สัมมนาทางการสาธารณสุข สัมมนาสาธารณสุข สุขภาพ

马上开始. 它是免费的哦
注册 使用您的电邮地址
สัมมนาทางการสาธารณสุข สัมมนาสาธารณสุข สุขภาพ 作者: Mind Map: สัมมนาทางการสาธารณสุข สัมมนาสาธารณสุข สุขภาพ

1. ปะเภทของการสัมมนา

1.1. Theatre

1.1.1. ข้อดี คือ จุดโฟกัสทั้งหมดจะถูกส่งไปที่วิทยากรด้านหน้าเวทีเพียงจุดเดียว และมีการใช้พื้นที่ห้องประชุมอย่างคุ้มค่า และเต็มพื้นที่มากที่สุด เหมาะมากสำหรับการฝึกอบรมแบบบรรยายที่เน้นเนื้อหา และมีการฉายภาพบนจอ

1.1.2. ข้อเสีย คือ ไม่มีโต๊ะตรงที่นั่ง ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมวางสิ่งของเกะกะ ดังนั้น ผู้จัดควรตั้งโต๊ะไว้ด้านข้างของห้องประชุมเพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำสิ่งของมาวางไว้ได้

1.2. Classroom

1.2.1. รูปแบบไม่ต่างจากแบบ Theatre เท่าไหร่นัก แค่เพิ่มโต๊ะตรงที่นั่งให้ผู้ร่วมอบรมได้วางสิ่งของ โดยมากจะมีกระดาษ A4พร้อมทั้งดินสอวางไว้อยู่บนโต๊ะให้ด้วยเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมจดตามสิ่งที่วิทยากรบรรยายได้ และที่ขาดไม่ได้ควรจะมีน้ำดื่มพร้อมลูกอมตั้งไว้ประจำแต่ละโต๊ะด้วย

1.2.2. ข้อเสีย ต้องใช้พื้นที่พอสมควรเพื่อไม่ให้เมื่อเข้าไปนั่งแล้วรู้สึกอึดอัด ดังนั้นขนาดของห้องที่ใช้ต้องรองรับผู้เข้าอบรมได้โดยไม่แน่นจนเกินไป

1.3. U-Shape

1.3.1. เหมาะสำหรับการบรรยายที่วิทยากรต้องการความใกล้ชิดกับผู้เข้าร่วมการอบรม เพราะถือไมค์เดินเข้าหา พูดคุย ผู้เข้าอบรมได้สะดวก Eye Contact ได้ง่าย วิทยากรสามารถทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เล่นเกม ย้ายที่ไปมาได้สะดวก และรูปแบบสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

1.3.2. ข้อเสีย คือ หากผู้เข้าอบรมมีจำนวนมาก ก็ต้องใช้ห้องประชุมที่ใหญ่ตาม และไม่ควรจัด U-Shape หากผู้อบรมมีมากกว่า 200 คนขึ้นไป เพราะจะทำให้วงกว้างเกินกว่าที่วิทยากรจะควบคุมได้

1.4. Conference

1.4.1. เหมาะสำหรับการประชุมที่ต้องการการระดมสมอง เพื่อแก้ปัญหา เพื่อหาข้อสรุป หรือเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุม เหมาะสำหรับการประชุมกลุ่มย่อยๆตั้งแต่ 10 – 50 คน

1.5. Banquet

1.5.1. เป็นการจัดห้องในรูปแบบของการจัดเลี้ยงที่ต้องการความสนิทสนมกันในระหว่างรับประทานอาหาร ในหนึ่งโต๊ะสามารถจัดได้ตั้งแต่ 8-25 ที่นั่ง มักพบการจัดห้องประชุมลักษณะนี้ในที่ประชุมที่ต้อง Workshop ระดมสมอง แต่ห้องประชุมมีลักษณะแคบและยาว

1.6. Banquet Rounds

1.6.1. เป็นการจัดโต๊ะจัดเลี้ยงอีกรูปแบบหนึ่ง หรือถ้าเป็นการจัดประชุมก็จะเป็นการประชุมที่มีการจัดworkshop หรือมีการระดมความคิดเช่นเดียวกับการจัดแบบ Banquet ทั่วไป จำนวนสมาชิกในแต่ละกลุ่มย่อยไม่ควรเกิน 5- 10 คน

2. ขั้นตอน

3. ประโยชน์ของการสัมมนา

4. หลักการและแนวคิดในการจัดสัมมนา

4.1. กระบวนการกลุ่ม

4.1.1. สัมมนาเป็นการประชุมของกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน อยู่ในแวดวงเดียวกันมาร่วมคิด ร่วมทำงานกันเพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน เช่น แก้ไขปัญหา สร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน คิดหาแนวทาง แนวปฏิบัติงาน

4.2. การสร้างวิธีการคิดแก่สมาชิก

4.2.1. การระดมความคิด (Brainstorming) หรือพายุแห่งความคิด เพราะ “ความคิดคือหัวใจของการสัมมนา”

4.3. การสร้างแรงจูงใจในการสัมมนา

4.3.1. การจัดสัมมนาที่ดีและให้ได้ผลจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้สมาชิกมีความต้องการ กระตือรือร้นที่จะทุ่มเททำงาน แก้ไขปัญหาให้ลุล่วง

5. วัตถุประสงค์

5.1. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

5.2. เป็นการประชุมเพื่อต้องการแสวงหา แนวทางและความคิดใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

5.3. ในวงการศึกษา สัมมนาเป็นวิชาที่เปิดสอนให้นักศึกษา ได้ร่วมกันศึกษาปัญหาและประชุมอภิปรายกัน

6. ความหมาย

6.1. สัมมนา มาจากคำว่า สำ + มน แปลว่า ร่วมใจ เป็นศัพท์บัญญัติให้ตรงกับคำว่า Seminar

6.2. Seminar หมายถึง การประชุมที่สมาชิกซึ่งมีความรู้ ความสนใจในเรื่องเดียวกันมาประชุมด้วยความร่วมใจ ปรึกษาหารือ ร่วมใจกันคิดช่วยกันแก้ปัญหา

6.3. การประชุมตามหัวข้อที่กำหนดไว้ เพื่อมุ่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาใด ปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะทำการอภิปรายอย่างเสรีและช่วยกันระดมความคิดหาข้อสรุปผลและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหานั้น

7. องค์ประกอบของการสัมมนา

7.1. ชื่อโครงการสัมมนา : ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับการสัมมนา

7.2. หลักการและเหตุผลที่ต้องมีการสัมมนา

7.3. วัตถุประสงค์

7.4. กลุ่มเป้าหมาย

7.5. วิทยากร

7.6. ระยะเวลา

7.7. สถานที่

7.8. วิธีการสัมมนา

7.9. กำหนดการสัมมนา

7.10. งบประมาณที่ใช้

7.11. การประเมินผล :ทำภายหลังการจัดสัมมนาแล้ว

7.11.1. แสดงรายละเอียดในเรื่องเวลาและเรื่องที่จะสัมมนา

7.11.2. เพื่อทราบสภาพปัญหา ประสิทธิผลและการปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆ ในครั้งต่อไป

7.11.3. แบ่งได้ 4 ส่วน คือ ตัวโครงการ, สภาพความพร้อม, การดำ เนินโครงการ และสภาพเมื่อสิ้นสุดโครงการ