หลักเศรษฐกิจพอเพียง

Jetzt loslegen. Gratis!
oder registrieren mit Ihrer E-Mail-Adresse
หลักเศรษฐกิจพอเพียง von Mind Map: หลักเศรษฐกิจพอเพียง

1. ระบบเศรษฐกิจ

1.1. ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือประชาธิปไตย

1.2. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

1.3. ระบบเศรษฐกิจแบบเผด็จการ

1.4. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

1.5. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมฟาสซิสต์

1.6. ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

2. เศรษฐกิจพอเพียง

2.1. เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชน           ในทุกระดับไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ชุมชนหรือรัฐในการปฏิบัติงานหรือบริหารพัฒนา       ประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท มีเหตุผลและสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบต่าง ๆ

3. กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

3.1. ในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ            30 : 30 : 30 : 10   คือ ขุดสระและเลี้ยงปลา 30      ปลูกข้าว  30  ปลูกพืชไร่พืชสวน 30 และสำหรับเป็น      ที่อยู่อาศัย ปลูกพืชส่วนและเลี้ยงสัตว์ใน  10  สุดท้าย

4. 3 ห่วง

4.1. ความพอประมาณ

4.1.1. พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

4.2. ความมีเหตุผล

4.2.1. การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

4.3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

4.3.1. การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

5. 2 เงื่อนไข

5.1. เงื่อนไขความรู้

5.1.1. มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ

5.2. เงื่อนไขคุณธรรม

5.2.1. มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

6. การปฏิบัติตนตามแนวทางพอเพียง

6.1. ยึดความประหยัด  ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพอย่างจริงจัง

6.2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม

6.3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรงดังอดีต

6.4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้  โดยต้อง ขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ