시작하기. 무료입니다
또는 회원 가입 e메일 주소
Diaster nursing 저자: Mind Map: Diaster nursing

1. MASS Triage

1.1. M-Move

1.1.1. ใครที่ได้ยินผมและต้องการความช่วยเหลือ ขอให้เดินไปที่ธงสีเขียว จัดเป็นกลุ่ม Minimal

1.1.2. ต่อไปถามว่า “ทุกคนที่ได้ยินผม ขอให้ยกมือหรือเท้าขึ้น แล้วเราจะไปช่วยคุณ” จัดเป็นกลุ่ม Delayed รอรับการรักษาได้

1.1.3. จากนั้นเข้าไปประเมินผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน กลุ่ม Immediate แล้วจึงมาช่วยกลุ่ม Delayed ต่อไป

1.2. A-Assess

1.2.1. กลุ่ม Immediate ไม่สามารถเดินได้ ไม่ทำตามคำสั่ง ประเมิน ABC อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามีอาการปางตายหรือรักษาไม่ได้ จัดเป็นกลุ่ม Expectant

1.3. S-Sort

1.3.1. การแยกผู้ป่วยออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1.3.1.1. Immediate ผู้บาดเจ็บมีภาวะคุกคามชีวิต

1.3.1.2. Delayed ผู้บาดเจ็บที่สามารถรอรับการดูแลรักษาพยาบาลได้โดยที่อาการไม่แย่ลงอย่างรวดเร็ว

1.3.1.3. Minimal ผู้บาดเจ็บที่สามารถเดินไปมาได้ เป็นผู้ป่วยที่มีสัญญาณชีพปกติและสามารถรอการรักษาได้โดยไม่เกิดผลเสีย

1.3.1.4. Expectant ผู้บาดเจ็บที่มีโอกาสรอดชีวิตน้อยมากและทรัพยากรที่มีอยู่ไม่เพียงพอในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

1.4. S-Send

1.4.1. การขนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุ

1.4.1.1. 1.รักษาแล้วปล่อยกลับจากที่เกิดเหตุเลย

1.4.1.2. 2.ส่งไปยังโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

1.4.1.3. 3.ส่งหน่วยเก็บรักษาศพ

2. คำจำกัดความ

2.1. ภัยพิบัติ (disaster) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์อย่างทันทีและทำให้ระบบการดูแลรักษาที่มีอยู่เดิมชะงักลงหรือเพิ่มความต้องการในการปฏิบัติงานขององค์กร

2.2. อุบัติภัยหมู่ (mass casualty incident : MCI) เหตุการณ์ที่มีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้นจำนวนมากจนต้องระดมกำลังความช่วยเหลือจากทุกแผนกในโรงพยาบาลและอาจต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลใกล้เคียง

3. DISASTER paradigm

3.1. D-Detection เป็นการประเมินสถานการณ์

3.1.1. - มี disaster หรือ MCI เกิดขึ้น

3.1.2. - มีการตรวจพบสารอันตรายหรือไม่

3.1.3. - ทราบสาเหตุหรือไม่ และสถานการณ์ในที่เกิดเหตุปลอดภัยหรือไม่

3.2. I-Incident command คือ ระบบผู้บัญชาเหตุการณ์ เพื่อสามารถขอความร่วมมือในทุกหน่วยงาน ขยายงาน ยุบงาน

3.3. S-Safety and Security คำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันตนเองรวมทั้งทีม เป็นอันดับแรก จากนั้นจึงค่อยคำนึงถึงการป้องกันชุมชน

3.4. A-Assess Hazards คือ รีบทำงานให้เสร็จและย้ายออกให้เร็วที่สุด แล้วก็ควรคำนึงถึงการป้องกันตนเองด้วยการสวมเครื่องมือป้องกันตนเองก่อนเข้าไปในที่เกิดเหตุ

3.5. S-Support ควรมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นส่วนสำรอง เช่น สิ่งที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง ต้องการกำลังคนแบบไหน เครื่องมืออะไร เป็นต้น

3.6. T-Triage/Treatment การคัดกรองผู้บาดเจ็บ ตาม ID-me ดังนี้

3.6.1. Immediate

3.6.2. Delayed

3.6.3. Minimal

3.6.4. Expectant

3.7. E-Evacuation อพยพผู้บาดเจ็บระหว่างที่เกิดเหตุ รวมถึงการดูแลครอบครัวของผู้ที่ประสบภัยด้วย

3.8. R-Recovery ช่วงการฟื้นฟูเริ่มต้นทันทีหลังจากเหตุการณ์ ควาให้ความสนใจกับผลกระทบในระยะยาว