
1. 4. สมมุติฐานของการวิจัย (Hypotheses of the Research)
1.1. แนวการเขียนสมมุติฐานการวิจัย สมมุติฐานของการวิจัยเป็นข้อมูลชั่วคราว (Tentative Assumption) ที่ได้มาจากความรู้ ทฤษฏี หรือความคิดในเรื่องที่ทำการค้นคว้าวิจัย สมมุติฐานยังเป็นข้อความที่ตั้งขึ้นมา เพื่อแสดงความคิดคาดหวังในเรื่องของการวิจัยว่าจะเป็นอย่างไร และใช้เป็นแนวทางอธิบายให้เห็นถึงข้อเท็จจริง เงื่อนไข ของสิ่งต่าง ๆ ที่สังเกตมาได้ และเป็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลได้ตรงเป้าหมาย ในการเขียนสมมุติฐานการวิจัยมีหลักการดังนี้ 1. เขียนให้เฉพาะเจาะจง และสอดคล้องกับเรื่องที่ทำวิจัย เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย และไม่กว้างจนเกินไป 2. เขียนสมมุติฐานในเรื่องที่สามารถทดสอบได้ โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ 3. ใช้คำที่ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย 4. เขียนให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรในสิ่งที่ศึกษาวิจัย 5. ถ้าเป็นเรื่องซ้ำซ้อน ควรแยกออกเป็นสมมุติฐานย่อย ๆ ก็ได้ ในการสร้างสมมุติฐานมี 2 แบบ ดังนี้ 1. แบบใช้เหตุผล หรือนิรภัย (Logical หรือ Deductive) โดยการเขียนจากหลักการ หรือทฤษฎี ที่ได้ศึกษาก่อน และตั้งเป็นสมมุติฐาน ซึ่งผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบด้วยว่า สมมุติฐานที่สร้างขึ้นมานั้น สอดคล้องกับแนวความคิดทฤษฎีหรือไม่ ข้อสนับสนุนเพียงพอหรือไม่ ถ้าข้อมูลไม่ได้สนับสนุนสมมุติฐาน แสดงว่าสมมุติฐานนั้นใช้ไม่ได้ 2. แบบอาศัยข้อเท็จจริง หรืออุปนัย (Emperical หรือ Inductive) การสร้างสมมุติฐานแบบนี้ต้องอ้างอิงการวิจัยอื่น ๆ สังเกตข้อเท็จจริง พฤติกรรม แนวโน้ม ความสัมพันธ์ของสิ่งที่ปรากฏขึ้น แล้วจึงตั้งสมมุติฐาน สมมุติฐานไม่ควรจะเป็นเรื่องที่คิดเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นมาใหม่เอง และไม่ควรเขียนขึ้นภายหลัง เมื่อรู้ลักษณะโดยตลอดของข้อมูลแล้ว สมมุติฐานควรจะเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของนักวิจัย ในการสังเคราะห์ความคิดเกี่ยวกับปัญหา แนวการเขียนขอบเขต และข้อจำกัดของงานวิจัย ขอบเขตของการวิจัยนั้น เป็นการกำหนดข้อจำกัดที่แน่ชัดว่า ผู้วิจัยจะทำการวิจัยในขอบเขตที่กว้าง และลึกซึ้งเพียงใด มีอะไรบ้างถ้ามีความสัมพันธ์กัน ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัยมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
2. 5. ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัย (Delimitation and Limitation of the Study)
2.1. ขอบเขตการวิจัย (Delimtation) เป็นการกำหนดขอบเขต ที่จะทำงานวิจัยในปริมาณที่ต้องการ เป็นการจัดล้อมวงของงานวิจัยให้แคบลง โดยมุ่งจุดสนใจไปอยู่ที่ตัวปัญหาเฉพาะเรื่อง กลุ่มประชากรตัวอย่าง และระดับความเชื่อถือให้อยู่ในขอบเขตที่สามารถทำการวิจัยได้ ข้อจำกัดของการวิจัย (Limitation) เป็นข้อคาดการณ์บางสิ่งที่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่อาจควบคุมได้ในงานวิจัย เช่น ข้อมูล แหล่งข้อมูล วิธีการที่ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมได้ในการวิจัย ทำให้การศึกษานั้นไม่สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
3. 6. ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)
3.1. แนวการเขียนข้อตกลงเบื้องต้น การเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น ผู้วิจัยจะต้องถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ และชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาของงานวิจัยที่เป็นความจริง เป็นพื้นฐานความเชื่อเบื้องต้น และเป็นที่ยอมรับกัน และไม่ต้องการพิสูจน์ โดยอาศัยการใช้หลักฐาน และการยืนยันจากข้อมูลเบื้องต้น หรือทฤษฎี ข้อตกลงเบื้องต้นนั้น มักต้องอาศัยข้อเท็จจริง ความเชื่อ ทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ข้อผิดพลาดที่บังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้นว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีความเหมือน ๆ กันด้านใดบ้าง หรือแตกต่างอย่างไรบ้าง แล้วตกลง หรือวางเงื่อนไขตามความเป็นจริงไว้เสียก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระลึกถึงคือ ไม่ควรตกลงเกินขอบเขตที่ควรจะตกลงได้ เช่น ตกลงไว้ก่อนว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีความเชื่อถือได้โดยปกติ แล้วการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นนั้น อาจใช้แนวทางการอ้างอิงไว้ในข้อตกลงเบื้องต้นด้วยคือ 1. ความมีเหตุผล 2. หลักฐานข้อเท็จจริง 3. แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ในการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่น่าเชื่อถือได้นั้น ก็ควรจะชี้แจงให้เหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง อย่างน้อยหนึ่งใน 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นข้อตกลงที่เชื่อถือไม่ได้ แนวทางการดำเนินการวิจัย
3.1.1. ถาม-ตอบเกี่ยวกับ ข้อตกลงเบื้องต้น ข้อจำกัด ขอบเขต ของการวิจัย คำ ถาม อยากให้ยกตัวอย่างการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นที่ดี และอธิบายว่าอะไรบ้างที่ควรกำหนดเป็นข้อตกลงเบื้องต้น อะไรบ้างที่ไม่ควรกำหนดเป็นข้อตกลงเบื้องต้น
3.1.1.1. คำ ตอบ ข้อตกลงเบื้องต้น (basic assumption) ข้อจำกัด (limitation) ขอบเขต (scope) และกรอบความคิด (conceptual framework) มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การที่จะกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของขอบเขตการวิจัย กรอบความคิดการวิจัย และข้อจำกัดของการวิจัย
3.1.1.1.1. กรอบความคิดสำหรับการวิจัย หมายถึง โมเดลแสดงความสัมพันสธ์ตามทฤษฎีระหว่างตัวแปรที่นักวิจัยศึกษา นักวิจัยสร้างกรอบความคิดจากการทบทวนวรรณคดี ทฤษฎี และรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาพจำลองหรือตัวแทนของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะองค์ความรู้ในสา ขานั้น ยังมีไม่พอที่จะสร้างกรอบความคิดให้สมบูรณ์ หรือเพราะนักวิจัยกำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ไม่กว้างเท่าที่ควรจะเป็นตามสภาพความเป็นจริง ส่วนที่แตกต่างกันระหว่างกรอบความคิดกับสภาพที่เป็นจริงนั้นหากไม่สามารถทำได้ / ไม่สามารถแสดงได้ / ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความสอดคล้องกัน แต่มีความสำคัญต่อกรอบความคิด ส่วนนั้นคือสิ่งที่ต้องกำหนดเป็นข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย ส่วนที่แตกต่างกันระหว่างกรอบความคิดกับสภาพที่เป็นจริงนั้น หากสามารถทำได้ พิสูจน์ได้ แสดงว่ากรอบความคิดและสภาพที่เป็นจริงสอดคล้องกัน แต่นักวิจัยไม่ได้ทำ ( อาจเนื่องจากกำหนดขอบเขตการวิจัยไว้แคบ ) ส่วนนั้นคือสิ่งที่ต้องกำหนดเป็นข้อจำกัดของการวิจัย นอกจากนี้สิ่งที่กำหนดเป็นข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย ถ้าเป็นข้อความที่ขาดเหตุผลสนับสนุน อาจทำให้เกิดส่วนแตกต่างระหว่างกรอบความคิด และสภาพที่เป็นจริงที่ต้องกำหนดเป็นข้อจำกัดของการวิจัย นอกจากนี้สิ่งที่กำหนดเป็นข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย ถ้าเป็นข้อความที่ขาดเหตุผลสนับสนุน อาจทำให้เกิดส่วนแตกต่างระหว่างกรอบความคิด และสภาพที่เป็นจริงที่ต้องกำหนดเป็นข้อจำกัดของการวิจัยด้วย
3.1.1.2. ref
3.1.1.2.1. ( จาก นงลักษณ์ วิรัชชัย , จากสาส์นการวิจัย ฝ่ายวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 5, 2537)