การตรวจร่างกายเบื้องต้น
by ฉัตรมงคล ทนทะนาน
1. ขั้นตอนการตรวจร่างกาย
1.1. •การดู (Inspection)
1.1.1. คือ การตรวจโดยใช้สายตา โดยแพทย์จะดูผู้ป่วยทั้งตัว เช่น ลักษณะการเดิน นั่ง ยืน เคลื่อนไหว สีของใบหน้า เล็บ ผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นตัวช่วยบอกโรค (เช่น โรคอัมพาต) และ/หรือ สุขภาพร่างกายผู้ป่วย (เช่น ไม่แข็งแรงกรณีต้องมีคนช่วยพยุงเดิน เป็นต้น)
1.2. •การคลำ (palpation)
1.2.1. โดยใช้ นิ้วมือ และ/หรือ ฝ่ามือ คลำตามส่วนต่างๆของร่างกายผู้ ป่วย เพื่อตรวจหา ก้อนเนื้อ ขนาดอวัยวะ ความนุ่ม แข็ง เกร็ง และอาการเจ็บปวด เป็นต้น เช่น คลำช่องท้อง คลำต่อมน้ำเหลือง คลำเต้านม
1.3. •การเคาะ (Percussion)
1.3.1. แพทย์จะวางมือหนึ่งบนตำแหน่งที่ต้องการตรวจ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างเคาะบนหลังมือของแพทย์ข้างที่วางอยู่บนอวัยวะผู้ป่วย เพื่อตรวจรับการสะท้อนของเสียง ดูลักษณะและ/หรือขนาดของอวัยวะนั้นๆ เช่น การเคาะปอด การเคาะช่องท้องดูปริมาณแก๊สในลำไส้ เป็นต้น
1.4. •การฟัง (Auscultation)
1.4.1. โดยการได้ยินเสียง เช่น เสียงพูดของผู้ป่วยแหบผิดปกติ หรือ เหมือนอมอะไรอยู่ และโดยการใช้หูฟัง (Stethoscope) เช่น ใช้หูฟัง ฟังเสียงการหายใจของปอด หรือฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ในการฟังที่ช่องท้องเป็นต้น
2. สรุป
2.1. การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจพื้นฐาน ที่แพทย์ให้การตรวจในผู้ป่วยทุกคน เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค ประเมินผลการรักษา และติดตามผลการรักษา ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่าย ไม่ซับ ซ้อน ไม่มีผลข้างเคียง และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า
3. การเขียนบันทึกการตรวจร่างกาย
3.1. Temperature(T),Pulse,Respiration Rate,BP
3.2. General Apperaance
3.3. Skin Membrane
4. ประโยชน์
4.1. ช่วยประเมินผลการรักษา
4.2. ช่วยในการติดตามผลการรักษา
5. ความหมาย
5.1. ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่แพทย์ปฏิบัติเพื่อใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรค ทั้งนี้ การตรวจร่างกายมักดำเนินการหลังจากแพทย์ ได้สอบถามประวัติอาการต่างๆของผู้ป่วยแล้ว เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการมีบุตร ในผู้หญิง และประวัติการใช้ยาต่างๆ รวมทั้งประ วัติการแพ้ยา และแพ้อาหารหรือแพ้สิ่งต่างๆ
6. ผลการตรวจร่างกาย
6.1. ผลการตรวจร่างกาย ทราบได้ทันทีจากแพทย์ หลังแพทย์ตรวจร่างกายเสร็จแล้ว ซึ่งแพทย์มักจะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า ผลตรวจปกติ หรือ ผิดปกติ หรือต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม ซึ่งถ้าแพทย์ไม่บอก ผู้ป่วยสามารถสอบถามแพทย์ได้เสมอ
7. การเตรียมตัวการตรวจร่างกาย
7.1. ให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นเสื้อผ้าของโรงพยาบาลก่อน เพื่อความสะดวกในการตรวจร่างกายของแพทย์ ซึ่งบางครั้ง อาจให้เปลี่ยนเสื้อผ้าเฉพาะส่วน