ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายภาคและสรีรวิทยา

시작하기. 무료입니다
또는 회원 가입 e메일 주소
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายภาคและสรีรวิทยา 저자: Mind Map: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายภาคและสรีรวิทยา

1. • ส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์แบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ คือ 1. ศีรษะ (Head) 2. คอ (Neck) 3. ลำตัว (Trunk) แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ อก (Thorax) ท้อง (Abdomen) ท้องน้อย (Palvis) 4. แขนและขา (Extremities หรือ Limbs) ชั้นของร่างกาย

2. การแบ่งส่วน ชั้น และช่องในร่างกาย

2.1. • ชั้นต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ตั้งแต่นอกสุดถึงในสุด แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ได้แก่ 1. ชั้นผิวหนัง (Skin) เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของร่างกาย 2. ชั้นเยื่อเหนียว (Fascia) เป็นชั้นที่อยู่รองลงไปจากชั้นผิวหนัง 3. ชั้นกล้ามเนื้อ (Muscular) 4. ชั้นกระดูก (Skeleton) 5. ชั้นทรวงอก (Pleura) 6. ชั้นในสุดคือชั้นเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneum) เป็นที่อยู่ของอวัยวะภายในช่องท้องและภายในอุ้งเชิงกราน

2.2. ช่องต่างๆ ของร่างกาย (Cavities of the body)

2.2.1. ช่องส่วนหน้า (Ventral cavity)

2.2.1.1. 1. ช่องอก (Thoracic cavity) 2. ช่องท้อง (Abdominal Cavity) 3. ช่องท้องน้อยหรือช่องอุ้งเชิงกราน (Pelvic cavity)

2.2.2. ช่องส่วนหลัง (Dorsal cavity)

2.2.2.1. 1. ช่องที่อยู่ในกระดูกกะโหลกศีรษะ (Cranial caviy) มีมันสมอง (Brain) บรรจุอยู่ภายใน 2. ช่องที่อยู่ของไขสันหลัง (Spinal cavity) ช่องนี้ติดกับช่องกะโหลกศีรษะ โดยมีไขสันหลัง (Spinal cord) ทอดอยู่ โดยทอดติดต่อมาจากมันสมอง ช่องนี้มีความยาวไปตลอดกระดูกสันหลัง ***ส่วนภายในกะ โหลกศีรษะนอกจาก Cranial cavity แล้วยังมีช่องเล็กๆ อีก 3 ช่อง คือ 1. ช่องเบ้าตา (Orbital) มีลูกตา (cye) ประสาทตา (Optic nerve) กล้ามเนื้อลูกตา (Muscle of eyeball) ต่อมขับน้ำตา (Lacrimal appartus) 2. ช่องจมูก (Nasal cavity) 3. ช่องปาก (Buccal cavity หรือ Mouth) มีลิ้น (Tongue) และฟัน (Teeth)

3. 1. Gross Anatomy เป็นสาขาหนึ่งของกายวิภาคทที่ศึกษาเกี่ยวส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ศึกษาโครงสร้างของศีรษะ คออก ท้องแขน ขา ศึกษาถึงจำนวนของกล้ามเนื้อ ลักษณะของกระดูก ทางเดินของกระแสประสาท

4. ความหมาย และการจำแนกสาขากายวิภาคและสรีวิทยา

4.1. ความหมาย คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับร่างกาย ลักษณะ รูปร่างและหน้าที่การทำงานของส่วนหรือ อวัยวะต่างๆ ตามปกติในร่างกายของมนุษย์สัตว์ตลอดจนพฤกษชาติด้วย

4.2. การจำแนก การจำแนกสาขาวิชากายวิภาค จำแนกออกเป็น 7 สาขา

4.2.1. 2. Microscopic Anatomy เป็นการศึกษาถึงหน่วยที่ประกอบเป็นโครงสร้างของร่างกาย ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้อง อาศัยกล้องจุลทรรศน์ส่องดูซึ่งแยกศึกษาออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ Cytology ศึกษา เกี่ยวกับเซลล์Histology ศึกษาเกี่ยวกับ เนื้อเยื่อและ Organology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะ โดยดูจากการพัฒนามาจากเนื้อเยื่อ

4.2.2. 6. Genetic Anatomy เป็นการศึกษาถึงร่างกาในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

4.2.3. 3. Developmental Anatomy หรือ Embryology เป็นการศึกษาถึงการเจริญเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ ซึ่ง ประกอบขึ้นเป็นอวัยวะและร่างกายนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารคา คลอด จนถึงตอนที่ร่างกายของมนุษย์เติบโตเต็มท

4.2.4. 4. Comparative Anatomy เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง ของร่างกายของสัตว์หลาย ๆ ประเภทเพื่อที่จะเอาข้อมูลที่ได้มาใช้ ประโยชน์ในการศึกษาเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและหน้าที่ต่าง ๆ ของอวัยวะในแต่ละระดับของมนุษย์

4.2.5. 5. Systematic Anatomy เป็นการศึกษาลักษณะ และ หน้าที่ของระบบต่างๆโดยแบ่งเป็น - การศึกษาระบบห่อหุ้มร่างกาย (Dermatology) - การศึกษาระบบกระดูก (Osteology หรือ Skeleton system) - การศึกษาระบบกล้ามเนื้อ (Myology หรือ Muscular system) - การศึกษาระบบประสาท (Neurology หรือ Nervous system) - การศึกษาระบบไหลเวียน (Angiology หรือ Cerculartory) - การศึกษาระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) - การศึกษาระบบการย่อย (Digestive system) - การศึกษาระบบหายใจ(Respiratory system) - การศึกษาระบบขับถ่ายปัสสาวะ(Urology หรือ Urinary system) - การศึกษาระบบต่อมไร้ท่อ(Endocrinology หรือ Endocrine system) - การศึกษาระบบสืบพันธุ์(Reproductive system)

4.2.6. 7. Neuroanatomy เป็นการศึกษาถึงระบบประสาท ทั้งใน ระดับที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและระดับที่ต้องใช้กล้อง จุลทรรศน์ช่วย

5. คำที่พบบ่อยในกายภาพ เพื่อบอกให้ทราบถึง ความหมาย ตำแหน่ง และท่าทาง

5.1. • Anatomical position เป็นท่ายืนอยู่ในลักษณะตัวตรง ส้นเท้าชิด ใบหน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนทั้งสองเหยียดตรงชิดกับลำตัว มือแบออกทั้งสองข้าง หันฝ่ามือไปทางด้านหน้า

5.2. • Longitudinal เกี่ยวกับตามความยาวของลำตัว มีเส้นผ่ากลางลำตัวลงมาเรียก Sagittal ซึ่งแบ่งลำตัวออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวา

5.3. • Transverse or Horizontal plane เกี่ยวกับตามขวางของลำตัว แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนบนและส่วนล่าง

5.4. • Inferior หรือ Caudal ด้านล่างของลำตัว

5.5. • Frontal or Coronal plane แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนหน้าและส่วนหลัง

5.6. • Medial เป็นคำประกอบให้ทราบว่า เป็นส่วนที่ใกล้กับเส้นผ่ากลางของร่างหรือของอวัยวะซึ่งเรียกว่า (Median line)

5.7. • Anterior หรือ Ventral หมายถึงด้านหน้าของลำตัว

5.8. • Posterior หรือ Dorsal หมายถึงทางด้านหลังของลำตัว

5.9. • Superior หรือ Cranial เกี่ยวกับด้านข้างบนของลำตัว

5.10. • Lateral เป็นส่วนที่ไกลออกไปจากเส้นผ่ากลาง (Median Iine) ของร่างกาย

5.11. • Superficial เป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับพื้นผิวด้านนอกของส่วนใดๆ หรืออวัยวะใดๆ

5.12. • Deep เป็นส่วนที่อยู่ไกลจากพื้นผิวภายนอก

5.13. • Peripheral เป็นส่วนที่อยู่ไกลออกไปจากเส้นศูนย์กลางหรือส่วนปลาย

5.14. • Central เป็นศูนย์กลางหรือส่วนต้น

5.15. • Interal เกี่ยวข้องกับส่วนภายในของร่างกายหรืออวัยวะภายใน ซึ่งใกล้เคียงคำว่า Visceral

5.16. • Extenal มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับภายนอกร่างกาย ซึ่งใกล้เคียงกับคำว่า Parietal และมีความหมาย ตรงกันข้ามกับคำว่า Internal และ Visceral

5.17. • Proximal เป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับลำตัว เช่น โคนขา โคนแขน ซึ่งอยู่ใกล้และติดต่อกับลำตัว

5.18. Distal เป็นส่วนที่อยู่ไกลจากล าตัว เช่น ปลายมือ ปลายเท้า เป็นต้น