1. Digital Communication การสื่อสารดิจิทัล
1.1. Online collaboration ความร่วมมือออนไลน์
1.1.1. 1. สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในองค์กร ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นสิ่งที่ช่วยให้การดำเนินงานในองค์กรราบรื่น การพูดคุย ประสานงานในแต่ละหน่วยงานล้วนมีผลมาจากความสัมพันธ์ทั้งสิ้น ซึ่งผู้บริหารสามารถสนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นการจัดกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกัน เปิดพื้นที่ให้พนักงานทำความรู้จักกัน 2. สร้างแบบอย่างของความร่วมมือและการมีส่วนร่วม สร้างแบบอย่างค่านิยมองค์กรให้เกิดพฤติกรรมทางบวกที่จะส่งผลดีต่อการสร้างความร่วมมือในองค์กร และชี้ให้เห็นว่าหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับองค์กรแล้วจะมีผลดีต่อการปฏิบัติงานและพนักงานในองค์กรอย่างไร 3. สร้างวัฒนธรรมของการแบ่งปัน ไม่ใช่เพียงการให้ของขวัญ แต่เป็นการให้คำปรึกษา คำแนะนำ การช่วยเหลือในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมถึงชื่นชมกันและกัน ให้กำลังใจกันในการทำงาน 4. ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ให้เกิดความชำนาญในทักษะงานที่ทำ เพื่อพร้อมที่จะทำงานในส่วนของตนได้อย่างราบรื่นและส่งเสริมให้พนักงานมีทักษะการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น 5. สร้างความแข็งแกร่งในองค์กร ให้เกิดการถ่ายทอดทักษะการทำงานในส่วนต่างๆได้และจะดียิ่งขีึ้นหากได้รู้และเข้าในแนวทางการทำงานในส่วนต่างๆ รุ้ปัญหาและอุปสรรคที่มีร่วมกัน 6. สร้างผู้นำที่เข้มแข็งและมีส่วนผลักดันด้านความสัมพันธ์ ความร่วมมือ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะหัวหน้างานเองเท่านั้น แต่เป็นผู้นำตามธรรมชาติในการสร้างความคิดทางบวก สานสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่นและคอยผลักดัน คอยช่วยให้บรรยาการศในการทำงานร่วมกันดีขึ้น หรืออาจจะเป็นผู้นำในการสร้างโครงการอบรม ผู้อาสา ผู้มีส่วนร่วมในคณะทำงานรับผิดชอบโครงการสร้างความสัมพันธ์ทีมงาน อบรมTeam Building เป็นต้น 7. เชื่อมั่น ไว้ใจ ความเชื่อใจระหว่างกันช่วยให้การร่วมมือประสบความสำเร็จ 8. เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เมื่อแต่ละส่วนงานต่างเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เห็นความสำคัยในหน้าที่ที่ทำว่ามีความสำคัญอย่างไร ย่อมทำให้ความร่วมมือในการทำงานประสบความสำเร็จ
1.2. Online communication การสื่อสารออนไลน์
1.2.1. สื่อสารออนไลน์ คือ การมีปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) การมีปฏิสัมพันธ์ในที่นี้ หมายความถึง 2 ประการคือ “ให้อำนาจแก่ผู้รับสาร” และ “ทำให้เกิดการโต้ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดความเห็น” 1. คนอ่านต้องมีอำนาจควบคุม ไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว ใครป้อนอะไร ยังไง ก็รอรับอย่างนั้น แต่ผู้รับสื่อออนไลน์สามารถเป็นผู้ “เลือก” ว่าจะรับอะไร อย่างไร และ เมื่อไรได้ ดังนั้น ผู้สื่อสารออนไลน์ ก็ต้องคำนึงถึงการสร้างสื่อ หรือ ชิ้นงานที่ต้องการนำเสนอ ให้ตอบสนองลักษณะการเลือก
1.3. Digital footprints ร่องรอยเท้าดิจิทัล
1.4. คือ ทุกสิ่งที่เป็นตัวตนของเราในโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น social media อย่าง facebook, twitter, instagram พวกภาพถ่ายต่างๆ ที่เราถ่ายเอง ถ่ายกับครอบครัวหรือเพื่อนๆ ทุกๆสิ่งที่เราโพส สิ่งต่างๆเหล่านี้มันจะบอกตัวตนของเรา และจะติดตัวเราไปตลอด
2. Digital Security ระบบความปลอดภัยดิจิทัล
2.1. 1.การป้องกันรหัสผ่าน Password protectionช่วย
2.1.1. ปกป้องความเป็นส่วนตัวซึ่งโปรแกรมนี้ จะช่วยล๊อค การทำงานของ Desktop ของท่านด้วย รหัสผ่าน ฯลฯ
2.2. Mobile security ระบบความปลอดภัยบนมื
2.2.1. 1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ระบบปฎิบัติการ และแอพฯ ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน Android ของคุณอัพเดทแล้ว และเฟิร์มแวร์ที่ติดตั้งในเครื่องเป็นเวอร์ชันล่าสุด 2. หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอพพลิเคชันจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่ไม่น่าเชื่อถือ 3. อ่านรีวิว และคอมเมนต์จากผู้ใช้ก่อนคลิกปุ่มติดตั้ง 4. ตรวจสอบนโยบายความเป็นส่วนตัว และการขออนุญาตต่างๆ ของแอพ5. จงระวังในขณะที่เชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi สาธารณะ6. ติดตั้งแอพระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถสแกนไวรัส และสปายแวร์ได
2.3. 2.Internet protection ระบบความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต
2.3.1. ระบบที่มีไว้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากผู้ที่ประสงค์ร้ายต่อธุรกิจข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลทั่วไปที่องค์กรนั้นมีอยู่รวมไปถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจากผู้ที่ต้องการคุกคามผู้ใช้คอมพิวเตอร์บนโลกอินเตอร์เน็ตหรือจากระบบรักษาความปลอดภัยในเครื่องคอมพิวเตอร์เอง
3. Digital Literacy การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
3.1. 1.Computational thinking การคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ ป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ทักษะและเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเช่นที่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) หรือ วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งแก่นแท้คือการแก้ปัญหา แบบมีลำดับขั้นตอนให้กลายเป็นเรื่องที่สายอาชีพอื่นๆ สามารถนำแนวคิดลำดับขั้นตอนไปแก้ปัญหาในเชิงนามธรรม อย่างการจัดการแถวขบวนของเจ้าของร้านอาหารที่จะทำยังไงให้ไม่เกิดภาวะต่อคิวยาวนาน หรือปัญหา Classics ที่ให้นักทำบัญชีหาวิธีการใช้เครื่องมืออื่นๆ มาช่วยบันทึกยอดมากกว่าจดลงกระดาษแล้วใช้เครื่องคิดเลขกระทบยอด
3.2. 2.Content creation การสร้างสรรค์เนื้อหา
3.3. 3.Critical thinking การคิดวิเคราะห์ คือ การคิดวิเคราะห์ เป็นทักษะในการคิดแบบมีเหตุมีผล เพื่อแยกแยะว่าสิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ อันจะนำไปสู่การตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ทั้งนี้ หลักในการคิดแบบมีเหตุมีผล ก็คือ ตรรกะ (Logic) ดังนั้น ตรรกะ ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ การคิดวิเคราะห์
4. Digital Emotional lntelligence ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัล
4.1. 1.Social&emotional awareness การตระหนักรู้ทางสังคมและอารมณ์ คือ ความสามารถของเด็กในการแสดงออกถึงการรับรู้เกี่ยวกับตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสิ่งแวดล้อม การแสดงพฤติกรรมอย่างเหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักรู้ทางสังคมควรเริ่มจากเรื่องราวที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่เรื่องราวที่ไกลตัวออกไป และควรเน้นการเรียนรู้จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ การเรียนรู้ความสัมพันธ์กับบ้าน ความสัมพันธ์กับโรงเรียน ความสัมพันธ์กับชุมชน และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
4.2. 2.Emotional awareness/regulation การรับรู้/การควบคุมอารมณ์ คือ การควบคุมอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่จะประสบความสุขหรือความสำเร็จในชีวิต เพราะถ้าไม่รู้จักควบคุมอารมณ์แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ก็จะไม่สามารถปรับตนให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ บางคนอาจจะควบคุมอารมณ์ของตนเองด้วยการสกัดกั้นไว้ไม่แสดงออก วิธีนี้อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ การควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต บุคคลใดรู้จักควบคุมอารมณ์จะก่อให้เกิดผลดีดังนี้ ทำให้เป็นคนมีบุคลิกภาพดี สามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้เหมาะสม ทำให้เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี การแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะจะช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นได้เหมาะสม ทำให้เป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี ผู้บริหารที่รู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความราบรื่น งานมีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ เป็นการแสดงออกทางอารมณ์ให้เหมาะสมกับวัย ทำให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ผู้ที่รู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์จะรู้จักหาวิธีการระบายออกของอารมณ์ได้เหมาะสม เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นกีฬา การฟังเพลง ฯลฯ
4.3. 3.Empathy ความเอาใจใส่ เข้าใจความรู้สึก คือ ความใส่ใจ กับ ความเกรงใจ คล้ายกันในหลายๆด้านคุณอาจคิดว่า ยิ่งคบกันสนิทสนมกันมากเท่าไหร่ ก็ไม่จำเป็นต้องเกรงใจกันให้มากเหมือนคนที่เพิ่งเริ่มรู้จักกันความใส่ใจ ไม่ใช่ ความมีน้ำใจอย่างเดียว หากแต่มีความถนอมน้ำใจด้วย หากคนรักของคุณทำอะไรเพื่อคุณซักอย่างด้วยความตั้งใจ แต่คุณกลับไม่ชอบมัน คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ใส่ใจในความรู้สึกของเค้าด้วย
5. Privacy ความเป็นส่วนตัว สิทธิของบุคคลตามหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายที่จะอยู่ตามลำพังโดยปราศจากการรบกวนหรือสอดแทรกจากผู้อื่นที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญใจ เสียหาย อับอาย หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
6. Digital Rights สิทธิดิจิทัล
6.1. Freedom of speech เสรีภาพในการพูด เสรีภาพการแสดงออก (Freedom of Expression) หรือเสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) เป็นสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หมายถึง สิทธิที่เราสามารถที่จะแสดงออกหรือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดหรือความเห็น ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ 1.นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่ด้วย
6.2. Intellectual property rights การคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น 2. ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า “ลิขสิทธิ์” และจะใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้ว ในทางสากลทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์ (Copyright) 2.1 ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้ อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ 2.2 ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ไดทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานดังกล่างจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดๆ นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือวิธีทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
7. Digital ldentity อัตลักษณ์ดิจิทัล
7.1. Digital citizen พลเมืองดิจิทัล พลเมืองดิจิทัล หรือ Digital Citizens เป็นกระแสที่แพร่หลายไปทั่วโลกนับตั้งแต่อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมด้าน ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังหลังจากที่รัฐบาลผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควร เสริมสร้างศักยภาพการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างชาญฉลาดและก้าวเข้าสู่ความเป็นพลเมืองในยุคดิจิตอลได้อย่าง ภาคภูมิ
7.2. Digital co-creator ผู้ร่วมสร้างดิจิทัล -เรามาดูกันเลยว่า 6 ตำแหน่งงานเหล่านั้นมีอะไรบ้าง 1 Strategic Planner 2 Content Creator 3 Graphic Design 4 Online Community Manager 5 Ads Manager 6 Researcher
7.3. Digital entrepreneur ผู้ประกอบการดิจิทัลหมายถึง เจ้าของธุรกิจที่มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเข้มข้นเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพในการบริหารจัดการธุรกิจ
8. Digital Use
8.1. Screen time การใช้เวลาหน้าจอ
8.1.1. เวลาที่ใช้บนหน้าจอในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็น การดูทีวี เล่นเกมส์ หรือ เล่นอินเตอร์เน็ต บนอุปกรณ์ต่างๆ
8.2. Digital health สุขภาพ การแพทย์ดิจิทัล
8.2.1. สำหรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ในปัจจุบัน Digital Personalised Healthcare หรือข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคลที่เป็นดิจิตอล เป็นหนึ่งตัวช่วยในการตรวจสอบประวัติการรักษา ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาใดก็ตาม สามารถค้นหาประวัติการรักษาได้เร็วขึ้นถึง 40% ซึ่งได้ควบรวมอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ เข้ากับแอพพลิเคชั่นเพื่อการแพทย์ สามารถใช้งานผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ อย่างแท็ปเล็ตและโทรศัพท์มือถือ และสามารถคาดการณ์ได้ว่า ภายในปี 2568 จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากความช่วยเหลือของระบบดิจิตอล จึงส่งผลให้ Digital Personalised Healthcare กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมทางการแพทย์แห่งโลกดิจิตอล
8.3. Community participation การมีส่วนรวมของชุมชน
8.3.1. การมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น จะต้องประกอบไปด้วยองค์กรหลักๆอยู่ 3 องค์กร คือ รัฐบาล (Government) ประชาชน (People) และชุมชน (Community) ซึ่งองค์กรชุมชนนั้นเป็นองค์กรพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นรากฐานของประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าไป ความหมายของการมีส่วนร่วมของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ โคเฮนและอัฟฮอฟ (Cohen and Uphoff. 1981 : 6) ได้ให้ความหมาย การมีส่วนร่วมของชุมชนว่า สมาชิกของชุมชนต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใน 4 มิติ ได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมการตัดสินใจว่าควรทำอะไรและทำอย่างไร 2. การมีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนารวมทั้งลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ 3. การมีส่วนร่วมในการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน 4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ
9. Digital Safety การจัดการความปลอดภัยดิจิทัล
9.1. Behavioral risks ความเสี่ยงจากพฤติกรรม
9.1.1. ความโน้มเอียงที่เราจะป้องกันความสูญเสีย มากกว่าที่เราจะพยายามให้ได้ผลกำไร งานวิจัยโดยมากแสดงว่า โดยทางความรู้สึกทางจิตใจแล้ว การสูญเสียมีอำนาจมากกว่าการได้ประมาณสองเท่า
9.2. Content risks ความเสี่ยงจากเนื้อหา
9.2.1. โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงินและการบริหาร
9.3. Contact risks ความเสี่ยงจากการติดต่อพบปะ
9.3.1. โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านยุทธศาสตร์ การปฏิบัติงาน การเงินและการบริหาร