คีตกวี201

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
คีตกวี201 by Mind Map: คีตกวี201

1. ครูเจริญใจ สุนทรวาทิน

1.1. ผลงานดีเด่น

1.1.1. มีผลงานการบันทึกแผ่นเสียงนับตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว 50 เพลง

1.1.2. พ.ศ. 2518 ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรให้ร่วมขับร้องและบรรเลงเพลงเดี่ยวซอสามสายไว้เป็นแบบฉบับ

1.1.3. การบันทึกเสียงขับร้องเพลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์

1.1.4. ได้รับเชิญจากวงดนตรีฟองน้ำให้ไปเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทยราชสำนัก ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

1.1.5. ได้รับเชิญร่วมบันทึกเสียงเพลงกล่อมลูกภาคกลางร่วม 30เพลงกับสถาบันภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล

1.1.6. ได้ตั้งวงดนตรีไทยขึ้น 2 วง คือ คณะ “เสนาะดุริยางค์” และ “ฟังเพลินเจริญใจ”

1.1.7. ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้ขับร้องถวายในบทเพลงพระราชนิพนธ์ส่วนพระองค์ เช่น "เต่าเห่" "แขกปัตตานี" "สมิงทอง-จำปานารี"

1.1.8. ได้สร้างโน้ตไทยของซอสามสายทั้งวิธีคลอร้องและวิธีรับและพิมพ์เป็นตําราเผยแพร

1.2. ประวัติ

1.2.1. เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2458

1.2.2. เป็นบุตรี พระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) กับคุณหญิงเสนาะดุริยางค์(เรือน)

1.2.3. เกิด ณ บ้านย่านคลองบางไส้ไก่ ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

1.2.4. บิดาเป็นนักดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1.2.5. มีพี่สาวคือ เลื่อน สุนทรวาทิน (ผลาสินธุ์) เป็นนักร้องเพลงไทยที่มีชื่อเสียง

1.3. บทบาทสถานะทางสังคม

1.3.1. เป็นพระอาจารย์สอนดนตรีถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

1.3.2. สอนดนตรีที่สถาบันและวงดนตรีต่างๆ เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

1.3.3. เป็นคณะบรรณาธิการทําสารานุกรมศัพท์ดนตรีไทยของราชบัณฑิตยสถาน

1.4. เหตุการณ์สำคัญทางดนตรีที่เกิดขึ้น

1.4.1. เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา เมื่อพ.ศ.๒๕๒๘อาจารย์เจริญใจได้รับเชิญเป็นศิลปินพิเศษเพื่อให้คําปรึกษา และเดี่ยวซอสามสายในการทําแถบวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทย

1.4.2. ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

1.4.3. ได้รับเกียรติการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(คีตศิลป์)ประจำปีพุทธศักราช๒๕๓๐

1.4.4. ท่าน เคยแสดงละครดึกดําบรรพ์ ซึ่งเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ณ วังพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล

2. นายบุญยงค์ เกตุคง

2.1. ประวัติ

2.1.1. เป็นบุตรชายคนใหญ่ของ นายเที่ยง นางเขียน เกตุคง

2.1.2. เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ปีวอกตรงกับเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2463 ที่ตำบลวันสิงห์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

2.1.3. มีน้องชาย 2 คนชื่อบุญยังและทองอยู่ มีน้องสาว 1 คนชื่อเบญจางค์ น้องชายที่ชื่อบุญยังเป็นนักดนตรีฝีมือดี

2.1.4. เริ่มหัดเรียนดนตรีไทยกับครูละม้าย(หรือทองหล่อ) ซึ่งเป็นครูสอนดนตรี อยู่บ้านข้างวัดหัวแหลม จังหวัดสมุทรสาคร

2.1.5. เคยรับราชการเป็นนักดนตรีไทยวงวดนตรีประชาสัมพันธ์ ต่อมาได้เป็นนักดนตรีไทยอาวุโสประจำสถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม และสัมพันธ์และหลังสุดเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยของกรุงเทพมหานคร จนเกษียณอายุราชการ

2.2. ผลงานดีเด่น

2.2.1. ผลงานประพันธ์เพลง

2.2.1.1. ประเภทเพลงโหมโรง

2.2.1.1.1. เพลงโหมโรงสามสถาบัน โหมโรงสามจีน และโหมโรงจุฬามณี

2.2.1.2. ประเภทเพลงเถา

2.2.1.2.1. เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงทยอยเถา ชเวดากองเถา เริงเพลงเถา กัลยาเยี่ยมห้อง

2.2.1.3. เพลงประกอบการแสดง

2.2.1.3.1. ตระนาฏราชและ เพลงระบำต่างๆที่ประกอบในละคร

2.2.1.4. เพลงเดี่ยวทางต่างๆ

2.2.1.4.1. ทางเดี่ยวระนาดเอก 3 ราง เพลงอาหนู และเพลงอาเฮีย

2.2.1.5. เพลงร่วมสมัย

2.2.1.5.1. เจ้าพระยา คอนแชร์โต้ เพลงผสมต่างๆ ของวงฟองน้ำ

2.2.2. ผลงานบันทึกเสียง

2.2.2.1. เพลงมุล่ง เดี่ยวระนาดเอก แผ่นเสียงตรามงกุฏ

2.2.2.2. บันทึกผลงานเพลงโหมโรงและเพลงเถา

2.2.2.3. ผ่นเสียงของวังสวนผักกาด อำนวยการโดย ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร

2.2.3. ผลงานการแสดง

2.2.3.1. เป็นเจ้าของและหัวหน้าคณะนาฏดนตรีแสดงทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ชื่อคณะเกตุคงดำรงศิลป์

2.3. เหตุการณ์สำคัญทางดนตรีที่เกิดขึ้น

2.3.1. ได้เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)ประจำปี 2531

2.3.2. ได้รับรางวัลถ้วยทองคำ นาฏดนตรี โล่เกียรตินิยม พระราชทาน ร.9

2.3.3. มีงานเผยแพร่ต่างประเทศ คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนสหรัฐอเมริกา และแคนาดามโหรีราชสำนัก อังกฤษ

2.4. บทบาทสถานะทางสังคม

2.4.1. นักดนตรีที่มีชื่อเสียงชาวไทยผู้ก่อตั้งวงฟองน้ำ

2.4.2. มีบทบาทที่สำคัญในการทลายกรอบของจังหวะที่ใช้ลูกตกเป็นจังหวะหนักหรือจังหวะที่ถูกเน้น ให้เกิดการเล่นแบบเน้นที่จังหวะยกแทนและนำเทคนิคดังกล่าวมาประพันธ์ดนตรีที่สำคัญ ๆ หลายต่อหลายชิ้น

2.4.3. เป็นผู้มีแนวความคิดในการประยุกต์ดนตรีไทยเข้ากับดนตรีสากลและดนตรีระบบอิเล็กทรอนิกส์

2.4.4. ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น “ระนาดเทวดา” เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกัน

3. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

3.1. ประวัติ

3.1.1. มีพระนามเดิมว่า ฉิม

3.1.2. พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

3.1.3. ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม

3.1.4. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี

3.1.5. ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน

3.2. ผลงานดีเด่น

3.2.1. ด้านการเมืองการปกครอง 

3.2.1.1. ทรงตรากฎหมายห้ามสูบซื้อขายฝิ่นใน พ.ศ. 2354  และ พ.ศ. 2362  โดยกำหนดบทลงโทษแก่ผู้สูบฝิ่นไว้อย่างหนัก

3.2.1.2. ทรงปรับปรุงกฎหมายพระราชกำหนดสักเลกเมื่อ พ.ศ. 2353  เพื่อเรียกเกณฑ์ไพร่พลเข้ารับราชการ  โดยลดเวลาให้ไพร่มารับราชการเพียง 3เดือน  ทำให้ไพร่มีเวลาทำมาหากินส่วนตัวมากขึ้น

3.2.2.  ด้านสังคมและวัฒนธรรม

3.2.2.1. รดเกล้า ฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งด้วยการสถาปนาโบสถ์และวิหารใหม่ เสริมพระปรางค์องค์เดิมให้ใหญ่ขึ้น  และพระราชทานนามใหม่ว่า  "วัดอรุณราชวราราม"  

3.2.2.2.  ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2360  ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในสมัยสุโขทัย

3.2.3. ด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม

3.2.3.1.   ทรงปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ทั้งโขนและละคร  ซึ่งกลายเป็นต้นแบบมาถึงปัจจุบัน  ทรงประพันธ์เพลง  "บุหลันลอยเลื่อน"  หรือ  "บุหลันลอยฟ้า"

3.2.3.2.   ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย  เช่น  ขุนช้าง  ขุนแผน  คาวี  สังข์ทอง  ไกรทอง อิเหนา

3.2.3.3.   ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนี  ที่วัดสุทัศนเทพวราราม  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร

3.3. เหตุการสำคัญทางดนตรีที่เกิดขึ้น

3.3.1. เป็นยุคทองของ ดนตรีไทย ยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัย ดนตรีไทย เป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในทาง ดนตรีไทย ถึงขนาดที่ ทรงดนตรีไทย คือ ซอสามสาย ได้ มีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด"

3.3.2. พระองค์ได้ พระราชนิพนต์ เพลงไทย ขึ้นเพลงหนึ่ง เป็นเพลงที่ไพเราะ และอมตะ มาจนบัดนี้นั่นก็คือเพลง “บุหลันลอยเลื่อน”

3.3.3. การพัฒนา เปลี่ยนแปลงของ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ก็คือ ได้มีการนำเอา วงปี่พาทย์มาบรรเลง ประกอบการขับเสภา เป็นครั้งแรก

3.3.4. มีกลองชนิดหนึ่งเกิดขึ้น โดยดัดแปลงจาก “เปิงมาง” ของมอญ ต่อมาเรียกกลองชนิดนี้ว่า “สองหน้า” ใช้ตีกำกับจังหวะแทนเสียงตะโพนในวงปี่พาทย์ ประกอบการขับเสภา เนื่องจากเห็นว่าตะโพนดังเกินไป จนกระทั่งกลบเสียงขับ กลองสองหน้านี้ ปัจจุบันนิยมใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง

3.4. บทบาทสถานะทางสังคม

3.4.1. เป็นพระมหากษัตริย์ของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

4. พระยาประสานดุริยศัพท์

4.1. ประวัติ

4.1.1. เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี) กับนางนิ่ม

4.1.2. เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพมหานคร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาอีก 4 คน

4.1.3. เรียนเรื่องการเป่าปี่มาจากครูช้อย และคนไปเล่นให้ครูมีแขกฟัง ต่อมาสนใจเครื่องสาย จึงไปเรียนกับครูถึก

4.1.4. ในด้านชีวิตครอบครัวท่านสมรสกับนางสาวพยอม ชาวจังหวัดราชบุรี มีบุตรธิดาทั้งสิ้น ๑๑ คน

4.1.5. ท่านล้มป่วยด้วยโรคชราและถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๖๗ สิริอายุได้ ๖๕ ปี

4.2. ผลงานดีเด่น

4.2.1. ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่งโดยเฉพาะขลุ่ย ปี่ ระนาดจนเมื่อปี พ.ศ. 2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมงานมหกรรรมสินค้าและดนตรีนานาชาติ กรุงลอนดอนที่ประเทศอังกฤษ

4.2.2. ผลงานทางด้านเพลงที่แต่ง

4.2.2.1. ประเภทเพลงเถา

4.2.2.1.1. -เพลงเขมรปากท่อ เถา -เพลงประพาสเภตรา เถา -เพลงอาถรรพ์ เถา -เพลงสามไม้ใน เถา

4.2.2.2. ประเภทเพลงสามชั้น

4.2.2.2.1. -เพลงเขมรใหญ่ -เพลงดอกไม้ไทร -เพลงถอนสมอ -เพลงทองย่อน -เพลงเทพรัญจวน -เพลงนารายณ์แปลงรูป -เพลงคุณลุงคุณป้า -เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์ -เพลงธรณีร้องไห้ -เพลงแขกเห่ -เพลงอนงค์สุชาดา -เพลงย่องหงิด -เพลงเขมรราชบุรี -เพลงพม่าห้าท่อ

4.2.2.3. ประเภทเพลงสองชั้น

4.2.2.3.1. -เพลงลาวคำหอม -เพลงลาวดำเนินทราย

4.2.3. เป็นผู้ควบคุมวงปี่พาทย์ วงสมเด็จพระบรมซึ่งเป็นวงในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

4.3. เหตุการณ์สำคัญทางดนตรีที่เกิดขึ้น

4.3.1. การบรรเลงขลุ่ยของนายแปลกเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึง กับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง

4.3.2. การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา

4.4. บทบาททางสังคม

4.4.1. รับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

4.4.2. ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่ “ขุนประสานดุริยศัพท์" ”

4.4.3. นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์

4.4.4. ศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

4.4.4.1. -พระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ)-พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต)-หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)-หลวงบรรเลงเลิศเลอ(กร กรวาทิน)-พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) -อาจารย์ มนตรี ตราโมท -ครูเฉลิม บัวทั่ง หลวงชาญเชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์) -หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุรยชีวิน) -พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตเสวี) -จางวางทั่ว พาทยโกศล -ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล

5. หลวงประดิษฐ์ไพเราะ

5.1. ประวัติ

5.1.1. บิดาของท่านคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของ พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)

5.1.2. หลวงประดิษฐไพเราะ มีนามเดิมว่าสอน หรือศร

5.1.3. เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424

5.1.4. เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลง

5.2. ผลงานที่โดดเด่น

5.2.1. สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชาและได้นำเพลงเขมรมาทำเป็นเพลงไทยหลายเพลง

5.2.2. นำเครื่องดนตรีชวาคือ"อังกะลุง"เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย

5.2.3. ต้นตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น

5.2.4. ท่านเป็นที่จะกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับได้ว่าเป็นดวงประทีปทางดนตรีไทยที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดอีกด้วย

5.2.5. ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยนคือเพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว

5.2.6. เป็นพระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถพระราชนิพนธ์เพลงได้เองคือเพลง"คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง""เขมรละออองค์"และ"ราตรีประดับดาวเถา"

5.2.7. ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี"ทางกรอ"ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น"เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุติทอง รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6

5.2.8. คิดโน้ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มานานจนถึงทุกวันนี้

5.3. บทบาทและสถานะทางสังคม

5.3.1. เป็นศิลปินชาวไทยที่มีชื่อเสียงจากการเล่นเครื่องดนตรีไทย

5.3.2. เป็นผู้ประพันธ์เพลงไทยเดิมและเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรีว่า "ครูจางวางศร"

5.3.3. เป็นศิษย์เอก 1 ใน 2คนของ พระประดิษฐ์ไพเราะ(มี ดุริยางกูร)

5.4. เหตุการณ์สำคัญทางดนตรีที่เกิดขึ้น

5.4.1. มีการนำเครื่องดนตรีเขย่ากระบอกไม้ไผ่ของชวามาปรับปรุงใช้ในเมืองไทย คือ อังกะลุง

5.4.2. มีการสอนดนตรีให้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

5.4.3. มีการนำเพลงของชวามาปรับปรุงเป็นเพลงไทย เช่น เพลงบูเซนซอก เพลงยะวา

5.4.4. มีการประดิษฐ์เพลงไทยสำเนียงเขมร เนื่องจากหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้ตามเสด็จล้นเกล้ารัชกาลที่ 7ครั้งเสด็จประพาสอินโดจีนทรงโปรดเกล้าให้พำนักอยู่ที่เขมรระยะหนึ่งเพื่อช่วยสอนและปรับวงให้กับวงดนตรีแห่งราชสำนักของพระเจ้ามณีวงศ์ที่กรุงพนมเปญ

5.4.5. มีการบันทึกเพลงไทยเป็นโน้ตสากลโดยมีพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) รับผิดชอบงานบันทึกโน้ตหลวงประดิษฐ์ ไพเราะเป็นผู้บอกทางเพลง

5.4.6. มีการประดิษฐ์วิธีการเล่นระนาดขึ้นมาใหม่ เช่น พัฒนาวิธีการจับไม้ระนาดเพื่อตีให้ได้เสียงต่างกัน แต่เดิมนั้นมีการจับไม้ระนาดแบบปากนกแก้วอย่างเดียว เเต่มีการพลิกแพลงเป็นการจับไม้แบบปากกา หรือแบบปากไก่

5.5. ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะและได้เลื่อนขั้นเป็น พระประดิษฐ์ไพเราะในปีเดียวกัน

6. พระประดิษฐ์ไพเราะ

6.1. ประวัติ

6.1.1. เกิดตอนปลายรัชกาลที่ 1 แห่งพระราชวงศ์จักรี

6.1.2. ท่านเป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลที่ 4

6.1.3. ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น คือเป็นเชื้อแขก

6.2. บทบาทสถานะทางสังคม

6.2.1. เป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายสมัยร.3-ร.4

6.2.2. ในสมัยร.4 นั้น ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ อีกทั้งในปีเดียวกันท่านยังได้เลื่อนขั้นเป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ

6.2.3. ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร

6.2.4. พระประดิษฐ์ไพเราะยังได้สมญานามว่าเป็นเจ้าแห่งเพลงทยอย

6.3. ผลงานเด่น

6.3.1. ทยอยนอก ทยอยเดี่ยว ทยอยเขมร

6.3.2. เชิดจีน

6.3.3. เทพรัญจวน หกบท สามชั้น

6.4. เหตุการณ์สำคัญ

6.4.1. ครูมีแขก ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ

6.4.2. ปีเดียวกันท่านได้บรรเลงเพลงเชิดจีน ซึ่งแต่งไว้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ และพระองค์ทรงโปรดปรานมาก ถึงกับได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ

6.4.3. เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น

6.4.4. มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ “ทยอยเดี่ยว” จนทำให้ท่านได้รัมสมญานามว่า “เจ้าแห่งเพลงทยอย”

6.4.5. ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร

7. นายมนตรี ตราโมท

7.1. ประวัติ

7.1.1. เนสมัยที่มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการตั้งชื่อบุคคล มนตรีจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "มนตรี"

7.1.2. เมื่อเรียนจบ ม.3 แล้ว จึงคิดที่จะเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แต่มนตรีมีโรคภัยไข้เจ็บรบกวนตลอดเวลา เรียนไม่ทันเพื่อนฝูง เลยหมดกำลังใจที่จะเรียนต่อ

7.1.3. หน้าที่การงานของมนตรี เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเลื่อนเป็นชั้นเอก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มนตรีดำรงตำแหน่งศิลปินพิเศษ

7.2. บทบาทสถานะทางสังคม

7.2.1. เมื่ออายุได้ 17 ปี ได้สมัครเข้ารับราชการในกรมพิณพาทย์ทอง กรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ที่กรมพิณพาทย์หลวง

7.2.2. หน้าที่การงานของมนตรี เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนเลื่อนเป็นชั้นเอก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มนตรีดำรงตำแหน่งศิลปินพิเศษ

7.2.3. ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม

7.3. ผลงานเด่น

7.3.1. เพลงวันชาติ 24 มิถุนา

7.3.2. ดุริยางค์ศาสตร์ไทยภาควิชาการ

7.3.3. การละเล่นของไทย

7.4. เหตุการณ์สำคัญ

7.4.1. ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย พ.ศ. 2528 (มนตรี ตราโมท เป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านดนตรีและเพลงไทยเป็นเยี่ยมหาผู้ใดเทียบมิได้ สมควรที่จะได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทยอย่างแท้จริง)

7.4.2. นายมนตรีเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มนตรีเคยได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการมากมายหลายคณะ

7.4.3. มนตรี ตราโมทเป็นครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครู และครอบประสิทธิ์ประสาทวิชาวิชาดนตรีไทยของกรมศิลปากร นอกจากมนตรีจะกระทำพิธีให้แก่กองการสังคีตและวิทยาลัยนาฏศิลป์ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัดแล้ว มนตรียังทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทยให้แก่หน่วยราชการ สถานศึกษาและเอกชนทั่วไป

8. พระยาเสนาะดุริยางค์

8.1. ประวัติ

8.1.1. เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ ได้รับการฝึกฝนวิชาดนตรีจากครูช้อย ผู้เป็นบิดาจนมีความแตกฉาน

8.1.2. เจ้าพระยาเทเวศน์วงวิวัฒน์(ม.ร.ว.หลานกุญชร)ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่านเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๒

8.1.3. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น”ขุนเสนาะดุริยางค์”

8.1.4. เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงโปรดให้เลื่อนเป็น”หลวงเสนาะดุริยางค์”

8.1.5. สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าโปรดให้เลื่อนเป็น“พระเสนาะดุริยางค์” รับราชการในกรมมหรสพหลวงและได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาด้วยความซื่อสัตย์และมีความจงรักภักดี

8.1.6. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ร.ว.ปุ้มมาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง

8.2. ผลงานดีเด่น

8.2.1. สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

8.2.1.1. ได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ร.ว.ปุ้มมาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวังวงพิณพาทย์นี้นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ

8.2.1.2. ครั้นเมื่อพระนางสุวัทนาพระวรราชเทวีใกล้จะครบวันประสูติกาลพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เนื้อเพลงปลาทองเตรียมไว้สมโภชพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอจึงโปรดให้พระยาเสนาะดุริยางค์ฝึกวงมโหรีหญิงซึ่งมีนางกำนัลเป็นนักดนตรีไว้บรรเลงถวายเมื่อมีการประสูติ

8.3. เหตุการณ์สำคัญทางดนตรีที่เกิดขึ้น

8.4. บทบาททางสังคม