ถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis)
by Suphanee Srisuk
1. พยาธิสภาพ ส่วนใหญ่พบการอุตันที่ท่อซีสติค (Cystic duct) ถุงน้ำดีจะโปล่งตึงผนังบวมมีหลอดเลือดปรากฎให้เห็นชัดเจนเมื่อเหตุการณ์ดำเนินต่อไปการอักเสบก็จะลุกลามเข้าไปในผนังช่องท้องของกระเพาะและตับ (Gastrohepatic omentum) รวมไปถึงบริเวณของท่อน้ำดีรวมถุงน้ำดีที่บวมนั้นจะกดทับลงบนท่อน้ำดีร่วมท่อน้ำดีเริ่มบวมทำให้น้ำดีไหลไม่สะดวกขังอยู่ในถุงน้ำดีและอาจจะเกิดท่อทางเดินน้ำดีอักเสบ (Secondary Cholangitis)ร่วมด้วยผู้ป่วยจะมีสภาพของดีซ่าน นิ่วในถุงน้ำดีอาจจะไปทำอันตรายต่อเยื่อบุถุงน้ำดี ผลทำให้มีเอนไซม์ไลโซโชม์ (Lysosomal enzym) ถูกปล่อยออกมาจากเซลล์ที่ได้รับอันตรายและมีผลทำให้เกิดการอักเสบของถุงน้ำดีเกิดขึ้นน้ำดีในถุงน้ำดีจะเป็นต้นต่อของไลโซเลซิทิน(Lysolecithin)ซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลันของถุงน้ำดี โดยจะไปทำลายเซลล์เพิ่มข้้นสารไลโซเลซิทินจะเพิ่มขึ้นในน้ำดีซึ่งอยู่ในถุงน้ำดี
2. สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบ ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันกระบวนการอักเสบจะค่อยๆหายไปตามธรรมชาติ อีกประมานร้อยละ 15 ของผู้ป่วย การอักเสบจะดำเนินต่อไป ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น ในบริเวณรอบๆถุงน้ำดี เช่น เป็นหนอง(Empyema)หรือเนื้อตาย(Gan-grene)ของถุงน้ำดีมีการแตกทะลุ ทำให้เกิดเป็นฝีที่บริเวณรอบๆของถุงน้ำดีหรือใต้กระบังลม ประมาณร้อยละ 2 ที่กระบวนการอักเสบอย่างเฉียบพลันดำเนินต่อไปอย่างรวดเร็วทำให้ถุงน้ำดีแตกกระจายไปยังทั่วท้องเกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องโดยทั่วๆไป
3. อาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบ 1.แบบเฉียบพลัน (Acute Cholcystitis)เป็นแบบที่พบเป็นส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องใต้ชายโครง บางอย่างรุนแรงภายหลังในการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ ประมาณ 1-3 ชั่วโมง ตำแหน่งที่เจ็บที่สุดจะสามารถชี้วัดได้โดยนิ้วมือเพียง 1-2 นิ้ว อาการปวดจะค้างคาอยู่ตรงนั้นเป็นชั่วโมงๆ หากทิ้งไว้วันถัดไปจะมีไข้ อาการตัวเหลืองจะไม่พบในแบบเฉียบพลัน 2.แบบเรื้อรัง (chronic cholecystitis) พบน้อยกว่ามาก เป็นภาวะที่ผนังของถุงน้ำดีมีการหนาตัวและแข็งจากการที่บวมอยู่เป็นเวลานานๆ อาการปวดท้องบริเวณชายโครงขวาจะไม่รุนแรง แต่เรื้อรังและเป็นๆหายๆ แยกจากภาวะปวดท้องจากสาเหตุอื่นๆได้ยาก
4. การวินิจฉัยโรค จากประวัติและการตรวจร่างกาย จากนั้นควรตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อซ้ำซ้อนด้วยหรือไม่ และตรวจอัลตราซาวด์เพื่อยืนยันการอักเสบและดูว่ามีนิ่วในระบบน้ำดีร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในผู้ป่วยที่ค่อนข้างอ้วน ในรายที่หน้าท้องหนามากอัลตราซาวด์อาจเห็นถุงน้ำดีได้ไม่ชัด การสแกนระบบน้ำดีที่เรียกว่า HIDA scan ก็ช่วยวินิจฉัยได้
5. การรักษา ในระยะแรกผู้ป่วยจะได้รับการงดน้ำงดอาหารเพื่อให้ถุงน้ำดีได้พัก และได้รับน้ำเกลือ, ยาระงับปวดและยาปฏิชีวนะหากพบว่าเกิดการติดเชื้อซ้ำแล้ว การรักษาโดยตรงคือการตัดถุงน้ำดีและเอานิ่ว (ถ้ามี) ออกไป ซึ่งแพทย์อาจทำด้วยวิธีผ่าตัดทางหน้าท้องหรือส่องกล้องผ่าตัด หัตถการนี้เรียกว่า ERCP
6. การป้องกัน โรคนี้อาจป้องกันได้ยาก การป้องกันในระยะยาวคือป้องกันไม่ให้อ้วน ไม่รับประทานอาหารหวานมากไปจนเกิดโรคเบาหวานและไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปในมื้อเดียว