
1. 1.หลักธรรมขั้นพื้นฐาน
1.1. หลักอนุพรต 5 (ศีล5)
1.1.1. อหิงสา : การไม่เบียดเบียน ,ไม่ทำลายชีวิต
1.1.2. สัตยะ : พูดความจริง ,ไม่พูดเท็จ
1.1.3. อัสเตยะ : ไม่ลักขโมย
1.1.4. พรหมจรยะ : ไม่ประพฤติผิดในกาม
1.1.5. อปริครหะ : การไม่โลภ
2. จุดมุ่งหมายสูงสุด
2.1. การบรรลุเกวลญาณ ด้วยการ "นิรชระ" หรือการทำลายกรรม
2.1.1. เป็นการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากสังสาระ การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งอาจเปรียบได้กับโมกษะของศาสนาพราหมณ์ หรือนิพพานของศาสนาพุทธ
2.1.2. เมื่อวิญญาณหลุดพ้นไปแล้วจะไปอยู่ในส่วนหนึ่งของเอกภาพที่เรียกว่า "สิทธศิลา" ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขนิรันดร ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
3. ศาสดา
3.1. มีนามเดิมว่า”วรรธมาน” แปลว่าผู้เจริญ ต่อมามีชื่อว่า “มหาวีระ” แปลว่าผู้กล้าหาญมาก
3.2. สำหรับศาสนิกชนเชนเรียกพระศาสดาของตนว่า “ตีรถังกร”แปลว่าผู้สร้างทางข้ามพ้นไป เพื่อพาคนข้ามฟากจากมนุษยภูมิไปสู่นิรวาน/นิพพานในศาสนาพุทธ
4. คัมภีร์ของศาสนา
4.1. อาคมะ (Agama) / สิทธานตะ
4.1.1. มีคัมภีร์ 45 เล่ม
4.1.1.1. รวบรวมขึ้นหลังพระมหาวีระปรินิพพานราว 200 ปี
4.1.1.2. เพิ่งจดเป็นลายลักษณ์อักษรราว 980 ปี เป็นภาษาปรากฤต
4.1.1.3. จารึกคำบัญญัติหรือวินัยความประพฤติของนักพรต/คฤหัสน์ผู้ครองเรือน
4.1.1.4. เรื่องราวชาดกแบ่งเป็นอังคะหรือส่วนได้ 12 อังคะ แต่อังคะที่ 12 หายไป
5. หลักธรรม
5.1. 2. หลักปรัชญา
5.1.1. 1) ชญาณ
5.1.1.1. มติญาณ : ความรู้ทางประสาทสัมผัส
5.1.1.2. ศรุติชญาน : ความรู้จากการฟัง
5.1.1.3. อวธิชญาน : ความรู้เหตุที่ปรากฎในอดีต
5.1.1.4. มนปรยายชญาน : ชญานกำหนดรู้ใจผู้อื่น
5.1.1.5. เกวลชญาน : ชญานอันสมบูรณ์เกิดก่อนบรรลุนิรวาณ
5.1.2. 2) ชีวะ และ อชีวะ
5.1.2.1. ชีวะ : วิญญาณ / สิ่งมีชีวิต / อาตมัน
5.1.2.2. อชีวะ : อวิญญาณ / สิ่งไม่มีชีวิต ex.วัตถุ
5.1.3. 3) หลักโมกษะ
5.1.3.1. โมกษะคือการหลุดพ้น หรือความเป็นอิสระของวิญญาณ
5.1.3.2. เมื่อวิญญาณหลุดพ้นแล้วจะไปอยู่เป็นส่วนหนึ่ง ของเอกภาพที่เรียกว่า "สิทธศิลา" ซึ่งเป็นดินแดน แห่งความสุขนิรันดร ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
5.1.3.3. ข้อปฏิบัติที่จะบรรลุโมกษะ (มหาพรต3)
5.1.3.3.1. ความเชื่อที่ถูกต้อง
5.1.3.3.2. ความรู้ที่ถูกต้อง
5.1.3.3.3. ความประพฤติที่ถูกต้อง
6. สัญลักษณ์ของศาสนา
6.1. รูปทรงกระบอกตั้ง
6.1.1. มีสัญลักษณ์ 4 ประการ
6.1.1.1. 1. รูปกงจักร : สัญลักษณ์อหิงสาอยู่บนฝ่ามือ
6.1.1.2. 2. รูปสวัสดิกะ : เครื่องหมายแห่งสังสาร (สังสาร/สงสาร) ในทางศาสนาพุทธ หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด
6.1.1.3. 3. จุด 3 จุด : สัญลักษณ์แห่งรัตนตรัย คือ ความเห็นชอบ ความรู้ชอบ ความประพฤติชอบ
6.1.1.4. 4. จุด 1 จุดบนเส้นครึ่งวงกลมด้านบนสุด : วิญญาณแห่งความหลุดพ้น เป็นอิสระ สถิตอยู่ ณ สถานที่สูงสุดของเอกภาพ
7. นิกาย
7.1. 1. ทิคัมพร
7.1.1. นุ่งลมห่มฟ้า (เปลือยกาย)
7.1.2. แยกย่อยเป็น 5 นิกาย
7.1.2.1. ไม่มีการทำสังคายนา
7.1.3. หลักสำคัญ 3 ประการ
7.1.3.1. 1. การอดอาหารหรือไม่กินอาหารใดๆแม้แต่น้ำ
7.1.3.2. 2. ไม่มีพันธนาการแม้แต่ผ้านุ่งห่มใดๆ รวมทั้งสมบัติอื่นๆ
7.1.3.3. 3. ไม่อนุญาตให้สตรีบวชและบรรลุธรรม
7.1.4. นำโดยภัทรพาหุ
7.1.5. รูปองค์ตีรถังกรในสำนักเป็นรูปเปลือย
7.2. 2. เศวตัมพร
7.2.1. นำโดยสถูลภัทร
7.2.2. นุ่งขาวห่มขาว
7.2.3. ถือหลักศีล 5 เป็นพื้น คือ อวิหิงสา สัจจะ อัสเตยะ พรหมจรยะ และอปริครหะ
7.2.4. นิกายแยกย่อยไปอีก 84 นิกาย
7.2.5. มีการทำสังคายนา รวบรวมคัมภีร์ศาสนาไว้เป็นหมวดหมู่
8. พิธีกรรม
8.1. พิธีกรรมประจำวัน
8.1.1. พิธีชลบูชา
8.1.1.1. คือ การทำความสะอาดองค์ตีรถังกร ด้วยน้ำและเช็ดให้แห้ง
8.2. การบวชเป็นบรรพชิต
8.2.1. การเปลี่ยนเเปลงสภาวะของตนจากคนธรรมดาสู่ความเป็นนักพรต
8.3. พิธีกรรมระลึกถึงองค์ศาสดา
8.3.1. พิธีกรรมระลึกถึงศาสดามหาวีระ
8.3.1.1. พิธีฉลองวันประสูติของมหาวีระ
8.3.2. พิธีไกตระ
8.3.2.1. จัดพิธีเคารพรูปองค์ศาสดาปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 9 วัน