ของดีประจำจังหวัดสงขลา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ของดีประจำจังหวัดสงขลา by Mind Map: ของดีประจำจังหวัดสงขลา

1. กลุ่มสตรีบ้านชะแม ได้เริ่มดำเนินการกลุ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 โดยมีนางบุญญา ชุมแสง เป็นประธานกลุ่มฯ ได้นำวัฒนธรรมในการบริโภคเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มาดัดแปลงเป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แผ่นเพื่อส่งจำหน่าย จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

2. ข้าวเกรียบกุ้ง-ปลาของสงขลา เป็นผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงในภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีน้ำบูดู เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กุ้งแก้ว ฯลฯ ซึ่งจะหาซื้อได้จากร้านค้าบริเวณถนนนครใน อำเภอเมือง

3. ไข่ครอบ เป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของครอบครัวชาวประมงพื้นบ้านแถบริมทะเลสาบสงขลารู้จักทำกันมานาน แต่ก่อนทำเพียงแค่เพื่อถนอม หรือรักษาไข่แดงที่เหลือจำนวนมากจากการใช้ไข่ขาวย้อมด้ายเนื้ออวน แห กัดวางปลา ไม่ให้เน่าเสียโดยการนึ่ง เพื่อเก็บไว้กิน และนำไปขายในงานเทศกาล ตลาดนัดชุมชุน ไข่ครอบ แต่ก่อนใช่จะหากินกันได้ง่ายๆ จะมีกิน มีขายก็ต่อเมื่อมีการย้อมเส้นด้าย ในช่วง 1-2สัปดาห์ แต่ปัจจุบันจะทำขายเป็นอาชีพกันหลายครอบครัว ในตลาดนัดวันต่างๆของสงขลา

4. หนังตะลุง

4.1. หนังตะลุงที่มีแสดงอยู่โดยทั่วไปในภาคใต้นั้น ยังหาข้อยุติที่แน่ชัดลงไปไม่ได้ว่า มีความเป็นมาอย่างไร บางท่านก็กล่าวว่าได้รับอิทธิพลมาจากชวา มลายู บางท่านกล่าวหนังตะลุงในภาคใต้นี้มีขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดพัทลุง คนทั่วไปจึงเรียกหนังตะลุงที่มาจากพัทลุงว่าหนังพัทลุง หรือหนังพัดลุ จนกลายมาเป็นหนังลุงหรือหนังตะลุง

5. ข้าวเกรียบกุ้ง

6. เม็ดม่วงหิมพานต์

7. ไข่ครอบ

8. ขนมบุหงาปูดะ

8.1. ขนมบุหงาปูดะ ก่อเกิดมาตั้งแต่ 100 กว่าปี เป็นขนมในวังและเป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ ของตำบลเกตรีและ จังหวัดสตูล เป็นขนมที่มีตำนาน โดยเริ่มจากสตรีชาวบ้านเกตรี เข้าไปเป็นแม่ครัวในวังเจ้าเมืองสตูล ต่อมาเมื่อลาออกจากแม่ครัวในวัง กลับมาอยู่บ้าน ได้นำเอาความรู้ ประสบการณ์ในการทำขนมมาเผยแพร่ให้ลูกหลานชาวตำบลเกตรี จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และนิยมทำขนมบุหงาปูดะ ในช่วงเทศกาล รายอ งานแต่งงาน และงานประเพณีต่าง ๆ

9. ผ้าทอเกาะยอหรือ ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา

10. ที่มีความประณีตและสีสันที่สวยงาม โดยมีการทอยกดอกที่มีลวดลายอ่อนนุ่ม ถือเป็นสัญลักษณ์หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้และยังเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2549 สืบสานตำนานจากชาวเกาะยอ

11. กุ้งแก้วเป็นสินค้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของอำเภอปากพะยูน มานามเนื่องจากกุ้งทะเลสาบปากพะยูน เป็นกุ้งน้ำกร่อย เนื้อกุ้งมีรสหวาน สามารถนำไป แปรรูปได้หลากหลายชนิด เช่น กุ้งแก้ว กุ้งไม้ กุ้งเสียบ กุ้งหวาน ผู้บริโภคนิยมรับประทานและเป็นของฝากกุ้งแก้วเป็นการถนอมอาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนอำเภอปากพะยูน ที่ต้องการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าให้กับกุ้งขาว ซึ่งเป็นกุ้งที่มีมากในทะเลสาบปากพะยูน ที่ชาวประมงจับขึ้นมาขายเป็นกุ้งสดแล้วยังมีกุ้งเหลือเป็นจำนวน จึงคิดหาวิธีในการรักษากุ้งไว้บริโภคได้นาน จึงได้คิดวิธีในการทำกุ้งแก้วขึ้น จากการทำกุ้งไม้กุ้งริ้วที่มีการทำกันอยู่แล้ว ทำให้ได้ผลิตที่มีลักษณะ เป็นมันแววเหมือนแก้ว มีรสหวานเนื้อกุ้ง จึงได้ตั้งชื่อว่า “กุ้งแก้ว”

12. ผ้าทอเกาะยอ

13. กุ้งแก้ว

14. ขนมดู

14.1. ขนมดู เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียว เป็นการแปรรูปวัตถุดิบในรูปแบบการถนอมอาหาร สามารถเก็บไว้รับประทานได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น รสชาติขนมดูจะหอมหวาน มัน มีสีน้ำตาลปนดำ ขนมดูเป็นที่นิยมกันมากเป็นของที่ระลึกที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสงขลา

15. ปลาหวาน

15.1. ปลาหวาน จังหวัดสงขลาเนื่องมาจากสภาพของน้ำที่มีทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ที่นี้จึงได้รับสมญาว่า "เมือง2ทะเล 3น้ำ" ความพิเศษของทะเลสาบแห่งนี้เป็นที่เลื่องลือกันว่า เนื้อปลามีรสหอมหวานกว่าที่อื่นอกจากนี้ยังมีสัตว์น้ำกร่อยที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจทั้ง กุ้งหัวมัน กุ้งหัวแข็ง กุ้งก้ามกราม กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ ปลากะพงขาว ปลากระบอก ฯลฯ มีชุกชุมจับได้ทั่วไปไม่ว่าส่วนไหนของทะเลสาบ และคุณภาพก็ยอดเยี่ยม ทั้งอ้วน หวาน มัน ราคาแพง กว่ากุ้งปลาจากแหล่งน้ำอื่น โดยเฉพาะปลากระบอกและปลากะพงขาว

16. ขนมตับเต่า

16.1. ขนมตับเต่า เป็นขนมทานเล่น เป็นที่นิยมของชาวสงขลา