แรงงานสัมพันธ์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แรงงานสัมพันธ์ by Mind Map: แรงงานสัมพันธ์

1. บทบาทสหภาพแรงงานและลูกจ้าง

1.1. สหภาพแรงงานและลูกจ้างต้องตระหนักว่าลูกจ้างกับนายจ้างมีผลประโยชน์ร่วมกัน

1.2. กรรมการสหภาพแรงงานควรส่งเสริมระเบียบวินัยในการทำงาน และจริยธรรมในการทำงานของบรรดาพนักงานอย่างเอาจริงเอาจัง

1.3. สมาชิกสหภาพแรงงานและพนักงานควรส่งเสริมและให้โอกาสแก่ผู้ที่มีเหตุมีผล มีความรู้และมีความเสียสละเข้ามาเป็นกรรมการสหภาพแรงาน

1.4. ผู้นำสหภาพแรงงาน ควรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ในภาพรวม และสถานการณ์ด้านธุรกิจ ของสถานประกอบการ

1.5. ผู้นำสหภาพแรงงานต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบและสามารถชี้แจงสถานการณ์ ต่างๆ อย่างเป็นจริง

2. ประโยชน์ของแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

2.1. นายจ้าง - ดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ มีผลกำไร กิจการเจริญก้าวหน้า - ไม่เสียเวลา ไม่เสียเงิน ไม่เสียความรู้สึก และไม่เสียหน้า - สามารถรักษาระเบียบวินัย ความสงบเรียบร้อยในสถานประกอบการ

2.2. ลูกจ้าง - มีขวัญกำลังใจในการทำงาน - ได้รับค่าจ้าง มีสวัสดิการ ผลประโยชน์ สภาพการจ้าง และการทำงานที่ดี - มีโอกาสแสดงความคิดริเริ่ม ความสามารถ การพัฒนาก้าวหน้าในอาชีพการงาน - ไม่ตกงาน ไม่ขาดรายได้ มีความมั่นคงในการทำงาน

2.3. ประชาชนทั่วไป - ในฐานะผู้บริโภค ได้รับสินค้าและบริการที่ดี

2.4. ประเทศชาติ - ส่งเสริมบรรยากาศในการลงทุน - การขยายตัวของอุตสาหกรรม การเติบโตทางเศรษฐกิจ - ความสงบสุขในสังคม

3. ความหมาย

3.1. ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้าง องค์กรนายจ้าง กับลูกจ้าง องค์กรลูกจ้าง ตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน จนออกจากงาน

4. ขั้นตอนกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ขั้นสูง

4.1. 1. นายจ้าง หรือลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อกันเป็นหนังสือ

4.2. 2. ตั้งตัวแทนฝ่ายละไม่เกิน 7 คน เข้าเจรจาต่อรองกัน

4.3. 3. ถ้าตกลงกันได้ จัดทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและจดทะเบียนข้อตกลงกับเจ้าหน้าที่

4.4. 4. แต่ละฝ่ายปฎิบัติตามข้อตกลง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

4.5. 5. ถ้าเจรจาตกลงกันเองไม่ได้ถือว่าเกิดข้อพิพาทแรงงาน ต้องแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าไปร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แรงงาน

4.6. 6. ถ้าไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ก็จัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและจดทะเบียนข้อตกลง

4.7. 7. ถ้าเจรจาไกล่เกลี่ยตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจกดดันอีกฝ่ายโดย ฝ่ายลูกจ้างนัดหยุดงาน หรือฝ่ายนายจ้างปิดงาน จนกว่าอีกฝ่ายจะยินยอมตกลงด้วย

5. แนวทางเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

5.1. 1. นายจ้าง ลูกจ้าง คำนึงถึงประโยชน์ร่วมกัน

5.2. 2. ทั้งสองฝ่ายรู้หลักการให้ และการรับ

5.3. 3. มีระบบการสื่อข้อความที่มีประสิทธิภาพ

5.4. 4. มีระบบการบริหารและการยุติข้อร้องทุกข์ที่เป็นธรรม

5.5. 5. มีการร่วมปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอ

5.6. 6. สร้างความคุ้นเคย ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

5.7. 7. ยอมรับเหตุผลซึ่งกันและกัน

5.8. 8. เปิดโอกาสให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมในการบริหารงานมากขึ้น

5.9. 9. เคารพในสิทธิและบทบาทหน้าที่ของอีกฝ่ายหนึ่ง