นวัตกรรม "ทับหม้อเกลือด้วยอิฐมวลเบา"
by Supapon butsen
1. ขั้นตอนการทำ
1.1. 1.จัดเตรียมผ้าที่มีลักษณะหนา เก็บความร้อนได้ดี ซึ่งเลือกใช้ ผ้าด้ายดิบ จำนวน 2 เมตร และซิบ จำนวน 2 เส้น
1.2. 2.วัดผ้าที่เตรียมไว้ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ แล้วนำไปตัดเย็บ โดยเย็บผ้าให้เป็น 2 ชิ้นติดกัน เพื่อให้ผ้าเก็บความร้อนได้ดี และมีความทนทานแข็งแรงยิ่งขึ้น
1.3. 3.ตัดผ้าอีก 1 ชิ้นให้มีขนาดสูง 18 ซม. กว้าง 35 ซม. เพื่อทำเป็นช่องสำหรับใส่อิฐและสมุนไพร นำมาเย็บติดกับผ้าผืนแรก โดยเย็บใส่ให้อยู่ตรงกลางของผ้าชิ้นแรก
1.4. 4.เย็บซิปติด เพื่อความสะดวกสำหรับการใส่อิฐและสมุนไพร
1.5. 5.ทำการเย็บตีนตุ๊กแกบนผ้าบริเวณส่วนของปลายผ้าทั้งสองข้าง เพื่อสามารถปรับระดับความเหมาะสมของช่วงท้อง
2. ขั้นตอนการใช้งาน
2.1. 1.เตรียมสมุนไพร อาจใช้สมุนไพรอบแห้งหรือสมุนไพรสดก็ได้ ได้แก่ ไพล ขมิ้นชัน ว่านชักมดลูก ใบพลับพลึง ใบละหุ่ง เป็นต้น
2.2. 2.นำสมุนไพรมาผสมกับการบูร และพิมเสน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.3. 3.นำสมุนไพรที่เตรียมไว้ใส่ในถุงซิป แล้วนำไปนึ่ง
2.4. 4.นำอิฐมวลเบาและถุงสมุนไพรใส่ในกระเป๋าผ้ารัดหน้าท้องที่เตรียมไว้
2.5. 5.นำไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ให้เกิดความร้อนและกลิ่นหอม แล้วนำไปใส่ในผ้าที่เย็บเป็นกระเป๋าเอาไว้ แล้วนำไปใช้งานได้เลย โดย
3. หลักการและเหตุผล
3.1. จากอดีตผู้หญิงหลังคลอดจะถูกสอนให้รู้จักการอยู่ไฟ โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อให้มดลูกกลับเข้าอู่เร็ว สุขภาพดี มีน้ำนมมากขึ้น การอยู่ไฟหลังคลอดบุตรในประเทศไทยต่างปฏิบัติกันทั่วทุกภาค ซึ่งแต่ละภาคจะมีวิธีขั้นตอนการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งต่างมีความเชือว่า การอยู่ในที่ร้อน ดื่มน้ำร้อน อาบน้ำร้อน เป็นการพักฟื้น เพื่อสะสมกำลังให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ทำงานหนักได้ ไม่ปวดเมื่อยสามาถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆได้ ไม่มีอาการหนาวสะท้านเมื่อถูกลมฝน หรือปรากฎอาการให้เห็นเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นจึงได้คิดค้นนวัตกรรม "ทับหม้อเกลือด้วยอิฐมวลเบา" ขึ้น
4. วัตถุประสงค์
4.1. 1.เพื่อฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดที่ไม่มีเวลาในการอยู่ไฟ ให้แข็งแรงขึ้น และช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนเดิมด้วยกระบวนการทางการแพทย์แผนไทย ด้วยวิธีการทับหม้อเกลือ
4.2. 2.เพื่อเพิ่มจำนวนผู้มารับบริการทับหม้อเกลือหลังคลอดให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการทับหม้อเกลือถือเป็นการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดอีกวิธีที่ใช้ร่วมกับการอยู่ไฟ
4.3. 3.เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย ขัดยอก และทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วมากขึ้น