แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน
by นฤมล แก้วประดิษฐ
1. แบบแผนที่ 11 ความเชื่อ
1.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลประเมินภาวะความมั่นคงเข้มแข็งทางจิตใจ ซึ่งสะท้อนออกมาทางความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกต่อสิ่งที่ตนเองคิดว่าความหมายต่อการดำเนินชีวิตของตนเอง และการดูแลสุขภาพ เช่น การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
1.2. ตัวอย่างคำถาม = เชื่อมั่นในการรักษาของแพทย์มากน้อยแค่ไหนคะ มีความเชื่อด้านสุขภาพอย่างไรคะ นับถือศาสนาอะไรคะ
2. แบบแผนที่ 1 การรับรู้และการดูแลสุขภาพ
2.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความเข้าใจของผู้รับบริการที่มีต่อภาวะสุขภาพหรือการเจ็บป่วยของตนเอง ผลกระทบจากการเจ็บป่วยต่อการดำเนินชีวิต ตลอดจนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทั้งในภาวะปกติและขณะเจ็บป่วย
2.2. ตัวอย่างคำถาม = เป็นอะไรมาคะ อาการเป็นอย่างไรบ้างคะ ทานยาอะไรมาก่อนคะ ดูแลสุขภาพตอนเองอย่างไรบ้างคะ
2.3. สิ่งที่สังเกต = ความสะอาดของเสื้อผ้า ดูว่ามีกลิ่นตัวหรือไม่
3. แบบแผนที่ 2 โภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร
3.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินพฤติกรรม และการปรับตัวในเรื่องการรับประทานอาหารและน้ำของผู้ป่วยทั้งในภาวะปกติและขณะเจ็บป่วย ตลอดจนมุมมองของผู้ป่วยที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านการบริโภคและการเผาผลาญสารอาหารของตนเอง
3.2. ตัวอย่างคำถาม = มีประวัติการแพ้อาหารไหมคะ รับประทานอหารวันละกี่มื้อคะ รับประทานอาหารตรงเวลาไหมคะ ชอบทานรับประอาหารรสชาติแบบไหนคะ รับประทานอาหารครบ5หมู่ไหมคะ ดื่มน้ำวันละกี่แก้วคะ
4. แบบแผนที่ 3 การขับถ่าย
4.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินกระบวนการขับถ่าย ปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคต่อการขับถ่าย
4.2. ตัวอย่างคำถาม = ขับถายอุจาระทุกวันไหมคะ ปัสสาวะกี่ครั้งต่อวันคะ ปริมาณปัสสาวะประมาณเท่าไหร่ มีสีหรือกลิ่นผิดปกติไหมคะ ควบคุมการขับถ่ายได้ไหมคะ
5. แบบแผนที่ 4 กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
5.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและการออกกำลังกายของผู้รับบริการ
5.2. ตัวอย่างคำถาม = ปกติออกกำลังกายไหมคะ ออกกำลังกายบ่อยแค่ไหนคะ ออกกำลังกาย 1 ครั้งใช้เวลานานแค่ไหนคะ เวลาออกกำลังการมี ความผิดปกติอะไรไหมคะ ในกรณีที่คนไข้ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ; มีใครช่วยออกกำลังกายไหมคะ
6. แบบแผนที่ 5 การพักผ่อนนอนหลับ
6.1. เป็นการประเมินการนอนหลับ และการพักผ่อนของผู้รับบริการ ปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการนอน ตลอดจนความรู้สึกและผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถนอนหลับและพักผ่อนได้ตามความต้องการ
6.2. ตัวอย่างคำถาม = นอนวันละกี่ชั่วโมงคะ นอนตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมงคะ นอนหลับสบายไหมคะ ตื่นกลางดึกบ้างไหมคะ นอนกลางวันบ้างไหมคะ ตื่นมาแล้วมีอาการง่วงซึมบ้างไหมคะ
7. แบบแผนที่ 6 สติปัญญาและการรับรู้
7.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความสามารถในการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า ความสามารถในการจำ การแก้ปัญหา ตลอดจนการตัดสินใจเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาทั้งในยามปกติและยามเจ็บป่วย
7.2. ตัวอย่างคำถาม = ชื่ออะไรคะ วันนี้มากับใครคะ เมื่อเช้ารับประทานข้าวกับอะไรมาคะ ตอนนี้กี่โมงแล้วคะ
8. แบบแผนที่ 7 การรู้จักตนเองและอัตมโนทัศน์
8.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจของผู้รับบริการที่มีต่อตนเอง ตลอดจนความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำในสิ่งที่ตนเองต้องการได้เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ
8.2. ตัวอย่างคำถาม = ตอนที่ไม่เจ็บป่วยเป็นอย่างไรบ้างคะ เจ็บป่วยแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ ความรู้สึกแตกต่างกันมากไหมคะ มีสถาานภาพเปลี่ยนแปลงไปไหมคะ
9. แบบแผนที่ 8 บทบาทและสัมพันธภาพ
9.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินบทบาทและสัมพันธภาพของผู้ป่วยต่อบุคคลอื่น ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวที่อาจส่งผลต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
9.2. ตัวอย่างคำถาม = เมื่อเจ็บป่วยแล้วสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นอย่างไรบ้างคะ
9.3. สิ่งที่สังเกต = ดูว่าใครเป็นคนมาดูแล
10. แบบแผนที่ 9 เพศและการเจริญพันธุ์
10.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินการประเมินการเปลี่ยนแปลงทางกายที่แสดงลักษณะทางเพศ พฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบนไปจากปกติ อิทธิพลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ ผลกระทบของความเจ็บป่วยที่มีต่อการมีเพศสัมพันธ์ตลอดจนความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตนเองและคู่ของตนเอง
10.2. ตัวอย่างคำถาม = มีประจำเดือนหรือยังคะ ประจำเดือนมาปกติไหมคะ มีแฟนหรือยังคะ มีเพศสัมพันธ์หรือยังคะ เวลามีเพศสัมพันธ์มีการป้องกันอย่างไรคะ ถ้ามีอารมณ์ทางเพศจะจัดการกับตนเองอย่างไรคะ
11. แบบแผนที่ 10 การปรับตัว และการเผชิญกับความเครียด
11.1. เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมิน ความรู้สึกหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับความเครียดและการจัดการกับความเครียดทั้งในภาวะปกติและการเจ็บป่วย
11.2. ตัวอย่างคำถาม = 2-3วันที่ผ่านมามีเรื่องไม่สบายใจอะไรไหมคะ เวลามีความเครียดจะจัดการกับความเครียดอย่างไรคะ
11.3. สิ่งที่สังเกต = ดูว่าคนไข้มีสีหน้าที่กังวลหรือไม่