เทคโนโลยีสัมพันธ์
by นางสาวภัทรวดี ปานหงษ์ 4026025
1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
1.1. เทคโนโลยีทางการเกษตร เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นสิ่งที่ทำให้การผลิตสะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งแตกต่างจากการผลิตตามวิธีการดั้งเดิมที่ต้องอาศัยแต่ธรรมชาติ และแรงงานจากสัตว์หรือมนุษย์เท่านั้น การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงาน นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้วยังเพิ่มผลผลิต ลดการสูญเสียผลผลิตในช่วงการเก็บเกี่ยวและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 15 ทนน้ำท่วมแบบฉับพลัน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกับการผลิตท่อนพันธุ์ขิงและหัวปทุมมาปลอดโรค การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์ เทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อนในโคนม การโคลนนิ่งสัตว์
1.2. เทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์กับการศึกษา สำคัญมากที่สุด คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งเป็นการนำความรู้ แนวคิดกระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น E – Learning (Electronic Learning) หมายถึงการเรียนการสอนที่ถ่ายทอดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สัญญาณดาวเทียม ซึ่งการเรียนการสอนในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม การเรียนในรูปแบบของ E- Learning ทำให้เกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาต่าง ๆ ตามมา เช่น E – Book , E - Library
1.3. เทคโนโลยีกับเภสัชศาสตร์ โภชนศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต โดยเน้นเรื่องอาหาร พิษภัยในอาหาร โภชนาการศึกษา การส่งเสริมภาวะโภชนาการในครอบครัวและชุมชนเป็นสำคัญเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติด้านอาหารและโภชนาการได้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพพลานามัยดี เช่น เทคโนโลยีการถนอมอาหารโดยการพาสเจอร์ไรซ์และการสเตอริไลซ์ เทคโนโลยีการปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปมังคุด. การเร่งกระบวนการหมักน้ำปลาโดยการประยุกต์ใช้เอนไซม์ การถนอมอาหารโดยการฉายรังสี
1.4. เทคโนโลยีกับแพทย์ศาสตร์ แพทยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการป้องกันและบำบัดโรค ซึ่งเน้นเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาอาการของโรคให้ทุเลาลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ โดยแพทย์ผู้รักษาจะต้องค้นหาวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยตรง เช่นเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ ชุดตรวจเชื้อไข้หวัดนกทั้งที่เกิดในสัตว์และในคน การนำสารกัมมันรังสีและรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ
1.5. เทคโนโลยีกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม การนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการอนุรักา์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเป็นการนําความรู้และศิลปวิทยาการในการดํารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่กําลังเปลี่ยนแปลง
1.6. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์เป็นตัวความรู้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ นักฟิสิกส์ก็จะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จึงมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น
2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.1.1. เช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น
2.2. เทคโนโลยีที่นำเข้า แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย
2.2.1. เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด โทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยี ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศแทบทั้งสิ้น
3. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
3.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
3.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
3.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program 3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม 3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น 3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน 4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย 4.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยี สารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ 4.4เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น 4.5เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น 4.6ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียมจะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
3.5. 5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
4. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
4.1. เทคโนโลยีกัยการพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานรากที่รองรับ “สังคมสารสนเทศ” (Information Society) ที่มี “สารสนเทศ” เป็นหัวใจสำคัญ เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการจัดบริการสังคมพื้นฐาน ในขบวนการพัฒนาสังคม เช่น ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ทางด้านสาธารณสุข การบริหารรัฐกิจ ฯลฯ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540)
4.2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมายเลยครับ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีผลกับเรา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ เป็นต้น ในการแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมก็จำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น จะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
4.3. เทคโนโลยีกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถในการเอาชนะธรรมชาติ เพื่อให้มี ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้มากขึ้น เดินทางได้รวดเร็วขึ้น สามารถมองเห็นได้ไกลกว่าที่ดวงตามนุษย์จะมองเห็นได้ สามารถติดต่อสื่อสารและสื่อความหมายกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางมาพบกันฯลฯ เช่น มนุษย์สามารถเดินทางได้ถึงวันละ 408,000 ไมล์โดยทางอากาศ เป็นต้น ที่สำคัญก็คือมนุษย์ได้อาศัยเทคโนโลยีในการผลิตอาหาร ทำให้ได้อาหารมากขึ้นต่างกับสมัยก่อนมนุษย์ใช้ก้อนหินกิ่งไม้หรือหอกในการหาอาหาร ทำให้จับสัตว์ได้เพียงจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อมนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น ด้วยการใช้ธนูและเครื่องจับสัตว์ ทำให้มนุษย์สามารถล่าสัตว์ได้มากกว่าเดิมต่อมามนุษย์ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดก็กลายเป็นเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก ด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ มนุษย์ได้พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จากการใช้พันธุ์พื้นบ้านไปเป็นการคัดเลือกพันธุ์ การหาพันธุ์ใหม่ และการให้อาหารที่มีคุณภาพ ฯลฯ ด้านการเพาะปลูก มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือที่ดีขึ้น เช่น สามารถผลิตและใช้คันไถ รู้จักการใช้ปุ๋ย การชลประทาน ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงมากขึ้น ด้านการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีทำให้เกิดการปฏิวัติ ทางอุตสาหกรรม ด้วยการนำเอาเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ด้านเทคโนโลยีพลังงงาน มนุษย์มีความสามารถสูงจากการรู้จักเอาพลังงานต่างๆ มาใช้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และพลังงานจากน้ำตก ฯลฯ
5. เทคโนโลยี คืออะไร?
5.1. มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
5.2. ตัวอย่างเทคโนโลยี
5.2.1. 1.การใช้งานอินเตอร์เน๊ต
5.2.2. 2.การใช้เครื่องมือสื่อสารในการประกอบอาชีพ