ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

1. 4.พัดลมซีพียู ทำหน้าที่ ระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องซีพียุ

2. 4. เครื่องสแกน เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจะทำงานด้วยการจับรูปภาพ หรือข้อความ ส่งเข้าคอมพิวเตอร์ จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะแปลผลเป็นข้อมูลที่เครื่องสามารถเข้าใจได้

3. ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่แหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นบันทึกหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่า ไซลินเดอร์ แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์แบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ ฮาร์ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก มีความจุเป็นกิกะไบต์ เช่น 320 กิกะไบต์ การอ่านและเขียนข้อมูลจะกระทำได้เร็วมาก

4. หน่วยรับข้อมูล

4.1. 1.แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่รับข้อมูลด้วยการกดปุ่ม อักษร ลักษณะของสิ่งที่ป้อนเข้า ก็คืออักขระ

4.2. 2. เมาส์ รับข้อมูลด้วยการเคลื่อนที่ รับคำสั่งด้วยการกดปุ่ม

4.3. 3 .จอสัมผัส(touchscreen) เป็นรูปแบบหนึ่งของอุปกรณ์แสดงผลและนำเข้าข้อมูลที่ผสมร่วมกัน เพื่อลดขนาดพื้นที่การใช้งาน โดยโปรแกรมจะแสดงผลภาพกราฟิกบนจอภาพ และผู้ใช้สามารถใช้นิ้วมือสัมผัสบนจอภาพ

4.4. 5.Webcam (เว็บแคม) เว็บแคมเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ สามารถจับภาพเคลื่อนไหวของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ และสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้คนอีกฟากหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหว ได้เหมือนอยู่ต่อหน้า ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่ง และมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

5. หน่วยประมวลผลกลาง

5.1. หน่วยประมวลผลกลาง (หรือ Processor) หน่วยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์ควบคุมการทำงาน การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์ประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าซีพียูนี้เปรียบเหมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์

6. หน่วยความจำหลัก

6.1. หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียกใช้งานได้หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ แรม กับรอม

6.2. Ram เป็นหน่วยความจำหลักที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลตราบเท่าที่ยังเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ หรือยังมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้วงจรอยู่ แต่หากเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเกิดไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที

6.2.1. ROM ถือได้ว่าเป็นหน่วยความจำถาวรที่สำคัญ ซึ่งเราจะพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ลักษณะของรอมที่พบเจอ

7. หน่วยความจำสำรอง

7.1. หน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ไว้ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ หากถูกเรียกใช้งานเมื่อใด ก็ถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองมาไว้ที่หน่วยความจำหลักนั่นคือ แรม เพื่อให้หน่วยประมวลผลทำงานติ่ไป หน่วยความจำประเภทนี้หากมีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟดับ ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไปไหน หน่วยความจำสำรองที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์ มีอยู่หลายประเภท เช่น

7.1.1. แผ่นบันทึก (หรือ Floppy Disk) แผ่นบันทึกข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบาง ฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากบรรจุข้อมูลได้น้อย และชำรุดง่าย

7.1.2. แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี ในปัจจุบันแผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี มีผู้ใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ซีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ 750 เมกะไบต์และแผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์

7.1.3. หน่วยความจำแบบแฟรช (หรือ Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอม ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีของ รอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้หันมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรชกันมากขึ้น เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เช่น 4 กิกะไบต์ , 8 กิกะไบต์

8. หน่วยส่งออกข้อมูล

8.1. หน่วยส่งออกข้อมูล หน่วยส่งออกข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลออก

8.1.1. 1.จอภาพ (หรือ Monitor) การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง จอภาพมีขนาดที่แตกต่างกันเช่น 17 นิ้ว 20 นิ้ว เป็นต้น

8.1.2. 2.เครื่องพิมพ์ (หรือ Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ส่งออกข้อมูลในรูปของการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษหรือวัตถุต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ออกมาหลายลักษณะตามความต้องการของผู้ใช้งาน

8.1.3. 3. อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)เป็นอุปกรณ์สำหรับฉายภาพจากสัญญาณวิดีโอ ผ่านระบบเลนส์ไปยังฉากรับภาพ โดยใช้ไฟที่สว่างและจ้าในการฉายภาพ

8.1.4. 4.อุปกรณ์เสียง (Audio Output) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

9. หน่วยอื่นๆ

9.1. 1.เครื่องอ่านซีดี ทำหน้าที่ อ่านแผ่นซีดีข้อมูลที่ใส่ลงไป

9.2. 2. เคส ทำหน้าที่ประกอบส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอรื

9.3. 3.สาย Sata ใช้เพื่อส่งออกข้อมูลเมนบอร์ดและหน่วยต่างๆ

9.4. 5.โต๊ะคอม ทำหน้าที่วางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

9.5. 6.พาวเวอร์ซับพลาย ทำหน้าที่ เป็นแหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอรื