พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
by sirinapa kanchai

1. พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี๊) เป็นนักปกครองที่สามารถและเป็นนักพัฒนาที่ทันสมัย โดยมุ่งพัฒนาบ้านเมืองในหลักสำคัญ ๖ ประการ คือ การคมนาคมสื่อสาร การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตรกรรม การค้าขาย การปราบปรามโจรผู้ร้ายและการรักษาความสงบ ทั้งนี้โดยวางแผนการพัฒนาไว้ล่วงหน้าทุกจังหวัดและแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม
2. พระยารัษฎาฯ ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๕๖ อายุ ๕๖ ปีโดยถูก หมอจันทร์ แพทย์ประจำจังหวัดตรัง เป็นผู้ยิง หมอจันทร์ เป็นหมออยู่ที่กรมทหารเรือ กรุงเทพฯ ได้ถูกออกจากราชการ มีผู้ใหญ่ฝากมาให้พระยารัษฎาฯ อุปการะที่เมืองตรัง หมอจันทร์มาได้นางซ่วน หรือซิ่ว เป็นภรรยาลับ และเป็นสาเหตุของเรื่องเศร้านี้
3. กองตำรวจภูธร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย จัดทำแผนที่มณฑล บัญชีรายชื่อ รูปพรรณคนร้าย ฯลฯ ได้ซื้อเรือกลไฟไว้ตระเวนตรวจตรา เป็นการดูแลความปลอดภัยทางการค้าต่างประเทศ ออกทะเบียนเรือราษฎรเพื่อป้องกันการโจรกรรม
4. คอซิมบี๊ เป็นบุตรคนที่ ๖ ของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๐๐ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๕๖ เมื่ออายุได้ ๙ ขวบ ได้ติดตามบิดาไปประเทศจีน ศึกษาภาษาจีน และการทำธุรกิจ ทำให้ท่านไม่มีโอกาสเรียนหนังสือไทย แต่ท่านสามารถเขียนภาษาจีน และพูดได้ถึง ๙ ภาษา คือ ไทย อังกฤษ มลายู ฮินดูสตานี และภาษาจีนต่างๆ อีก ๕ ภาษา
5. การคมนาคมสื่อสาร ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตย้ายเมืองตรังจากตำบลควนธานี ซึ่งมีการติดต่อคมนาคมได้เฉพาะทางน้ำ ไปตั้งที่ตำบลกันตัง อันเป็นทำเลที่จะติดต่อได้สะดวกกว่า และดำเนินการตัดถนนระหว่างตำบลเมือง จังหวัด ให้ติดต่อถึงกันได้โดยสะดวก จากนั้นจึงชักชวนราษฎรให้ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมถนน
6. ประวัติ
7. พระราชกรณียกิจ
8. วิธีการตัดถนน ของท่านเป็นไปอย่างพิสดาร เพราะไม่มีเครื่องจักรเครื่องยนต์ ในถนนที่สูงชันอย่างเช่น เขาพับผ้า ซึ่งเชื่อมจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง ท่านให้เผาหินภูเขาจนแดง แล้วใช้น้ำราดให้หินแตก ใช้ช้างลากก้อนหินมาบดถนนให้แน่น นับเป็นอัจฉริยภาพของท่านที่ไม่ยอมให้อุปสรรคมาขวางหน้า
9. การติดต่อทางน้ำ ได้สร้างท่าเรือที่อ่าวภูเก็ต และขุดอู่จอดเรือในคลองภูเก็ต เพื่อให้เรือใบและเรือกลไฟขนาดใหญ่เข้าจอดได้ ท่าเรือนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ท่านเรศ" ท่านได้ริเริ่มสร้างเรือกลไฟใช้ประจำจังหวัดต่างๆ เพื่อติดต่อกันภายในมณฑลให้สะดวกยิ่งขึ้น
10. การศึกษา ท่านให้ความสำคัญต่อการศึกษามาก ทั้งภาคประชาชน และภิกษุสามเณร ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรม จัดหาพระภิกษุที่มีความรู้มาสอน จัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กตามวัด จ้างครูที่มีความรู้ความสามารถ โดยใช้เงินบำรุงเมืองจ่ายเงินเดือนครู หากหาครูฆราวาสไม่ได้ ก็นิมนต์พระภิกษุสอน โดยถวายเป็นเงินนิตยภัต ส่วนเด็กนักเรียนต้องเสียค่าเล่าเรียนครอบครัวละ ๑ บาทต่อเดือน
10.1. การขนส่ง สมัยนั้นใช้ "เกวียน" เป็นหลัก ท่านได้จัดสร้างเกวียน และซื้อโคด้วยเงินบำรุงเมืองซึ่งเรียกเก็บเจ้าของเหมืองแร่ แลกเปลี่ยนกับการที่เจ้าของเหมืองจะต้องขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขิน จากนั้นก็จ่ายเกวียนให้แก่กำนันผู้ใหญ่บ้านใช้เป็นที่แพร่หลาย ราษฎรเรียกว่า " เกวียนเทศา" ตามตำแหน่งของท่านเมื่อเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑล
10.2. ปลูกยางพารา เมื่อพริกไทย พืชส่งออกของไทยราคาตกต่ำลง ท่านจึงศึกษาการปลูกและทำยางพาราจากรัฐมลายู (ประเทศมาเลเซีย) ได้นำพันธุ์ยางพารามาชักชวนแกมบังคับให้ประชาชนปลูกจนเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ราษฎรเรียกว่า “ยางเทศา” และได้สร้าง “เกวียนเทศา” เพื่อขนส่งยางดังกล่าว ยางต้นแรกปลูกที่ อ.กันตัง จ.ตรัง
10.2.1. การสาธารณสุข ได้จัดให้มีแพทย์ประจำตำบลขึ้นทั่วไป เรียกว่าแพทย์เชลยศักดิ์ หากที่ใดไม่มีแพทย์เชลยศักดิ์ ก็ขอร้องพระสงฆ์ที่มีความรู้ ทางด้านแพทย์หรือยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่ราษฎร