시작하기. 무료입니다
또는 회원 가입 e메일 주소
DQ 저자: Mind Map: DQ

1. Digital Security

1.1. รียนรู้วิธีป้องกันตัวออนไลน์ สังคมทั่วไปมีทั้งคนดีและไม่ดี เมื่ออยู่ที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ดูแลความปลอดภัยให้ลูกๆด้วยการสร้างรั้วสูง ติดล้อคกลอนประตูหน้าต่าง ติดระบบสัญญาณกันขโมย ฯลฯ ในสังคมออนไลน์ ภัยอันตรายมาถึงตัวเด็กๆได้หลายรูปแบบ ยากมากที่พ่อแม่จะคอยปกป้อง เด็กๆจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีป้องกันตัวเองจาก ผู้คิดร้าย เช่น ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ติดโปรแกรมป้องกันไวรัส back up ข้อมูลบ่อยๆ ฯลฯ

2. Digital identity

2.1. การต้องรู้จักสร้าง บริหาร จัดการอัตลักษณ์ ชื่อเสียง ความเป็นตัวตนของเราให้ถูกต้อง เหมาะสมในโลกออนไลน์ ด้วยการใช้ภาษาถ้อยคำ การแสดงออกต่างๆผ่านตัวหนังสือหรือภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

3. Digital Use

3.1. การใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ใช้อย่างสมดุลย์กับชีวิตได้เป็นอย่างดี มีเวลาออนไลน์ก็ควรมีเวลาออฟไลน์ด้วย อย่าให้สื่อเทคโนโลยีใช้เรา

4. Digital Safety

4.1. รู้จักบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะต้องเจอในโลกออนไลน์ เช่น การถูกกลั่นแกล้งรังแกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ข้อความหรือภาพ การเหยียดหยัน หรือความสุ่มเสี่ยงในเรื่องของความรุนแรง ลามกโป๊เปลือย หยาบคาย หรือการตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และที่สำคัญก็ไม่ควรเป็นผู้กระทำการดังข้างตนกับผู้อื่นเสียเอง

5. Digital Emotional Intelligence

5.1. เป็นตัวชี้วัดความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) คือ ความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักรู้ในความคิด ความรู้สึก และภาวะอารมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นได้ มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตน ทำให้สามารถชี้นำความคิดและการกระทำของตนได้อย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับการทำงาน และการดำเนินชีวิต โดยมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ

6. Digital Literacy

6.1. อ่านออก เขียนได้ ใช้เป็น เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นศาสตร์ที่กว้างมาก คุณครูจำเป็นต้องเลือกสรรเนื้อหาที่นักเรียนควรรู้ แล้วนำมาถ่ายทอดและฝึกฝนให้นักเรียนใช้เป็นและใช้คล่อง เทคโนโลยีบางอย่างเช่น video conference and online sharing space such as wikis ถูกนำไปใช้ เป็นเครื่องมือสื่อสารปกติในภาคธุรกิจ แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการเรียนการสอน (Skype, live chat) นักเรียนจะได้ฝึกค้นหาข้อมูล ฝึกการใช้ search engine ฝึกวิเคราะห์ แยกแยะ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะแชร์หรือส่งต่อให้ผู้อื่น รู้จักสร้างหรือเขียนข้อความของตนเองโดยเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา (ไม่ copy & paste) และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของคนอื่น Digital Literacy เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญ นักเรียนจำเป็นต้องมีติดตัวเหมือน computer literacy ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์วัดความสามารถอย่างหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย รวมถึงการสมัครงานในอนาคต

7. Digital Rights

7.1. การจัดการสิทธิดิจิทอล (อังกฤษ: Digital Right Management หรือย่อว่า DRM) คือเทคโนโลยีที่ใช้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลดิจิทัล (เช่น ซอฟต์แวร์ เพลง ภาพยนตร์) และฮาร์ดแวร์ซึ่งใช้จำกัดการใช้งานข้อมูลดิจิทัลเฉพาะงานใดงานหนึ่ง การจัดการสิทธิดิจิทัลมักสับสนกับ การป้องกันการคัดลอก ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีในการจำกัดการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสิทธิดิจิทัล การจัดการสิทธิดิจิทัลเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมาก ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า การจัดการสิทธิดิจิทัลจำเป็นสำหรับเจ้าที่ลิขสิทธิ์สำหรับการป้องการการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้แน่ใจว่ามีรายได้จากผลงานต่อไป ส่วนฝ่ายที่ติเตียนโดนเฉพาะมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีเสนอว่าการใช้คำว่า "สิทธิ" ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ จึงควรใช้ศัพท์ว่า การจัดการบังคับควบคุมดิจิทอล แทน

8. Digital Communication

8.1. เลือกเครื่องมือและช่องทางสื่อสารที่เหมาะสม ทุกวันนี้ ใครๆก็สามารถใช้สื่อออนไลน์เพื่อสื่อสารหรือแสดงตัวตนให้ผู้อื่นรู้ (Line, Instagram, Facebook, YouTube, etc.)แต่คนที่รู้จริงเท่านั้นจึงจะสามารถเลือกใช้สื่อออนไลน์ได้ถูกกาละเทศะ และได้ประสิทธิภาพสูงสุด เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสารคือ โทรศัพท์มือถือ, tablet, laptop และ PC เครือข่ายที่เหมาะสมเช่น 3G, Wifi, หรือ tethering รวมถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆเช่น e-mail, instant messaging หรือ social media