Case base learning Asthma

马上开始. 它是免费的哦
注册 使用您的电邮地址
Case base learning Asthma 作者: Mind Map: Case base learning Asthma

1. ข้อมูลทางพยาธิสรีรวิทยา

1.1. สาเหตุและกลไกการเกิดโรค

1.1.1. สาเหตุจากภายนอก(Extrinsic factor)

1.1.1.1. เกิดจากการแพ้สารต่างๆ

1.1.1.2. มักเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก

1.1.1.3. ครอบครัวมักมีประวัติการแพ้ต่างๆ หรือมีประวัติเป็นโรคหอบหืด

1.1.1.4. ผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีประวัติการแพ้โดยแสดงอาการด้านอื่นมาก่อน

1.1.1.4.1. ผื่น

1.1.1.4.2. ลมพิษ

1.1.1.5. สิ่งที่กระตุ้นใหเ้กิดการแพ้

1.1.1.5.1. การสูดดมหรือการหายใจเข้าไป

1.1.1.5.2. การรับประทาน

1.1.2. สาเหตุจากภายใน (Intrinsic factor)

1.1.2.1. หอบหืดประเภทนี้หาสาเหตุไม่ได้

1.1.2.2. มักปรากฏอาการเมื่ออายุมากแล้ว

1.1.2.3. ผู้ป่วยส่วนมากมีประวัติการติดเชื้อบ่อยๆหรือเรื้อรัง

1.1.2.3.1. หวัด

1.1.2.3.2. หลอดลมอักเสบ

1.1.2.3.3. โพรงอากาศรอบจมูกอักเสบ

1.1.2.4. ภาวะต่างๆที่กระตุ้นใหเ้กิดอาการหอบหืด หรือทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น

1.1.2.4.1. สภาพจิตใจ

1.1.2.4.2. ความเครียด

1.1.2.4.3. ความเย็น

1.1.2.4.4. ความชื้นสูง

1.2. โรคหอบหืด คืออะไร

1.2.1. โรคหอบหืด(Asthma) หมายถึง โรคของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีความไวเกินของหลอดลมในการตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ สิ่งระคายเคืองและอื่นๆ ทำให้หลอดลมตีบตัวลง

1.2.2. ลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยา

1.2.2.1. หลอดลมของผู้ป่วยมักไวต่อสารกระตุ้น (bronchial hyperresponsiveness)

1.2.2.2. เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้จะเกิดการอักเสบในหลอดลม สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้จะกระตุ้น T and B lymphocyte ให้ผลิตสาร interleukin 3,4 เพื่อกลับไปกระตุ้นให้ B lymphocyte ผลิต IgE มาตอบสนองต่อตัวกระตุ้น

1.2.2.3. หลังจากนั้น IgE จะไปกระตุ้น mass cell, macrophage, eosinophills, neutrophils และ lymphocytes

1.2.3. อาการ/อาการแสดง

1.2.3.1. ไอ

1.2.3.2. แน่นหน้าอก

1.2.3.3. หายใจมีเสียงหวีด(wheezing)

1.2.3.4. หอบเหนื่อยหายใจลำบาก

1.2.3.5. อาการมักจะแย่ลงเวลากลางคืน หรือเมื่อสัมผัสกับตัวกระตุ้นที่ผู้ป่วยแพ้

1.2.4. เสียงหวีดเวลาหอบ

1.2.4.1. เกิดจากการตีบของหลอดลมทำให้เกิดความต้านทาน เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผลต่อการหายใจออกเกิดเป็นเสียงหวีด(wheezing)

1.2.4.2. ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ไม่สมดุล และมีภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดตามมา

1.3. การรักษา

1.3.1. ยาที่ใช้ควบคุมโรคหืด (Controllers)

1.3.2. ยาที่ใช้บรรเทาอาการโรคหืด (Relievers)

2. ข้อมูลสนับสนุน/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

2.1. ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 36 ปี สถานภาพสมรสคู่ อาชีพรับจ้างทำงานในโรงงานพลาสติก รูปร่างสันทัด ผิวขาว รู้สึกตัวดี ช่วยเหลือตนเองได้

2.2. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย/แรกรับ

2.2.1. ไม่มีโรคประจำตัว

2.2.2. ไม่สูบบุหรี่หรือใช้ยาเสพติด

2.2.3. ไม่มีประวัติแพ้ยา/อาหาร

2.2.4. จากการซักประวัติพบว่า สามีของผู้ป่วยสูบบุหรี่และผู้ป่วยได้รับกลิ่นควันบุหรี่ทุกวัน

2.3. อาการสำคัญ

2.3.1. มาโรงพยาบาลด้วยอาการหายใจหอบเหนื่อย 1ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล

2.4. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต

2.4.1. มีประวัติเป็นโรคหอบหืด 9 ปี รักษาโดยการรับประทานยาและพ่นยาเมื่อมีอาการ ผู้ป่วยมีประวัติหอบหืดมารักษาที่ห้องฉุกเฉินและห้องตรวจผู้ป่วยนอกเป็นประจำ

2.5. การตรวจร่างกาย

2.5.1. ฟังเสียงปอดได้ยินเสียงวี้ดที่ปอดทั้ง 2 ข้าง ลักษณะการหายใจเร็วและหอบลึก ระบบอื่นๆปกติ อุณหภูมิร่างกาย36.7 องศาเซลเซียส ชีพจร 144 คร้ัง/นาที อัตราการหายใจ 30 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 139/92 mmHg วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วได้ 92 %

2.6. การตรวจพิเศษอื่นๆ

2.6.1. - ผลการตรวจทางโลหิตวิทยา พบว่า มีWBC 13,600 cell/mm3 Neutrophil 69.6 % Lymphocyte 24.9 % Hct 41.5% platelet 497,000 cell/mm3

2.6.2. - ผลตรวจเกลือแร่พบว่า โซเดียม 144 mmol/dl โพแทสเซียม 4.84 mmol/dl คลอไรด์106 mmol/dl ไบคาร์บอเนต 28 mmol/dl

2.7. ประวัติเจ็บป่วยในปัจจุบัน

2.7.1. มีอาการหายใจหอบเหนื่อย 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลไอคล้ายมีเสมหะอยู่ในลำคอ ขับเสมหะไม่ออก พ่นยา Ventolin MDI 1 puff ทั้งหมด 2 ครั้งมาจากบ้าน อาการหอบเหนื่อย ไม่ดีขึ้นจึงมาโรงพยาบาล

3. ประเด็นปัญหาสุขภาพ/ข้อวิจฉัยทางการพยาบาล

3.1. 1.ภาวะพร่องออกซิเจนจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง

3.1.1. วัตถุประสงค์ของการพยาบาล

3.1.1.1. ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน

3.1.2. เกณฑ์การประเมินผล (Outcome criteria)

3.1.2.1. ลักษณะการหายใจปกติ ไม่มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ

3.1.2.2. อัตราการหายใจ 16 - 24 ครั้ง/นาที

3.1.2.3. ไม่เกิดอาการขาดออกซิเจน (Cyanosis)

3.1.2.4. ฟังปอดทั้ง 2 ข้าง ไม่ได้ยินเสียง Wheezing

3.1.2.5. O2 Sat = 95 -100 %

3.1.3. กิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ

3.1.3.1. 1.พ่นยาขยายหลอดลม Beradual 2 ml ผสม 0.9 % NSS 2 ml ทางเครื่องพ่นยาให้เป็นละอองฝอย 2 ครั้ง

3.1.3.2. 2.พ่นยาขยายหลอดลม Ventolin 1 ml ผสม 0.9 % NSS 3 ml ทางเครื่องพ่นยาใหเ้ป็นละอองฝอย 3 คร้ัง

3.1.3.3. 3.ฉีดยา Dexamethasone 10 mg เข้าทางหลอดเลือดดำ 1 คร้ัง

3.1.3.4. 4.ดูแลให้ออกซิเจนcannula 3 ลิตร/นาที

3.1.3.5. 5.ให้ออกซิเจนทางหน้ากากแบบใช้เครื่องช่วยหายใจ (Non Invasive)แทนการใส่ท่อหลอดลมคอช่วยหายใจ เนื่องจากผู้ป่วยยังหายใจเหนื่อยหอบ

3.1.3.6. 6.ติดตามอาการและวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง

3.1.3.7. 7.ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงและพักผ่อนอย่างเพียงพอ

3.1.3.8. 8.จำกัดกิจกรรมในช่วงที่มีอาการหอบเหนื่อย

3.1.3.9. 9.สังเกตอาการของการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย สับสน ปวดศีรษะ เหงื่อออก ระดับความรู้สึกตัวลดลง

3.2. 2.พร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรคหอบหืด

3.2.1. วัตถุประสงค์ของการพยาบาล

3.2.1.1. ผู้ป่วยปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสมกับโรคหอบหืด

3.2.2. เกณฑ์การประเมินผล (Outcome criteria)

3.2.2.1. ผู้ป่วยมีความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตนไให้ถูกต้องเหมาะสมกับโรคหอบหืด

3.2.3. กิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ

3.2.3.1. ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เรื่องการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากการทำงาน เช่นฝุ่น จากพลาสติกที่สัมผัสเป็นประจำ แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ผ้าปิดปากจมูกขณะทำงาน หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยให้เกิดอาการหอบหืดได้ แนะนำให้หลีกเลี่ยง การอยู่ในที่อากาศเย็นจัด ร้อนจัดหรือลมที่ปะทะโดยตรงเป็นเวลานานๆ

3.3. 3.เสี่ยงต่อภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคหอบหืด

3.4. 4.วิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากต้องใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยในการหายใจ

3.4.1. วัตถุประสงค์ของการพยาบาล

3.4.1.1. ลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากต้องใส่อุปกรณ์เพื่อช่วยในการหายใจ

3.4.2. เกณฑ์การประเมินผล (Outcome criteria)

3.4.2.1. 1.ผู้ป่วยไม่แสดงอาการ/สีหน้าที่บ่งชี้ถึงความวิตกกังวล

3.4.2.2. 2.ผู้ป่วยมีความเข้าใจถึงเหตุผลในความจำเป็นที่จะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ

3.4.3. กิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ

3.4.3.1. 1.ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง

3.4.3.2. 2.ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะใชเ้ครื่องช่วยหายใจ

3.4.3.3. 3.ให้กำลังใจผู้ป่วยเพื่อลด ความวิตกกังวล

3.5. 5.ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการอักเสบของหลอดลม

3.5.1. วัตถุประสงค์ของการพยาบาล

3.5.1.1. ป้องกันการเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ

3.5.2. เกณฑ์การประเมินผล (Outcome criteria)

3.5.2.1. ไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อ เช่น อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้น เร็ว ความดันโลหิตต่ำ

3.5.3. กิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ

3.5.3.1. 1.ติดตามและวัดสัญญาณชีพ

3.5.3.2. 2.สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อ เช่น อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

3.5.3.3. 3.สังเกตลักษณะ สี และปริมาณของเสมหะ

3.5.3.4. 4.แนะนำวิธีการไออย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลความสะอาดช่องปาก แนะนำให้ผู้ป่วยจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ และดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด ครบทั้ง 5 หมู่ และได้รับยาตามแผนการรักษา

4. แหล่งอ้างอิง

4.1. นิธิพัฒน์ เจียรกุล.(2553).โรคหืด.สืบค้น 18 เมษายน 2563,จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=205

4.2. นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย.(2560).โรคหืดต่างกันอย่างไรกับวัณโรค.สืบค้น 18 เมษายน 2563,จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=890

5. จัดทำโดย น.ส.สิริกร คลอดกลาง รุ่น 36/2 เลขที่ 37