ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. หน่วยประมวลผลกลาง

1.1. ซีพียู มี มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์ควบคุมการทำงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์ประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าซีพียูนี้เปรียบเหมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์

1.2. เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

2. หน่วยความจำหลัก

2.1. แรมหรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม [1] (อังกฤษ: random access memory: RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่าง ๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร โดยคำว่าเข้าถึงโดยสุ่มหมายความว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลแต่ละตำแหน่งได้เร็วซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดของความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น (หน่วยความจำชั่วคราว)

2.2. รอม (ROM: Read-only Memory) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นหน่วยความจำที่มีซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากหน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้ว

3. หน่วยความจำสำรอง

3.1. แผ่นบันทึก (หรือ Floppy Disk) แผ่นบันทึกข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบาง ฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากบรรจุข้อมูลได้น้อย และชำรุดง่ายห

3.2. ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่แหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นบันทึกหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่า ไซลินเดอร์ แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์แบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ ฮาร์ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก มีความจุเป็นกิกะไบต์ เช่น 320 กิกะไบต์ การอ่านและเขียนข้อมูลจะกระทำได้เร็วมาก

3.3. แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี ในปัจจุบันแผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี มีผู้ใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ซีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ 750 เมกะไบต์และแผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์

3.4. – หน่วยความจำแบบแฟรช (หรือ Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอม ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีของ รอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้หันมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรชกันมากขึ้น เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เช่น 4 กิกะไบต์ , 8 กิกะไบต์

4. หน่วยรับข้อมูล

4.1. - แป้นพิมพ์ (หรือ Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ แล้วส่งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์

4.2. – เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพแล้วคลิกปุ่มเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์

4.3. – เครื่องกราดตรวจ (หรือ Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีของการผ่านแสงเพื่อทำการอ่านรหัสสัญลักษณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลต่อไป

4.4. - จอสัมผัส (หรือ Touch Screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลเข้า และส่งออกข้อมูลออกในเวลาเดียวกัน จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลโดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพประกอบไปด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้

5. หน่วยส่งออกข้อมูล

5.1. – จอภาพ (หรือ Monitor) การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง จอภาพมีขนาดที่แตกต่างกันเช่น 17 นิ้ว 20 นิ้ว เป็นต้น

5.2. – เครื่องพิมพ์ (หรือ Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ส่งออกข้อมูลในรูปของการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษหรือวัตถุต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ออกมาหลายลักษณะตามความต้องการของผู้ใช้งาน

6. อื่นๆ

6.1. ซอฟต์แวร์

6.1.1. ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะถูกอ่านจากหน่วยบันทึกข้อมูล ส่งต่อไปยังซีพียู เพื่อควบคุมการประมวลผล และคำนวณ ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

6.1.2. (1) ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software) ... bullet เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ Window Me, Windows XP, OS/2, Unix และ Linux ระบบปฏิบัติจะมีการพัฒนา และปรับปรุงให้มีรุ่นใหม่อยู่เรื่อยๆ bullet ตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software)

6.1.3. (2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ... bullet ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้านต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ · ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) จะมีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมสำหรับการซื้อขาย มีประโยชน์กับร้านค้า หรือโปรแกรมสำหรับฝากถอนเงิน ก็จะมีประโยชน์กับองค์กรเกี่ยวกับการเงิน เช่น ธนาคาร · ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานส่วนตัวได้อย่างหลากหลาย ทำให้ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint, Photoshop และ Oracle เป็นต้น bullet ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) สำหรับงานทั่วไป

6.2. ฮาร์ดแวร์

6.2.1. เป็นส่วนที่ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น

6.2.2. o ไมโครโปรเซสเซอร์

6.2.3. o หน่วยความจำ

6.2.4. o อุปกรณ์เก็บข้อมูล

6.2.5. o อุปกรณ์รับข้อมูล

6.2.6. o อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล