ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Начать. Это бесплатно
или регистрация c помощью Вашего email-адреса
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ создатель Mind Map: ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. 1. เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)

1.2. 2. บริดจ์ (Bridge)

1.3. 3. ฮับ (Hub)

1.4. 4. สวิตช์ (Switch)

1.5. 5. เราท์เตอร์ (Router)

1.6. 6. เกตเวย์ (Gateway)

1.7. 7. โมเด็ม (Modem)

1.8. 6. เกตเวย์ (Gateway)

1.9. 7. โมเด็ม (Modem)

2. วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.1. •เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน – สามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ร่วมกันได้ ลดปัญหาการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน ช่วยให้ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ถูกปรับปรุงล่าสุด •การใช้งานทรัพยากร คอมพิวเตอร์ร่วมกัน – อุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่ออยู่บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ •ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์จากระยะไกล – สามารถทำการเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ และเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่อยู่อีกที่หนึ่งได้ •อำนวยความสะดวกในการรับส่งข้อมูล – ระบบเครือข่ายช่วยให้การสื่อสารภายในองค์กรเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่นการใช้บริการ E-mail ภายในองค์กร •ลดต้นทุน – ลดต้นทุนด้านการสื่อสารที่เกิดขึ้น เช่นแทนที่จะเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษก็เปลี่ยนเป็นไฟล์เอกสารแทน การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ •เพิ่มความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ – สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ เช่น การเข้าถึงไฟล์สำคัญขององค์กร

3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3.1. 1. แบบบัส (bus topology)

3.2. 2. แบบวงแหวน (ring topology)

3.3. 3. แบบดาว (star topology)

3.4. 4.แบบต้นไม้ (Tree Topology)

4. ชนิดของเครือข่าย

4.1. ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การแบ่งชนิดของเครือข่ายสามารถแบ่งได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมแบ่งตามขนาดของเครือข่าย โดยสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ 1. LAN (Local Area Network) 2. MAN(Metropolitan Area Network) 3. WAN (Wide Area Network)

5. ประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.1. 1. LAN (Local Area Network)

5.1.1. ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆพัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการเชื่อมต่อเทอร์มินอล (Terminal)เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainfram Computer) หรือเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ซึ่งการควบคุมการสื่อสารและการประมวลผลต่างๆจะถูกควบคุมและดำเนินการโดยเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างว่าโฮสต์ (Host) โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล ส่วนเทอร์มินอลทำหน้าที่เป็นเพียงจุดรับข้อมูล และ แสดงข้อมูลเท่านั้น สำหรับเครือข่ายในปัจจุบันมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งการเข้าถึงและการใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่บนเครือข่าย

5.2. 2. MAN (Metropolitan Area Network)

5.2.1. ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก

5.3. 3. WAN (Wide Area Network)

5.3.1. ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย

6. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

6.1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น

7. ประเภทการสือสาร

7.1. นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชน ได้จำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก (ปรมะ สตะเวทิน 2526 : 18 - 48 ) ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร 2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก 3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

8. การทำงานของคอมพิวเตอร์

8.1. การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า (Input device) เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ประกอบด้วยเลข 0 และ 1 แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ (Random Access Memory: RAM) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกัน อาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์ผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ หรือ เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้เราสามารถบันทึกข้อมูลที่อยู่ในอนาคต โดยการอ่านข้อมูลที่บันทึกในสื่อดังกล่าวผ่านทางเครื่องขับหรือไดร์ฟ (drive) การส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส (bus) อุปกรณ์ของหน่วยรับเข้าและส่งออก จะเชื่อมต่อกับตัวเครื่องที่เรียกว่า ซิสเต็มยูนิต (System unit) มี เคส (case) เป็นโครงยืดให้อุปกรณ์ต่างๆประกอบกัน ภายในเคสจะมีเมนบอร์ด (Mainboard) เป็นแผนวงจรหลัก โดยซีพียู หน่วยความจำ การ์ด รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกต่อกับเมนบอร์ดนี้ทั้งสิ้น