Начать. Это бесплатно
или регистрация c помощью Вашего email-адреса
IES 6 создатель Mind Map: IES 6

1. ขอบเขตมาตรฐาน

1.1. การประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพของผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีที่ต้องพัฒนาให้มีขึ้นก่อนที่จะสิ้นสุดการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก

1.2. การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก การประเมินสามารถกระทำได้โดยกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึง สมาชิกสหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศ ผู้ว่าจ้าง หน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานอนุมัติ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

1.3. ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีควรมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการเรียนรู้ตลอดชีพ เพื่อพัฒนาและดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของตน

1.4. ข้อกำหนดในการประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยง ผู้ประกอบวิชาชีพ

1.4.1. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศฉบับที่ 2 เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก-ความรู้ ความสามารถเชิงเทคนิค

1.4.2. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศฉบับที่ 3 เรื่อง การพัฒนาทาง วิชาชีพระยะเริ่มแรก-ทักษะทางวิชาชีพ

1.4.3. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศฉบับที่ 4 เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก-ค่านิยม จริยธรรม และทัศนคติทางวิชาชีพ

1.4.4. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศฉบับที่ 5 เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรกประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ระบุข้อกำหนดในการประเมินประสบการณ์ภาคปฏิบัติ

1.4.5. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศฉบับที่ 8 เรื่อง การพัฒนาทางวิชาชีพสำหรับผู้สอบบัญชีที่ รับผิดชอบงานตรวจสอบงบการเงิน

1.5. การอธิบายและจัดประเภทความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพนั้นมีหลายวิธี ภายใต้ มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ คือ ความสามารถในการทำหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุไว้

1.5.1. ความรู้ความสามารถทางเทคนิค

1.5.2. ทักษะทางวิชาชีพ

1.5.3. ค่านิยม จริยธรรม และ ทัศนคติทางวิชาชีพ

2. วันที่มีผลบังคับใช้

2.1. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558

3. วัตถุประสงค์

3.1. การประเมินว่าผู้มุ่งมั่นประกอบ วิชาชีพบัญชีสามารถพัฒนาตนเองให้มีระดับความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่เหมาะสม ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

4. ช้อกำหนด

4.1. การประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเป็นทางการ

4.1.1. กิจกรรมการประเมิน คือ กิจกรรมที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ ประกอบวิชาชีพเฉพาะด้าน

4.1.1.1. การประเมินความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานจริงโดยผู้ว่าจ้าง และการทบทวนหลักฐานเมื่อกิจกรรมการปฏิบัติงานจริงแล้วเสร็จ

4.1.1.2. การทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์

4.1.1.3. ข้้อสอบแบบปรนัย/ ข้อสอบปากเปล่า/ข้อสอบอัตนัย

4.1.2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการระบุระดับความรู้ความสามารถที่เหมาะสมที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีควรมี

4.1.2.1. ความรู้ ความชำนาญพิเศษที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีควรมีสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรม เฉพาะ

4.1.2.2. ระดับการตัดสินใจในวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องใช้ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ

4.1.3. ประเภทของกิจกรรมการประเมินการคัดเลือกนั้นอาจขึ้นกับหลายปัจจัยตามที่สมาชิก สหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศพิจารณา

4.1.3.1. ความห่างไกลและการกระจายของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชี

4.1.3.2. แหล่งข้อมูลทางการศึกษาและแหล่งข้อมูลอื่นที่มีของสมาชิกสหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศ

4.1.3.3. จำนวนและภูมิหลังของผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีที่ได้รับการประเมิน

4.1.3.4. โอกาสในการเรียนและการพัฒนาของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง

4.2. หลักในการประเมิน

4.2.1. สนับสนุนการพัฒนาผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพ บัญชีให้ไปสู่ระดับความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

4.2.2. กิจกรรมการประเมินจะมีระดับความเที่ยงตรงสูง

4.2.2.1. ความเที่ยงตรงที่แท้จริง

4.2.2.2. ความเที่ยงตรงในการคาดการณ์

4.2.2.3. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

4.3. หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้

4.3.1. หลักฐานที่พิสูจน์ได้อาจตอบสนองความต้องการของบุคคลที่สามซึ่งทำหน้าที่ติดตามและกำกับดูแลสมาชิกสหพันธ์นักบัญชีระหว่าประเทศ

4.3.2. ช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียมั่นใจ ได้ว่า ผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีสามารถพัฒนาตนเองให้มีระดับความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่เหมาะสม

4.3.3. ตัวอย่างของหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได

4.3.3.1. ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการศึกษา

4.3.3.2. ผลสัมฤทธิ์ของผลสำเร็จจากการสอบ

4.3.3.3. หลักฐานแสดงถึงความสำเร็จในการทำงานของผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีที่ออกโดยผู้ว่าจ้าง