1. การปฏิวัติฝรั่งเศส
1.1. สาเหตุ
1.1.1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมถึงความหิว และทุพโภชนาการในประชากรกลุ่มที่แร้นแค้นที่สุด ในช่วง 1780s
1.1.2. การล้มละลายอย่างสิ้นเชิงของรัฐจากค่าสงครามที่ผ่านมาจำนวนมหาศาล รวมทั้งในการปฏิวัติอเมริกา
1.1.3. ความอ่อนแอของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
1.1.4. ฐานันดรที่ 3 (ประชาชนทั่วไป) ไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ จากการถูกขูดรีดทางภาษี
1.2. ผลที่เกิดขึ้น
1.2.1. เหตุการณ์ในปี 1789
1.2.1.1. ฐานันดรที่สามประกาศคำปฏิญาณสนามเทนนิสในเดือนมิถุนายน
1.2.1.2. การทลายคุกบัสตีย์ในเดือนกรกฎาคม
1.2.1.3. คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในเดือนสิงหาคม
1.2.1.4. การเดินขบวนสู่แวร์ซายซึ่งบังคับให้ราชสำนักกลับไปยังกรุงปารีสในเดือนตุลาคม
1.2.2. ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐในเดือนกันยายน 1792
1.2.3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตในปี 1793
1.2.4. นโปเลียน โบนาปาร์ต เถลิงอำนาจ
2. การปฏิวัติรัสเซีย
2.1. ครั้งที่ 1 (กุมภาพันธ์ - มีนาคม 1917)
2.1.1. สาเหตุ
2.1.1.1. ความไม่พอใจในระบบการปกครองที่ไร้ประสิทธิภาพของราชวงศ์โรมานอฟ ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
2.1.1.2. เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ดี จึงเกิดลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์
2.1.1.3. พระเจ้านิโคลัสที่ 2 ขัดแย้งกับสภาดูมา จึงยุบสภาและตนเองเข้าไปแทน
2.1.1.4. พระเจ้านิโคลัสที่ 2 ไร้ความสามารถ (ทรงไปบัญชาการรบส่วนหน้า อำนาจจึงตกไปอยู่ที่ผู้อื่นแทน)
2.1.1.5. รัสเซียเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งที่ไม่มีความสามารถมากพอ
2.1.1.6. กลุ่มสตรีเดินประท้วงหยุดงานทะทะกับกลุ่มประชาชน ที่เข้าแถวรอซื้ออาหารในกรุงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ (8 มีนาคมตามปฏิทินปัจจุบัน) 1917 จนกลายเป็นความขัดแย้งและปฏิวัติ
2.1.2. ผลที่เกิดขึ้น
2.1.2.1. ราชวงศ์โรมานอฟล่มสลาย
2.1.2.2. เจ้าชายลวอฟขึ้นมาปกครองสภาดูมา เป็นรัฐบาลชั่วคราว ต่อมาได้ลาออก และเคอเรนสกีขึ้นมาทำหน้าที่แทน แต่ยังไม่ถอนตัวเองออกจากสงคราม
2.2. ครั้งที่ 2 (ตุลาคม - พฤศจิกายน 1917)
2.2.1. สาเหตุ
2.2.1.1. ชนกลุ่มน้อยต้องการสิทธิในการปกครองบ้านเมือง
2.2.1.2. การไม่ยอมถอนรัสเซียจากสงครามโลก
2.2.1.3. เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับทหาร
2.2.2. ผลที่เกิดขึ้น
2.2.2.1. พรรคบอลเชวิคเข้าโจมตีและยึดอำนาจ ในกรุงเปโตกราด จนรัฐบาลไม่สามารถหยุดยั้งได้
2.2.2.2. วลาเดมีร์ เลนินตั้งใจล้มสภาดูมา ตั้งสาผู้ตรวจการของประชาชนแทน โดยเลนินเป็นประธาน
2.2.2.3. พรรคบอลเชวิคเปลี่ยนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์
2.2.2.4. เกิดสงครามกับพวกรัสเซียขาว (กษัตริย์นิยม และเสรีนิยม) แต่รัสเซียแดงชนะ
2.2.2.5. กรรมกรได้สิทธิดูแลโรงงาน
2.2.2.6. รัฐบาลยึดทรัพย์ผู้ต่อต้าน
2.2.2.7. เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ (ต่อต้านด้วยลัทธิฟาสซิสต์ และนาซี)
2.2.2.8. สงบศึกกับเยอรมนี
3. การปฏิวัติอังกฤษ
3.1. สาเหตุ
3.1.1. กฎบัตร Magna Carta (จำกัดพระราชสิทธิ์) ตั้งแต่พระเจ้าจอห์นที่ 5 เมื่อ 1215
3.1.2. พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขัดขืนข้อเรียกร้องสิทธิ "โอลิเวอร์ ครอมเวลล์" และประชาชนก่อ Civil War จนพระองค์ถูกสำเร็จโทษในปี 1649 ครอมเวลล์จึงปกครองอังกฤษในระบบสาธารณรัฐในปี 1653 - 1658
3.1.3. หลังครอมเวลล์ตาย มีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ แต่พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ขัดแย้งกับรัฐสภา สภาจึงร่วมกับประชาชนยึดอำนาจจนพระองค์สละราชสมบัติ
3.2. ผลที่เกิดขึ้น
3.2.1. พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 กับพระนางแมรีร่วมขึ้นครองราชย์ในอังกฤษในปี 1688
3.2.2. เกิดพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (Bill of Rights) ในปี 1689 โดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 3
4. การปฏิวัติอเมริกา
4.1. สาเหตุ
4.1.1. อังกฤษดำเนินนโยบายการค้าที่ขูดรีดอาณานิคมอังกฤษเกินไป (ซื้อชาจากอาณานิคมอเมริการาคาถูกแต่ขายในยุโรปในราคาสูง)
4.1.2. ได้รับปรัชญาประชาธิปไตยจากจอห์น ล็อก
4.2. ผลที่เกิดขึ้น
4.2.1. เกิดกรณีการเลี้ยงน้ำชาที่ท่าเรือบอสตัน (เทใบชาที่อังกฤษจะส่งออกลงสู่ทะเล) เมื่อ 1773
4.2.2. ฝรั่งเศส (ซึ่งขัดแย้งกับอังกฤษ) แอบส่งกองกำลังมาช่วยอเมริกาจนอเมริกาสามารถประกาศเอกราชในวันที่ 4 กรกฎาคม 1776
4.2.3. จอร์จ วอชิงตัน ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐฯ