้จักเลือกวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดขยะพลาสติกหรือการใช้พลังงานทดแทน การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ: การเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการประหยัด พลังงานสามารถช่วยให้ประชาชนลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการรีไซเคิลและการจัดการขยะ: ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สามารถช่วยให้ประชาชนเข้าใจวิธีการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ และการจัดการขยะอย่างถูกต้องเพื่อลดปริมาณขยะที่ถูกฝังกลบหรือเผา การสนับสนุนโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: ผู้ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น การปลูกต้นไม้ การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ หรือการปกป้องสัตว์ป่า การวางแผนและการพัฒนาที่ยั่งยืน: ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ช่วยให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนและการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การออกแบบเมืองหรือชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหามลพิษ: ความเข้าใจในหลักการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน ช่วยให้ประชาชนสามารถร่วมมือในการค้นหาวิธีการลดมลพิษและพัฒนานวัตกรรมเพื่อปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช่วยให้ประชาชนเข้าใจผลกระทบ ที่เกิดขึ้นและสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ การศึกษาและการเพิ่มพูนความรู้: การศึกษาทางวิทยาศาสตร์สามารถช่วยให้ประชาชนมีความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ดีขึ้น เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. ด้านเศรษฐกิจ
3.1. วิกฤต
3.1.1. การว่างงาน ค่าครองชีพสูง หนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงกว่ารายได้(5)
3.1.2. การดึงการลงทุนกลับประเทศตนเองของประเทศต่างๆ การค้าระหว่างประเทศลดลง(5)
3.1.3. การปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น(5)
3.1.4. การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม(5)
3.1.5. ราคาผลผลิตเกษตรตกต่ำ(5)
3.2. การพัฒนา
3.2.1. การเกษตรกรรม
3.2.1.1. สร้างมูลค่า ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและมูลความหลากหลายของสินค้าทางการเกษตร พัฒนาความมั่นคงด้านการเกษตรและอาหารของประเทศและชุมชนในมิติปริมาณ คุณภาพ ราคาและการเข้าถึงอาหาร(1) การยกระดับภาคการเกษตรสู่การผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเพิ่มผลิตภาพ ลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตสู่อุตสาหกรรมอาหารมูลค่าสูง (2)
3.2.2. อุตสาหกรรม
3.2.2.1. สร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้งด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์อุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ (1) การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ยานยนต์ไฟฟ้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยสนับสนุนการลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ (2) รูปแบบการผลิตจะปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานเป็นหลัก(Labour intensive) ไปเป็นการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation) ตามแนวทาง อุตสาหกรรม 4.0 ภาคธุรกิจมีการปรับตัวให้อยู่รอดด้วยโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เกิด Startup ที่มีการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมตอบสนองต่อความต้องการรูปแบบใหม่ ๆ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ต้องปรับให้มุ่งเน้นคุณภาพ ตรงตามความ ต้องการ และเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วยความเร็ว (Economy of speed)(4)
3.2.3. การท่องเที่ยว
3.2.3.1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลกและเพิ่มสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงามและแพทย์แผนไทย(1) การปรับเปลี่ยนภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคบริการที่สำคัญของไทยให้เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพ คุณค่า และความยั่งยืนมากกว่าปริมาณจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริการที่สอดรับกับทิศทางและแนวโน้มของตลาดยุคใหม่(2)
4. ด้านสังคม
4.1. วิกฤต
4.1.1. การก่อสงคราม การใช้อาวุธนิวเคลียร์(5)
4.1.2. โรคระบาด ยาเสพติด ระบบสาธารณสุข(5)
4.1.3. จากสื่อออนไลน์ เช่น การถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ จนทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ความโศกเศร้า ความอับอาย ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม และการถูกล่อลวงไปพบคนแปลกหน้า(5)
4.2. การพัฒนา
4.2.1. ศักยภาพคนตลอดชีวิต
4.2.1.1. พัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย ตั้งแต่การตั้งครรภ์ วัยเรียน วัยรุ่น วัยแรงงานและวัยสูงอายุ เน้นการเตรียมความพร้อมทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์ การปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พัฒนาทักษะและสมรรถนะแรงงานและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุยังเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ (1)
4.2.2. การศึกษา/ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
4.2.2.1. เพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการศึกษา พัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต วางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม และสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ (1) ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและการพัฒนาทักษะอาชีพที่มีคุณภาพ(2)
4.2.3. สุขภาวะที่ดี
4.2.3.1. สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาวะ การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามสุขภาวะ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี พัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัย (1) กระจายโอกาสเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ(2) ผู้คนในสังคมได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การใช้ชีวิต สังคม และการศึกษา ไปเน้นสุขภาพสุขอนามัย มากขึ้น ในขณะที่สังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่าง สมบูรณ์ ดังนั้นบทบาทของ Life-long learning และการยกระดับทักษะเดิมเสริมทักษะใหม่ (Reskill,Upskill) จึงมีความจำเป็นสำหรับยุคหลังเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (4)
4.2.4. ระบบสาธารณสุขและอนามัย
4.2.4.1. เสริมสร้างระบบและยกระดับความสามารถในการป้องกันโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ(1)