1. รูปลักษณ์
2. พระปรคนธรรพ
2.1. พระปรคนธรรพ มีพระนามจริงว่า "พระนารทมุนี"
2.2. ลักษณะสำคัญในการสังเกต
2.2.1. ลักษณะหัวโขนที่เป็นตัวแทนพระปรคนธรรพ มี 2 ลักษณะ
2.2.1.1. หน้าสีเขียวช่อแค เป็นหน้าสวมมงกุฎยอดบวช ปาก จมูกเหมือนมนุษย์ ส่วนตาจระเข้หรือตานกนอน
2.2.1.2. หน้าสีส้มหรือสีปูนแห้ง เป็นหน้าสวมใบหน้าหน้าเหมือนมนุษย์เขียนลายทักษิณาวรรตใส่ยอดชัย
2.3. ความเกี่ยวข้องกับดนตรี
2.3.1. เป็นผู้สร้างพิณขึ้นเป็นคันแรก
2.3.2. พระปรคนธรรพเป็นประธานควบคุมการบรรเลงและจังหวะหน้าทับ
2.3.3. มีฝีมือในการขับร้องประโคมดนตรี
2.3.4. มีความชำนาญในการขับร้องและเล่นดนตรี มีหน้าที่บรรเลงดนตรีให้ความสำราญและขับกล่อมเทพยดา
2.3.5. วงดนตรีไทยมีเครื่องดนตรีที่ได้รับการยกย่อง ให้เป็นตัวแทนของพระปรคนธรรพ คือ "ตะโพน"
2.4. ความเป็นมา
2.4.1. เป็นตนในมหาฤาษีทั้งสิบ เกิดจากพระนลาฏของพระพรหม เป็นคนธรรพจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีความดีเกินกว่าจะเป็นมนุษย์แต่ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเทวดา อาศัยอยู่ระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์
2.5. ความเชื่อ
2.5.1. พระปรคนธรรพ มีกำเนิดมาจากหน้าผากของ พระพรหม (ผู้สร้างโลก) โดยพระพรหมสร้างพระปรคนธรรพให้จุติเป็น คนธรรพ ซึ่งก็คือเทวดาที่เป็นนักดนตรีอยู่บนสรวงสวรรค์ และต่อมาได้กลายมาเป็น เทวะฤๅษี มีนามว่า พระนารทมุนี
2.5.2. ความเชื่อ เทพแห่งคนธรรพ์ บรมครูแห่งการดนตรี ดีด สี ตี เป่า
3. พระพิราพ
3.1. ลักษณะในการสังเกต
3.1.1. 1.หน้ากางคางออก เรียกว่า หน้าจาวตาล สีม่วง สีน้ำรัก หรือสีทอง
3.1.2. 2.ปากแสยะ
3.1.3. 3.ตาจระเข้
3.1.4. 4.เขี้ยวทู่ หรือ เขียวตัด
3.1.5. 5.หัวโล้นสวมกะบังหน้า
3.1.6. 6.ตอนสวมเครื่องสวทมงกุฏยอดเดินหนกายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2กร มีกายเป็นวงทักขิณาวัฏ
3.2. ความเป็นมา
3.2.1. มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว
3.2.2. เป็นครูสูงสุดทั้งฝ่ายนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ โดยเชื่อกันว่า พระองค์นั้น เป็นภาคหนึ่งของพระอิศวร ซึ่งในคติดั่งเดิมเรียกพระองค์ว่าพระไภรวะ หรือไภราวะ หรือพระไภราพ เมื่อนาฏดุริยางค์ศิลป์ของไทยเรานับเอาศาสตร์แขนงนี้มาจากอินเดีย คติการนับถือพระอิศวรนารายณ์ทวยเทพทั้งหลายรวมไปถึงพระไภรวะจึงติดตามมาด้วย
3.3. ความสําคัญ
3.3.1. องค์พระพิราพในระบบความเชื่อของฝ่ายดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์นั้น ล้วนแต่เคารพ ยำเกรงและถือว่าท่านเป็นบรมครูในด้าน นาฏดุริยางคศิลป์ ที่ทรงมหิทธิฤทธิ์สูงสุด
3.3.2. ท่านคือปางหนึ่งของพระศิวะ พระพิราพถือเป็นเทพเจ้าแห่งความตายและสงคราม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้ให้ชีวิตและปัดเป่าโรคภัยและขจัดเสนียดจัญไรได้ทั้งสิ้น
3.4. คําไหว้
3.4.1. อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต พุทโธ สวัสดีมีไชย ธัมโม สวัสดีมีไชย สังโฆ สวัสดีมีไชย อิมัง ปทีปัง สุรังคันธัง อธิฏฐามิ
3.5. ความเชื่อ
3.5.1. อินดีย
3.5.1.1. เป็นเทพแห่งโรคร้าย ความตาย ภัยสงคราม
3.5.1.2. เป็นปางหนึ่งของพระอิศวรที่มีชื่อว่าพระไภราวะหรือพระไภราพ
3.5.2. ทางนาฏศิลป์
3.5.2.1. พระองค์ทรงเป็นผู้กําจัดภยันอันตรายและขจัดเสนียดจัญไรทั้งปวงทั้งเป็นบรมเทพสูงสุดของนาฏศิลป์ด้วย
3.5.3. ทิเบต
3.5.3.1. เทพเจ้าแห่งการร่ายรํา
3.6. ความเกี่ยวข้องกับดนตรี
3.6.1. เป็นบรมเทพสูงสุดของของดนตรีเช่นเดียวกับนาฏศิลปฺที่คนในวงการต่างให้ความเคารพยําเกรงนับถือในพระบรมอิทธิ์ฤทธิ์เป็นอย่างมาก
4. พระฤๅษีนารท
4.1. ความเป็นมา
4.1.1. พระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง
4.2. รูปลักษณ์
4.3. ความสำคัญ
4.3.1. เป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้า
5. พระวิษณุกรรม
5.1. ความเป็นมา
5.1.1. พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรมนั้น ในโองการกล่าวไว้ว่า “พระวิษณุกรรมผู้เรืองฤทธิ์ ท่านประสิทธิ์สาปสรรค์ เครื่องเล่นสิ่งสารพันในใต้หล้า” ซึ่งทำให้เข้าใจว่า พระวิศวกรรม ท่านเป็นนายช่าง เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะการช่าง การสร้างสรรค์เครื่องดนตรีอันไพเราะได้นั้น ย่อมเกิดจากอำนาจแห่งพระวิศวกรรมเป็นผู้บันดาลให้ถูกต้องตามลักษณะแห่งเครื่องดนตรี
5.2. รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอก
5.3. คำไหว้
5.3.1. "พระวิษณุกรรมผู้ทรงฤทธิ์ ท่านได้ประสิทธิ์สาปสรรค์เครื่องเล่นสิ่งสารพันในใต้หล้า "ตามคำไหว้ครูบทนี้ เป็นการกล่าวถึงพระวิษณุกรรมในฐานะครูช่าง ครูผู้สร้างเครื่องดนตรีไทยชนิดต่างๆ
5.4. ความสำคัญ
5.4.1. ท่านเป็นนายช่าง เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะการช่าง การสร้างสรรค์เครื่องดนตรีอันไพเราะได้นั้น ย่อมเกิดจากอำนาจแห่งพระวิศวกรรมเป็นผู้บันดาลให้ถูกต้องตามลักษณะแห่งเครื่องดนตรี
6. พระปัญจสิงขร
6.1. ความเป็นมา
6.1.1. แต่เดิมพระปัญจสิงขร เป็นมนุษย์ธรรมดา เป็นเด็กเลี้ยงโค และได้เสียชีวิตตั้งแต่วัยหนุ่ม จึงทำให้ท่านบังเกิดเป็น เทพบุตร ใน ชั้นจาตุมหาราช นามว่า “ปัญจสิขคนธรรพเทพบุตร” จะมีความสามารถในการบรรเลงพิณหรือดีดพิณ รวมทั้ง ขับลำนำ กล่าวโดยว่าเมื่อ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จจากสวรรค์ลงมายังโลกมนุษย์จะต้องมีปัญจดุริยางค์ หรือ ดนตรีของสรวงสวรรค์ บรรเลงนำลงมา และพระปัญจสิงขรก็จะเป็นผู้ดีดพิณ รวมถึง ไกวบัณเฑาะว์ นำอยู่ใน วงเครื่องสูง ในการนำเสด็จของพระพุทธเจ้าในทุกๆ ครั้ง
6.1.2. เป็นครูเทพแห่งดนตรีเครื่องสายมโหรี มีหน้าที่บรรเลงดนตรี ขับร้องและฟ้อนรำบำเรอเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าแห่งเครื่องดนตรีทั้งปวง
6.2. ชื่อที่เรียก
6.2.1. 1.พระปัญจสิงขร
6.2.2. 2.พระปัญจสีขร
6.2.3. สามารถเรียกได้ทั้ง 2 ชื่อ แต่...คนส่วนมากมักจะคุ้นชินในชื่อ พระปัญจสิงขร
6.3. ลักษณะทั่วไปของศีรษะครู
6.3.1. ความเชื่อที่หนึ่ง เชื่อว่า บนศีรษะของท่านจะจะเป็นมงกุฎยอดน้ำเต้ามี ๕ ยอด ร่างกายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรงอาภรณ์ประดับด้วยนิลรัตน์ ทรงภูษาสีแดง มีความสามารถในเชิง ดีดพิณ และขับลำนำ
6.3.2. ความเชื่อที่สอง เชื่อว่า บนศีรษะของท่านจะเป็นมงกุฎยอดน้ำเต้ามี ๕ ยอด กายสีขาว มี ๔ กร ทรงถือพิณและบัณเฑาะว์ เชื่อว่าเป็นศีรษะครูในตอนที่ท่านเป็นมนุษย์ จึงมีกายเป็นสีขาว
6.3.3. สาเหตุที่สร้างศีรษะครู (พระปัญสิงขร) บนยอดมี ๕ แฉกนั้นเนื่องจากตอนที่เป็นมนุษย์ในวัยเด็กจะไว้ ผม 5 แหยม หรือ 5 ปอย
6.4. เครื่องดนตรีประจำองค์
6.4.1. พิณและบัณเฑาะว์
6.4.1.1. พิณของพระปัญจสิงขร จะมีพรรณเลื่อมเหลืองดุจ ผลมะตูมสุกสะอาด คันของพิณก็จะเป็น แก้วอินทนิลมณี มีทั้งหมด 50 สาย (ทำด้วยเงิน) ส่วน ลูกบิด (เวทกะ) ที่สำหรับสอดสายพิณก็จะทำด้วย แก้วประพาฬ
6.4.1.2. บัณเฑาะว์ของพระปัญจสิงขรไม่ได้มีการกล่าวถึงไว้แต่อย่างใด
6.5. ถือว่าเป็น 1 ใน 3 เทพเจ้าแห่งดุริยางคศิลป์
6.5.1. ซึ่งจะประกอบไปด้วย
6.5.1.1. 1.พระวิษณุกรรม ซึ่งถือว่าเป็นเทพที่สร้างเครื่องดนตรีทุกชนิด
6.5.1.2. 2.พระปรคนธรรพ เทพที่มีความชำนาญในดนตรีมีหน้าที่ขับกล่อมให้เทพยดาและพวกเราจะนับถือเป็น ครูแห่งตะโพน
6.5.1.3. 3.พระปัญจสิงขร เทพแห่งเครื่องสาย
6.6. พิธีไหว้ครู
6.6.1. การตั้งศีรษะของพระปัญจสิงขรซึ่งแทนสัญลักษณ์องค์พระปัญจสีขร ซึ่งถือว่าท่านเป็นครูพิณและขับร้องต่างๆ
6.6.2. เวลาตั้งหัวโขนหรือศีรษะท่าน จะตั้งทางด้านขวาของเวทีรวมกับศีรษะพระครูฤษีต่างๆ
6.6.3. การกล่าวบูชาครู
6.6.3.1. " ยอกรกึ่งเกล้าบงกชเกศ ไหว้ไทเทเวศน์เป็นใหญ่ อันเรืองรู้ครูครอบพิณชัย สถิตในฉ้อชั้นกามา ทรงนามชื่อปัญจสิงขร ได้สั่งสอนสานุศิษย์ในแหล่งหล้า เป็นตำหรับรับร้องสืบมา ปรากฎเกียรติในแผ่นดินดอน "
7. New node
7.1. New node
7.1.1. New node