1. 2. อาการและอาการแสดง
1.1. อาการทางผิวหนัง
1.1.1. ผิวหนังของผู้ป่วยโรคเรื้อนบางครั้งมีลักษณะเป็นวงด่างสีขาว ขอบไม่ชัด หรืออาจเป็นปื้นหรือตุ่มนูนแดงหนา หากเป็นโรคเรื้อนแบบเรื้อรัง ก็จะพบมีใบหูหนา หูผิดรูป หน้าบวม
1.2. อาการทางเส้นประสาท
1.2.1. ถ้าเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกทำลาย จะทำให้เกิดอาการชาบริเวณผิวหนังที่เป็นรอยโรค ความรู้สึกบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และกระจกตาลดลง บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
1.3. อาการทางตา
1.3.1. ขนคิ้วร่วง หากมีการทำลายของเส้นประสาทคู่ที่ 7 จะทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้หลับตาปิดไม่สนิท ส่งผลให้กระจกตาแห้ง และเกิดแผลทำให้ตาบอดได้
1.4. อาการระบบอื่น ๆ
1.4.1. ต่อมน้ำเหลืองโตเยื่อบุช่องปากนูนหนาบวม และ แตกเป็นแผล นอกจากนี้อาจเกิดการอักเสบของอัณฑะ และหากเชื้อลุกลามเข้าถึงกระดูก ซึ่งเป็นบริเวณที่สร้างเม็ดเลือด ก็จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
2. 1. สาเหตุหรือปัจจัยที่เกิดโรค
2.1. เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium leprae ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับเชื้อวัณโรค
3. 4. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1. 1. การตรวจทางจุลชีววิทยาโดยการกรีดผิวหนัง (slit-skin smear : SSS) ต้องทำในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคเรื้อนทุกราย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและจำแนกชนิด รวมทั้งผู้ป่วยใหม่ทุกราย เพื่อแบ่งกลุ่มการรักษา ตลอดจนผู้ป่วยที่อยู่ในทะเบียน เพื่อติดตามผลการรักษา 2. การตรวจทางพยาธิวิทยา โดยการตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรค (skin biopsy) และส่งให้พยาธิแพทย์เป็นผู้วินิจฉัย ทำเมื่ออาการทางคลินิกไม่ชัดเจน เพื่อแยกจากโรคผิวหนังอื่นๆ และยืนยันการกลับเป็นโรคใหม่ (relapse)
4. 6. การรักษาในปัจจุบัน
4.1. 1. กรณี PB ให้ Dapsone วันละ 100 mg. เป็นเวลา 6 เดือน ไม่ต้องเพิ่ม rifampicin อีก 2. กรณี MBใ ห้ clofazimine และ dapsone ดังนี้ - Clofazimine 300 mg. เดือนละครั้ง ทุกเดือน - Dapsone 100 mg. วันละครั้งทุกวัน และClofazimein 50 mg. วันละครั้งทุกวัน ไม่ต้องเพิ่ม rifampicin อีก
5. 5. การตรวจร่างกายที่สำคัญ
5.1. การตรวจร่างกาย มีวงด่างขาวหรือรอยนูนแดงที่ผิวหนังและมีอาการชา ร่วมกับคลำพบเส้นประสาทที่อยู่ตื้นๆ ได้แก่ Ulnar Nerve โตทั้งสองข้าง
6. 3. พยาธิสภาพ
6.1. โรคเรื้อนเป็นโรคติดต่อเรื้อรังชนิดหนึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ไมโคแบคทีเรียม เลแปร (Mycobacterium leprae) ซึ่งเมื่อเช้าสู่ร่างกายแล้วเชื้อมักจะเข้าไปอาศัยอยู่ในบริเวณใต้ผิวหนังและเส้นประสาทส่วนปลายจากนั้นประมาณ 3-5 ปี ผู้ที่ไม่มีความต้านทานต่อเชื้อโรคเรื้อนก็จะมีอาการแสดงทางผิวหนัง เช่น เป็นวงด่าง สีจาง หรือสีเข้มกว่าผิวหนังปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอาการจะลุกลามเป็นผื่นหรือตุ่มกระจายอยู่ทั่วตัว หลายคนเรียกชื่อโรคเรื้อนต่างกันไป เช่น ขี้ทูด กุฏฐัง ไทกอ หูหนาตาเล่อ โรคพยาธิเนื้อตาย เป็นต้น
7. 7. ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
7.1. 1. วิตกกังวล เนื่องจากอาการของโรค
7.1.1. 1. ประเมินระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินความวิตกกังวล เพื่อประเมินระดับความวิตกกังวล
7.1.2. 2. ตรวจเยี่ยมให้คำปรึกษากับผู้ป่วยและครอบครัวให้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการรักษาและประสานกับแพทย์พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับโรคและการรักษาตัดสินใจร่วมกับแพทย์ เพื่อลดความวิตกกังวล
7.1.3. 3.ใช้เทคนิคการพยาบาลช่วยปรับเปลี่ยนความคิด และการรับรู้ที่มีต่อปัญหาให้เป็นเชิงบวก เพื่อลดความวิตกกังวล
7.1.4. 4.ให้ผู้ป่วยได้พูดคุย ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับประสบการณ์การปรับตัวของผู้ป่วยในอดีต เพื่อลดความวิตกกังวล
7.2. 2. สูญเสียภาพลักษณ์ เนื่องจากอาการที่ผู้ป่วยเป็น
7.2.1. 1.ให้ผู้ป่วยได้พูดคุย ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับประสบการณ์การปรับตัวของผู้ป่วยในอดีต เพื่อลดความวิตกกังวล
7.2.2. 2.ใช้เทคนิคการพยาบาลช่วยปรับเปลี่ยนความคิด และการรับรู้ที่มีต่อปัญหาให้เป็นเชิงบวก เพื่อลดความวิตกกังวล
7.2.3. 3.กระตุ้นให้ญาติมีส่วนร่วมในการให้กำลังใจ/กิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย พร้อมทั้งส่งเสริม ช่วยเหลือผู้ป่วยในการปฏิบัติตัว เพื่อลดความวิตกกังวล
7.2.4. 4.ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยพักผ่อน ลดสิ่งรบกวนต่างๆ และดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา
7.3. 3. เสี่ยงต่อการสูญเสียความสมบูรณ์ของผิวหนัง เนื่องจากการรับความรู้สึกลดลง
7.3.1. 1. ประเมินผิวหนังผู้ป่วยว่ามีพยาธิสภาพที่ผิวหนังหรือไม่ มีลักษณะอย่างไร
7.3.2. 2. แนะนำการดูแลความสะอาดร่างกายทั่วไป ช่วยดูแลกรณีผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดร่างกายได้
7.3.3. 3. ดูแลบาดแผลด้วยหลัก Aseptic technique อย่างนุ่มนวล เลือกใช้วิธีทำแผล และ น้ำยา ที่เหมาะกับสภาพแผลผู้ป่วย เมื่อเปียกชื้นพิจารณาเปลี่ยนให้ตามความเหมาะสม
7.3.4. 4. ทำความสะอาดร่างกายโดยเฉพาะข้อพับต่างๆ ไม่ให้อับ ทาโลชั่นให้กับผู้ป่วย หากมีผิวหนังแห้ง