การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

Начать. Это бесплатно
или регистрация c помощью Вашего email-адреса
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี создатель Mind Map: การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

1. เตาเผาในชุมชน💫 เมื่อพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะมูลฝอย​แบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล​ แต่มีความรู้​ในเรื่อฃเทคโนโลยี​การเผาไหม้มากขึ้น​ จึงมีการสร้างเตาเผาชุมชนที่มีขนาดเล็ก​สามารถ​จัดการขยะมูลฝอย​ปริมาณ​ไม่มากได้เป็นอย่างดี *ข้อดี* -ไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอย​ตกค้างในชุมชน -ไม่เสียค่าใช่จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอย -ใช้พื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอย​น้อย -ก่อนการเผามีการคัดแยกขยะอินทรีย์​และขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ *ข้อเสีย​* -ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ​ทางอากาศ​ เช่น​ ฝุ่นละอองจากการเผาไหม้​ ซึ่งเป็นผลเสียต่อระบบหายใจ -มีค่าใช่จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบ

2. การเปลี่ยนแปลง​เทคโนโลยี​การจัดการขยะมูลฝอย​💞​

2.1. เทกลางแจ้ง💫 เมื่อมีขยะมูลฝอย​เกิด​ขึ้น​ จึง​มีการนำขยะมูลฝอย​ไปกำจัดโดยการเทกองรวมกันไว้กลางแจ้งในพื้นที่ว่างเปล่า​ เพื่อให้ขยะมูลฝอย​เน่าเปื่อยตามธรรมชาติ *ข้อดี* -เป็นวิธีที่ง่ายและไม่ยุ่งยากต่อการจัดการขยะมูลฝอย​และใช้งบประมาณ​น้อง *ข้อเสีย* -เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค​ และเกิดกลิ่นรบกวน -ใช้พื้นที่มาก​ ทำให้บ้านเมืองสกปรกและไม่เป็นระเบียบ​ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม​การท่องเที่ยว -เกิดปัญหา​มลพิษ​ทางน้ำ​ ดิน​ อากาศ​ และทัศนียภาพ

2.2. ฝั่งกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ขยะมูลฝอย​ส่งกลิ่น​รบกวน​ เป็นแหล่งแพร่​เชื้อโรค​จึงมีการนำขยะมูลฝอย​มาฝังกลบในบ่อขยะที่จัดเตรียมไว้ โดยมีการออกแบบและก่อสร้างตามหลุกวิชาการ *ข้อดี* -เป็นระบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน​ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดูแลระบบไม่สูง -สามารถกำจัดขยะมูลฝอย​ได้ทุกประเภท​ ยกเว้นขยะพิษ​ และขยะติดเชื้อ -แก๊สมีเทนที่เกิดจากการฝังกลบสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้ *ข้อเสีย* -ใช้พื้นที่ฝังกลบมาก​ และพื้นที่ต้แงห่างไกลจากชุมชน -มีค่าใช่จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอ -ใช้ดินกลบทับขยะมูลฝอย​เป็นจำนวนมาก

2.3. หมักทำปุ๋ย💫 ขยะอินทรีย์​ (เศษอาหาร​ เศษ​ผัก​ ผลไม้​ ของที่เหลือจากการเกษตร)​ เพิ่มมากขึ้น​ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการฝังกลบ​ จึงใช้ความรู้เรื่อง​การ​ย่อย​สลาย​สารอินทรีย์​ โดยนำขยะอินทรีย์​มาผ่านกระบวนการหมักให้เป็น​ปุ๋ย​ เพื่อปรับปรุงคุณภาพ *ข้อดี* -สร้างประโยชน์​จากขยะอินทรีย์​ โดยการผลิต​ปุ๋ย -มีการคัดแยกขยะอินทรีย์​ก่อนเข้ากระบวนการหมักทำปุ๋ย *ข้อเสีย* -พื้นที่ในการทำปุ๋ย​หมักต้องห่างไกลจากชุมชน​ เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน -มีการดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ​ เช่น​ การพลิกกลับกองปุ๋ย​หมัก

2.4. เตาเผาเพื่อผลิตพลังงาน💫 ขยะมูลฝอยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เตาเผาชุมชนไม่สามารถกำจัดได้หมด และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำความรู้ในเรื่องการนำพลังงานความร้อน จากการเผาไหม้ขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเกิดแนวคิด "เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน" *ข้อดี* -ใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยในการผลิตพลังงานไฟฟ้า -ใช้พื้นที่น้อย ไม่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยตกค้าง *ข้อเสีย* -หากดำเนินการไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศทำให้ระคายเคืองกับระบบหายใจ -เถ่าที่เกิดจากการเผาไหม้ ต้องนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักอภิบาล -ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าดำเนินการดูแลระบบสูง

3. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย

3.1. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ💫 การเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสีย (เครื่องเติมอากาศ) *ข้อดี* -สามารถบำบัดน้ำเสียจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก -การดำเนินงานและบำรุงรักษาไม่ยุ่งยาก *ข้อเสีย* -ใช้ไฟฟ้าในการทำงานของระบบบำบัด -มีค่าซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องเติมอากาศ

3.1.1. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์💫 การย่อยสลายสารอินทรีย์ตามธรรมชาติ *ข้อดี* -การทำงานไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการบำบัด -พืชน้ำที่ใช้ในการบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้ *ข้อเสีย* -การบำบัดน้ำเสียใช้เวลานาน และมีประสิทธิภาพต่ำ จึงไม่สามารถรับรองน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปริมาณมากได้

3.2. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง💫 การเติมแบคทีเรียเพื่อเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ *ข้อดี* -สามารถบำบัดน้ำได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ -ใช้เวลาในการบำบัดน้ำเสียน้อยลง *ข้อเสีย* -การดำเนินงานและบำรุงรักษามีความยุ่งยาก เพราะต้องควบคุมสภาพแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

3.3. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบโคแอกกูเลชัน💫 การบำบัดสารแขวนลอยให้จับตัวเป็นกลุ่มก้อนด้วยสารส้ม *ข้อดี* -สามารถบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็กและมีไขมันหรือน้ำมันละลายตัวอยู่ *ข้อเสีย* -มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมี และมีการใช้ไฟฟ้าในการกวนผสมสารเคมีกับน้ำเสีย -การดำเนินงานและบำรุงรักษายุ่งยากเพราะต้องหาค่าปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมกับน้ำเสียที่เข้าระบบ -ในกรณีที่น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดยังมีค่าสารอินทรีย์สูงต้องส่งไปบำบัดต่อด้วย 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น

3.4. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเปลี่ยนประจุ💫 การบำบัดโลหะหนักในน้ำเสียโดยโลหะหนักแลดเปลี่ยนประจุทับเรซิน​ แล้วถูกเรซินจับไว้ *ข้อดี* -บําบัดน้ําเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีโลหะหนักปนเปื้อน -ฟื้นฟูสภาพของเรซินที่เสื่อมสภาพให้กลับมาใช้ใหม่ได้ *ข้อเสีย* -ใช้สารเคมีในการฟื้นฟูสภาพของเรซิน -มีค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบอุปกรณ์มีราคาแพง

4. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษทางอากาศ💞

4.1. เครื่องแยกโดยการตกเนื่องจากน้ำหนัก💫 การนำความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงมาใช้แยกอนุภาคของฝุ่นละออง *ข้อดี* -อุปกรณ์ออกแบบง่าย ควบคุมดูแลและบำรุงรักษาง่าย -แยกอนุภาคขนาดใหญ่ 40 - 60 ไมครอน *ข้อเสีย* -มีประสิทธิภาพต่ำ ( 20 60 % ) จึงมักใช้ในการบำบัดขั้นต้น เพื่อการกำจัดฝุ่นละอองขนาดใหญ่ -มีขนาดใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการก่อสร้าง -ไม่เหมาะกับโรงงานที่ฝุ่นมีความชื้นสูงหรือฝุ่นเปียก

4.2. เครื่องแยกด้วยแรงเหวี่ยง ( ไซโคลน ) การนำแรงหนีศูนย์กลางมาบังคับให้ฝุ่นละอองเคลื่อนที่ติดกับผนังไซโคลนและบังคับให้หมุนลงปรายไซโคลน *ข้อดี* -แยกอนุภาคฝุ่นละอองขนาดมากกว่า 10 ไมครอน -สามารถใช้ได้กับอากาศเสียที่มีอุณหภูมิสูง *ข้อเสีย* -ไม่เหมาะกับโรงงานที่ฝุ่นมีความชื้นสูงหรือฝุ่นเปียก -เกิดการสึกหรอของตัวเครื่องอย่างรวดเร็ว

4.3. เครื่องแยกอนุภาคด้วยถุงกรอง💫 การนำหลักของการกรองแยกอนุภาค สารปนเปื้อนโดยผ่านตัวกรอง ( ผ้าฝ้าย,ไฟเบอร์กลาสหรือใยหินหรือไนลอน ) *ข้อดี* -แยกอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กถึง 0.1 ไมครอน -ใช้ควบคุมได้เฉพาะฝุ่นแห้ง *ข้อเสีย* -ต้องการการเปลี่ยนถุงกรอง -อายุการใช้งานของถุงก็อาจสั้น เนื่องจากอุณหภูมิสูงหรือสภาพความเป็นกรดด่าง -ใช้กับอากาศเสียที่มีความชื้นสูงไม่ได้ เพราะทำให้ถุงก็อุดตัน

4.3.1. เครื่องพ่นจับแบบเปียก💫 การฉีดละอองของเหลวดักจับฝุ่นละอองและไอสารเคมีให้รวมกันเป็นกลุ่มก้อนและตกลงด้านล่าง *ข้อดี* -แยกแก๊สและฝุ่นละอองได้ -สามารถใช้ได้กับอากาศเสียที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงได้ -เหมาะสำหรับการควบคุมอากาศเสียทิ่มเป็นกรด-ด่าง *ข้อเสีย* -มีปัญหาการผุกร่อนและสึกหรอของตัวเครื่อง -มีค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย

4.4. เครื่องตกตะกอนไฟฟ้าสถิต💫 การนำความรู้เรื่องแรงทางไฟฟ้ามาใช้ในการแยกฝุ่นละอองขนาดเล็กออกจากอากาศ *ข้อดี* -สามารถแยกฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนได้มากกว่า 99% -ใช้ได้กับอากาศที่มีความชื้นและแห้ง *ข้อเสีย* -มีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก -ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบสูง -ไม่สามารถใช้กับฝุ่นละอองที่มีสมบัติติดไฟหรือระเบิดได้ง่าย