นิติธรรม

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
นิติธรรม por Mind Map: นิติธรรม

1. ความหมาย

1.1. หลักการพื้นฐานแห่งกฎหมาย

2. ความเป็นมา

2.1. สมัยยุคกรีกโบราณ

2.1.1. “หลักการปกครองโดยราชาปราชญ์” (Philosopher King)

2.1.1.1. พลาโต้ (Plato) และ อริสโตเติ้ล (Aristotle)

2.1.1.2. ปกครองโดยให้อำนาจแก่ตัวบุคคลเพียงคนเดียว

2.1.1.2.1. อำนาจอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเด็ดขาด

2.1.1.2.2. ใช้อำนาจตามอำเภอใจ

2.2. อังกฤษ

2.2.1. ประเทศแรกที่มีหลักนี้

2.2.2. ผู้พิพากษา

2.2.2.1. ต้องมีความเป็นอิสระ ปราศจากอคติ

2.2.2.2. พิจารณาคดีและพิพากษาคดีได้ภายในระยะเวลาอันสมควร

2.2.2.3. วิธีพิจารณาคดีของศาลต้องเที่ยงตรง มีความเป็นธรรม และมีเหตุผล

2.3. สหรัฐอเมริกา

2.3.1. ต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ

2.3.2. รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาถูกจำกัด

2.3.2.1. โดยรัฐธรรมนูญ

2.3.2.2. โดยอำนาจสูงสุดของรัฐ (อำนาจของศาลสูงสุดของอเมริกา)

2.3.3. ผู้ที่ไม่ยอมรับหลักนิติธรรม

2.3.3.1. - ฟรีดริช เฮเยก (Friedrich Hayek) - โรเบอร์โต อังเกอร์ (Roberto Unger) - ไบรอัน เซ็ท ทามานาฮา (Brian Z. Tamanaha)

2.3.3.2. อำนาจศาลยุติธรรมมากเกินไป

3. เปรียบเทียบ "นิติรัฐ"

3.1. "หลักนิติรัฐ" ความมีอำนาจสูงสุดของกฎหมายลายลักษณ์อักษรโดยมีรัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

3.2. "หลักนิติธรรม" ให้ความสำคัญกับความมีอำนาจสูงสุดของระบบศาล

3.3. สาระสำคัญของทั้งสองหลักการดังกล่าวก็มุ่งเน้นไปในทิศทางเดียวกัน

4. ตัวอย่าง

4.1. มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม

4.2. มาตรา ๒๖ การตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง