ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

马上开始. 它是免费的哦
注册 使用您的电邮地址
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 作者: Mind Map: ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

1. ด้านที่ 3

1.1. 3.2 การจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น

1.1.1. โครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.1.1.1. หลักการและเหตุผล

1.1.1.1.1. ประเพณีวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดีงาม ซึ่งบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชุมชนและท้องถิ่นนั้นๆ ที่สังคมหนึ่งๆนั้นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ประเพณีวัฒนธรรม มีหลายด้านด้วยกัน ได้แก่ วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมการทำงาน วัฒนธรรมการแต่งงาน ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ แต่ในปัจจุบันเป็นยุคแห่งการศึกษายุคแห่งการเรียนรู้ มีสื่อโฆษณาและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ได้เห็นวัฒนธรรมภายนอกท้องถิ่นของตนเอง บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกอยากเลียนแบบวัฒธรรมดังกล่าว จนลืมไปว่าวัฒนธรรมของท้องถิ่นตนเองเป็นอย่างไร ดังนั้นโครงการนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนและชี้แนะให้กลุ่มเด็กเยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และเพื่อให้สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาที่กำหนดให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ความเป็นท้องถิ่นของตน

1.1.1.2. วัตถุประสงค์

1.1.1.2.1. 1. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกเยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.1.1.2.2. 2. เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่นมิให้สูญหาย

1.1.1.2.3. 3. เพื่อเป็นการยกย่องครูภูมิปัญญาภายในท้องถิ่น

1.1.1.2.4. 4. เพื่อส่งเสริมอาชีพให้และเยาวชนมีรายได้ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

1.1.1.3. เป้าหมาย

1.1.1.3.1. เชิงปริมาณ

1.1.1.3.2. เชิงคุณภาพ

1.1.1.4. กิจกรรม

1.1.1.4.1. 1. ประสานสภาวัฒนธรรมในชุมชน คัดเลือกครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อฝึกอบรมให้กับผู้ที่สนใจในการสืบสานงานหัตถกรรมท้องถิ่น

1.1.1.4.2. 2. จัดอบรมให้ความรู้ในกิจกรรมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น ขนมไทย เครื่องจักสาน ฯลฯ เป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.1.1.5. งบประมาณ

1.1.1.5.1. 20,000 บาท

1.1.1.6. สถานที่

1.1.1.6.1. โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา

1.1.1.7. วิธีดำเนินการระยะเวลาในการดำเนินการ

1.1.1.7.1. ขั้นตอนการเตรียมงาน/การวางแผนจัดกิจกรรม

1.1.1.7.2. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.1.1.7.3. ขั้นการประเมินผลโครงการ

1.1.1.8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1.1.8.1. 1. นักเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลงานไว้ศึกษาและสืบทอดต่อไป

1.1.1.8.2. 2. ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและให้คงอยู่ต่อไป

1.1.1.8.3. 3. นักเรียนมีความสามารถติดตัวและสามารถถ่ายทอดในชุมชนในโอกาสต่างๆ

2. ด้านที่ 4

3. New Topic

4. New Topic

5. New Topic

6. New Topic

6.1. New Topic

7. New Topic

8. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของสถานศึกษา 2. เพื่อกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา

9. โครงการ

10. 2.4 การกำกับ ติดตาม ประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา

11. ชื่อโครงการนิเทศติดตามผลการจัดการศึกษา ------------------------------------------ -------------------------------------------------- ------------------------------------ 1. หลักการและเหตุผลใน การปรับปรุงระบบการเรียนการสอนและ กระบวนการสอนนิเทศหัวเรื่อง: การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนหัวเรื่อง: การสอนเป็นกระบวนการหลักในห้างหุ้นส่วนจำกัดหัวเรื่อง: จัดการเรียนหัวเรื่อง: การรู้ให้กับเยาวชน ซึ่งถือว่ามีคุณภาพสำหรับกระบวนการนิเทศหัวเรื่อง: การศึกษา ป็นกระบวนการที่เป็นเสริมคุณภาพอง หัวเรื่อง : การจัดการเรียนหัวเรื่อง: การสอนหัวเรื่อง: การปฏิบัติการนิเทศหัวเรื่อง: การศึกษาเป็นจึงเป็นการปฏิบัติงานพนักงาน ที่มุ่งสนับสนุนความสามารถด้านของครูเป็นให้ด้านจัดกิจกรรมหัวเรื่อง : การเรียนหัวเรื่อง : การสอนการส่งต่อหัวเรื่อง: การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษมีความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานตามแบบแผนการตลาด การเรียนรู้และการยกระดับคะแนนเฉลี่ยสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มการเรียนรู้การติดตามผลและการจัดการรายงาน ุปการนิเทศ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาให้ ทั่วถึงทุกโรงเรียน 2.2 เพื่อนิเทศกำกับติดตามการดำเนินการโครงการ นโยบาย 2.3 เพื่อส่งเสริมพัฒนาแลปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการ เรียนการสอนของครูให้ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน 3. หัวข้อ 3.1 เชิงปริมาณ 3.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับน่าพอใจ 3.1.2 มี วิสัยทัศน์เกี่ยวกับแผนการดำเนินงานในการนิเทศ 3.1.3 ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพและประสิทธิผล 3.2 คุณภาพเชิงลบ 3.2.1 ระดับยกระดับสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.2.2 โรงเรียนได้รับการสนับสนุนกิจกรรมการเรียน การสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3.2.3 โรงเรียนสามารถดำเนินการโครงการต่าง ๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 4. กิจกรรมและวิธี ารดำเนินงาน 4.1 ลักษณะกิจกรรม 4.1.1 จัดทำแผนปฏิบัติารนิเทศและ ผลิตสื่อเครื่องมือนวัตกรรมในการนิเทศ 4.1.2 ดำเนินการนิเทศตามแผนการนิเทศและปฏิทิน การนิเทศโดยนิเทศเป็นรายบุคคลและเป็นทีม 4.1.3 การพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล 4.1.4 การจัดสัมมนาเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการวิจัยสรุปผล การดำเนินงาน 4.1.5 การดำเนินการจัดสัมมนาวิชาการทางวิชาการของศึกษี 4.1 6 สรุปผลและรายงานผลการนิเทศการ ศึกษา 4.2 การดำเนินกิจกรรม กิจกรรมรายเดือนระเบียนรับผิดชอบ 1. ทำโครงการจัดนิเทศกำกับติดตามและประเมิน ผลหัวเรื่อง : การ หัวเรื่อง: การ ัดการศึกษาเป็น 2. จัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศคู่มือผลิตสื่อ และเครื่องมือนวัตกรรมในการิเทศ 3. ดำเนินการนิเทศตามแผนปฏิทินการนิเทศ โดยนิเทศเป็นรายบุคคลและเป็นทีม 4. การเดินทางไปราชการประชุมอบรมสัมมนาของ ศึกษานิเทศก์ 5. ผลสรุปและการรายงานผลการบริหารจัดการ 6. งบประมาณที่ ได้รับ 7.1 ตรวจสอบคุณภาพ 7.2. นักเรียนได้รับการพัฒนาทุกด้านตามที่กำหนดในหลักสูตร 7.3 สถานศึกษาในสังฆมณฑลดำเนินการอย่างรอบคอบ 7.4 สถานศึกษาสามารถดำเนินการตามนโยบายของได้อย่างมีประสิทธิภาพ

12. 1.1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาการจากผลการสอบวัดระดับชาติ

12.1. โครงการเติมเต็มความรู้สู่ความสามารถด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

12.1.1. หลักการและเหตุผล

12.1.1.1. ​การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET ) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ NT ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง จึงได้ดำเนินการจัดสอบด้วยข้อสอบเดียวกัน เพื่อตอบสนองเอกภาพเชิงนโยบายหลากหลายเชิงปฏิบัติ แต่มีเอกภาพเชิงมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา โดย จะจัดสอบด้วยแบบทดสอบฉบับปกติทุกช่วงชั้นการศึกษาและผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา ของนักเรียนในเครือข่ายโดยภาพรวมพบว่ายังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและในระดับชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับผลการสอบ O-NET เป็นอย่างมาก ทางเครือข่ายจึงได้กำหนดแผนงาน/โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ( ผลการสอบ O-NET ) ให้สูงขึ้นเป็นนโยบายพิเศษและเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ มีทักษะ มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อสอบ O-NET ให้ได้เพิ่มมากขึ้น ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

12.1.2. วัตถุประสงค์

12.1.2.1. ผลผลิต

12.1.2.1.1. 2. เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

12.1.2.1.2. 1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้

12.1.2.1.3. 3. เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและระบบการวัดผลประเมินผลของโรงเรียน

12.1.2.2. ผลลัพธ์

12.1.2.2.1. 1. ผู้เรียนทุกคนในเครือข่ายมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้

12.1.2.2.2. 2. นักเรียนมีผลการทดสอบ O-NET ที่สูงขึ้น

12.1.2.2.3. 3. มีระบบการจัดเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นระบบและถูกต้อง

12.1.2.2.4. 4. มีเครื่องมือในการทดสอบที่ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับข้อสอบ O-NET

12.1.2.2.5. 5. มีระบบการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายเชื่อถือได้

12.1.3. 3. เป้าหมาย

12.1.3.1. 1. ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ในทุกกลุ่มสาระวิชา

12.1.3.2. 2. มีคลังข้อสอบที่ได้มาตรฐานใกล้เคียงข้อสอบ O-NET ที่เป็นปัจจุบันและพร้อมใช้งาน

12.1.3.3. 3. นักเรียนทุกคนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2551

12.1.4. 4. กิจกรรมขั้นตอนการดำเนินงาน

12.1.4.1. 1. กิจกรรมสอนสอบ

12.1.4.2. 2. กิจกรรมการจัดทำคลังข้อสอบ O-NET

12.1.4.3. 3. กิจกรรมค่ายติวเตอร์ O-Net

12.1.5. 5. งบประมาณ

13. 3. พื่อพัฒนาเครื่องมือในการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและระบบการวัดผลประเมินผล

14. ด้านที่1

14.1. ตัวชี้วัด1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

14.1.1. 1.1.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา

14.1.1.1. โครงการ Math Camp

14.1.1.1.1. หลักการและเหตุผล

14.1.1.1.2. วัตถุประสงค์.

14.1.1.1.3. ผู้รับผิดชอบโครงการ

14.1.1.1.4. กลุ่มเป้าหมาย

14.1.1.1.5. งบประมาณ

14.1.1.1.6. สถานที่ในการดำเนินโครงการ

14.1.1.1.7. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

14.1.1.1.8. ขั้นตอนการดำเนินงาน

14.1.1.1.9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

14.1.2. 1.1.1 ความสามารถในการอ่าน เขียน การสื่อสารและการคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น

14.1.2.1. โครงการอ่านออกเขียนได้

14.1.2.1.1. หลักการและ​เหตุผล. นโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่กล่าวว่า ปีการศึกษา 2560 เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อจบป.1 ต้องอ่านออก เขียนได้ และมีมาตรการการประเมินผลให้เป็นรูปธรรม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาในฐานะหน่วยงานปฏิบัติการดำเนินงานจากนโยบายสู่การปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม จึงกำหนดนโยบายให้นักเรียนทุกระดับชั้นอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง และสื่อสารได้เหตุผล ดังนั้นทางโรงเรียนสมรรถภาพวิทยาจึงต้องการพัฒนา รวบรวมสื่อ นวัตกรรมที่มีอยู่แล้ว หรือการสร้างสรรค์สื่อตามแนวทางจัดการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวทางการพัฒนาสมอง สนองนโยบายเพื่อการพลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออก เขียนได้ ใน 1 ปี ให้ประสบความสำเร็จสูงสุด เป็นการวางรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ในระดับชั้นสูงขึ้นไป

14.1.2.1.2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อช่วยในเรื่องทักษะการอ่านและเขียน 2. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น เป้าหมาย เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนโรงเรียนสมรรถภาพวิทยาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยม 3 ทุกคน เป้าหมายเชิงคุณภาพ 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 2. นักเรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนมากขึ้น วิธีดำเนินการ 1. สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล 2. เสนอโครงการต่อผู้อำนวยการเพื่ออนุมัติ 3. ประชุมวางแผนดำเนินงาน 4. จัดเตรียมเอกสาร 5. ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 6. ประเมินผลและรายงานการประเมินผลทุก ๆ 1 เดือน ระยะเวลาในการดำเนินการ ปีการศึกษา 2560 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑ นักเรียนสามารถอ่านออกและเขียนได้ ๒ นักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ๓ นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้างนิสัยในการรักการอ่าน

14.1.3. 1.1.6 ความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงานหรือการทำงาน

14.1.3.1. โครงการห้องเรียนต่างแดน

14.2. หลักการและเหตุผล โครงการพัฒนาศักยภาพทางภาษาอังกฤษ (IEP) ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยสื่อและกิจกรรมหลากหลาย ทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสนุกสนานและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ การได้เรียนกับครูเจ้าของภาษาทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษ นอกจากทักษะทางด้านการใช้ภาษาแล้ว นักเรียนยังได้รับการส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ พึ่งพาตนเองได้ รักที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษตลอดชีวิต ด้วยความตระหนักดีว่าผู้เรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ฝ่าย IEP ได้จัดกิจกรรมที่สนับสนุนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างคงทนถาวร ได้แก่ กิจกรรมงานเดี่ยว งานคู่ งานกลุ่ม การทำโครงงาน การเข้าค่ายภาษาอังกฤษ การไปทัศนศึกษาภายในประเทศ การไปศึกษาต่างประเทศระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฝ่าย IEP จึงได้จัดให้มีโครงการห้องเรียนต่างแดน เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ให้นักเรียนจากการเรียนร่วมกับโรงเรียนในท้องถิ่น การใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทางฝ่ายได้เลือกประเทศนิวซีแลนด์ เนื่องจากสามารถรับนักเรียนต่างชาติ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ที่มีอายุครบ 11 ปีขึ้นไป และเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูง มีระบบการศึกษาที่เป็นมาตรฐานสากล จึงได้มีการประสานงานและติดต่อกับผู้แทนโรงเรียนในเขตการศึกษาเซาท์แลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อดำเนินการจัดให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้ไปเรียนร่วมกับนักเรียนท้องถิ่น รวม 7 โรงเรียน ตั้งแต่วันเริ่มเปิดภาคเรียนปีการศึกษาใหม่ ในช่วงเวลาประมาณปลายเดือนมกราคม และจบภาคเรียนที่ 2, 3, 4, ของแต่ละปีการศึกษา ในเดือนพฤษภาคม กันยายน และธันวาคม ตามลำดับ โดยสามารถเลือกระยะเวลาสิ้นสุดการเรียน ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนักเรียนและผู้ปกครอง จากการดำเนินโครงการในหลายปีที่ผ่านมา นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียนต่างแดน มีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้งในด้านการเรียนและด้านทักษะชีวิต ฝ่าย IEP จึงมีความเห็นว่าควรจัดให้มีโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รู้จักใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายมาพัฒนาความรู้ของตน ได้รับประสบการณ์ตรง จากการเรียนและการใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการปรับตัวอยู่ร่วมกับชาวต่างชาติได้อย่างมีความสุข สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองสู่การมีศักยภาพเป็นพลโลก อีกทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน คือ “โรงเรียนแห่งอนาคต สร้างคนคุณภาพ เป็นสุภาพบุรุษบีซีซี” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนและการใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การมีศักยภาพเป็นพลโลก 3.1. ค้นพบความถนัดและความสนใจของตนเอง 3.2. สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างมีความสุข 3.3. มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รอบรู้ เป็นนักคิด 3.4. มีวินัยในตนเอง 3.5. มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่น 3.6. รู้จักตัดสินด้วยเหตุผล เป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ 1.1. นักเรียนระดับชั้น ป.4 – ม.3 จำนวน 50 คน 2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ 2.1. นักเรียนเข้าโครงการร้อยละ 86 ได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงตามความถนัดและความสนใจ สามารถนำความรู้มาประยุกต์ให้เกิดกับตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชองต่อตนเอง สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนดำเนินการ 1. แต่งตั้งประชุมชี้แจงคณะกรรมการดำเนินงาน และประชุมชี้แจง 2. ดำเนินงานตามโครงการ 2.1. ติดต่อกับบริษัท Scholar Guide ซึ่งเป็นบริษัทที่ประสานงานกับเขตการศึกษาเซาท์แลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ 2.2. แจกจดหมายแจ้งเรื่องโครงการให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบทั้งภาคปกติและEIP ในระดับชั้น ป.4 - ม.3 2.3. ประสานงานกับบริษัทในการติดต่อโรงเรียนที่นักเรียนสนใจจะไปเรียน 3. ติดตามประเมินผล 4. สรุปโครงการและรายงานผล ระยะเวลาดำเนินการ 1. ดำเนินการรับสมัครตั้งแต่ เดือนสิงหาคม – กันยายน 2560 2. เวลาเรียน ปลายเดือนมกราคม – พฤษภาคม / กันยายน / ธันวาคม รวม 1.5 เทอม / 3 เทอม / 4 เทอม งบประมาณ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด หน่วยงาน / ผู้เกี่ยวข้อง 1. เจ้าหน้าที่เขตการศึกษาเซาท์แลนด์ 2. บริษัท Scholar Guide ซึ่งเป็นบริษัทที่ประสานงานกับเขตการศึกษาเซาท์แลนด์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการเรียนและใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ 2. นักเรียนมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3. นักเรียนสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้สู่การมีศักยภาพเป็นพลโลก ผู้ติดตาม ตรวจสอบโครงการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและมาตรฐานคุณภาพ

14.3. ตัวชี้วัด 1.2

14.3.1. โครงการส่งเสริมการถ่ายทอดค่านิยม วิถีชีวิต และความเป็นไทย

14.3.1.1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม : โครงการส่งเสริมการถ่ายทอดค่านิยม วิถีชีวิต และความเป็นไทย งบประมาณ : ๓,๖๐๐,๐๐๐ บาท ประเด็นยุทธศาสตร์ : สร้างค่านิยม จิตสำนึกและภูมิปัญญาคนไทย ผลผลิตที่ ๑ : วัฒนธรรมพื้นบ้านได้รับการอนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่และปกป้องคุ้มครอง ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม ๑.ความเป็นมาของโครงการ (โดยสังเขป) ผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีทั้งความหลากหลายและรวดเร็วในการรับข้อมูลข่าวสาร ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในการพัฒนาและส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมามากมาย นับตั้งแต่ระดับปัจเจกชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม ปัญหาวิกฤตวัฒนธรรมนับเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งในสังคมไทย เนื่องจากเกี่ยวข้องเชื่อมโยงและชักนำลักษณะการดำเนินชีวิต ความประพฤติ ความคิด ทัศนคติ และคุณธรรมของคนในสังคม ในปัจจุบันปัญหาวิกฤติวัฒนธรรมที่สำคัญ ได้แก่ การยึดถือวัตถุนิยมหรือความต้องการทางวัตถุ ทำให้เกิดความโลภ ไม่รู้จักพอ ความเป็นปัจเจกบุคคล/การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน การเพิกเฉยต่อปัญหาส่วนรวม และการขาดความรู้ที่เท่าทันในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ การมีทัศนคติที่เปลี่ยนไปของเด็กวัยรุ่น ก่อให้เกิดโรคทางสังคมแบบใหม่ คือ เสพติดอาหาร เครื่องดื่ม สารที่ไม่เป็นคุณต่อร่างกายและสติปัญญา เช่น บุหรี่ เหล้า และอินเตอร์เน็ต ฯลฯ วิกฤตวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหาสุขภาพ ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ในอีกทางหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะการแสดง ฯลฯ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟู เผยแพร่และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมซึ่งมีภาระหน้าที่ในการส่งเสริม บำรุง รักษาวัฒนธรรมไทย และส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนให้มีการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จึงกำหนดให้มีโครงการส่งเสริมการถ่ายทอดค่านิยม วิถีชีวิต และความเป็นไทยขึ้น เพื่อร่วมกันรักษาคุณค่าแห่งความเป็นไทยไว้เป็นมรดกของชาติอย่างยั่งยืนต่อไป '๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก และเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานภูมิปัญญาและคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทย ๒.๒ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นำมิติทางวัฒนธรรมไปใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคม รวมทั้งแก้ไขวิกฤตการณ์ทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.๓ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นำมิติทางวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ๓. ผลการดำเนินงาน ๑) จัดกิจกรรมการประกวดกระทง เนื่องในประเพณีลอยกระทง ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดยกลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดประกวดกระทงเนื่องในประเพณีลอยกระทง ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ ในวันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้คนไทยทุกคนตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของประเพณีลอยกระทง พร้อมทั้งร่วมกันอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติตามแบบแผนซึ่งเป็นต้นแบบประเพณีลอยกระทงอันดีงามของไทย แสดงถึงความรัก ความสามัคคี อันนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน/นักศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและบุคคลทั่วไป เข้าร่วมการประกวดดังกล่าว ในการการประกวดกระทงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท โดยมีรางวัลยอดเยี่ยม ประเภทละ ๑ รางวัลๆละ ๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร และรางวัลดีเด่น ประเภทละ ๓ รางวัลๆ ละ ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติ - กระทงแบบอนุรักษ์ ใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบไม้ต่างๆ ดอกไม้สด ผักและผลไม้ เป็นต้น ผลการประกวดทีมที่ได้รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ ทีมบุคคลทั่วไป และทีมที่ได้รางวัลดีเด่น ๓ รางวัลได้แก่ ทีมกลุ่มเยาวชนเรียงร้อยมวลมาลี ทีมมหาวิทยาลัยวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ และทีมศูนย์บริรักษ์ไทย วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร โดยการประกวดกระทงแบบอนุรักษ์ได้รับเกียรติจากนางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๒ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – แกะสลักเครื่องสด) เป็นประธานกรรมการ - กระทงแบบสร้างสรรค์ ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายไม่ทำลายธรรมชาติ เช่น ขนมปัง กระดาษต่างๆ ตกแต่งให้สวยงามตามความเหมาะสม มีเครื่องบูชา เช่น ธูป เทียน เครื่องทองน้อย หมากพลู ฯลฯ ผลการตัดสินทีมที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่ ทีมบุคคลทั่วไป และทีมที่ได้รางวัลดีเด่น ๓ รางวัลได้แก่ ทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีมบุคคลทั่วไป และทีมโรงเรียนนครนนท์วิทยา ๕ โดยการประกวดกระทงแบบสร้างสรรค์ได้รับเกียรติจากนางวัลภา เปลี่ยนศิริกุล หัวหน้าหมวดวิชาคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนจิตรลา เป็นประธานกรรมการ โดยมอบรางวัลการประกวดในงานแถลงข่าว “วัฒนธรรมกับสายน้ำ สู่ประเพณีลอยกระทง” จากศาสตราจารย์อภินันท์ โปษยานนท์ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นผู้มอบรางวัล /๒) กิจกรรม... - ๔ - ๒) กิจกรรมการสาธิตประเพณีลอยกระทง ๔ ภาค จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยเชิญจังหวัดที่มีกิจกรรมลอยกระทงที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค เพื่อจัดสาธิตประเพณีลอยกระทงในงานแถลงข่าว “วัฒนธรรมกับสายน้ำ สู่ประเพณีลอยกระทง” ประกอบด้วย - กิจกรรมสาธิตกระทงสาย จากจังหวัดตาก - กิจกรรมสาธิตโคมลอยล้านนา จากจังหวัดเชียงราย - กิจกรรมสาธิตกระทงแพ จากจังหวัดสงขลา - กิจกรรมสาธิตกระทงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากจังหวัดร้อยเอ็ด - กิจกรรมสาธิตกระทงภาคกลาง จากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ๓) กิจกรรมแถล่งข่าวคุณค่าสาระประเพณีลอยกระทงประจำปี ๒๕๕๓ ภายใต้ชื่องาน “วัฒนธรรมสายน้ำ สู่ประเพณีลอยกระทง” จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์อภินันท์ โปษยานนท์ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานในการแถลงข่าว กลุ่มส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมและเผยวัฒนธรรม ได้เชิญหน่วยงานร่วมแถลงข่าวดังกล่าว ประกอบด้วย - กรุงเทพมหานคร โดยนางสาวปราณี สัตยประกอบ รองผู้อำนวยการ สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กล่าวถึงการจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง ในกรุงเทพมหานคร - กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม โดยนายอัคเดช กลมรัตนานันท์ สำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กล่าวถึงความปลอดภัยทางน้ำในประเพณีลอยกระทง - มูลนิธิเมาไม่ขับ โดยนายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไมขับ กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยด้านสุขภาพ ๔) จัดงานประเพณี “สมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป ครั้งที่ ๑๒” ณ สวนสมเด็จ พระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด ร่วมกับสำนักงานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ โดยจัดกิจกรรม ดังนี้ - จัดนิทรรศการประเพณีลอยกระทง โดยจัดแสดงประวัติความเป็นมา คุณค่า สาระ ประเพณีลอยกระทง ตลอดจนแนวทางที่พึ่งปฏิบัติในประเพณีลอยกระทง - จัดสาธิตการทำกระทงแบบโบราณ กระทงแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ และกระทง ๔ ภาค ๕) จัดพิมพ์หนังสือลอยกระทง เพื่อเผยแพร่ประชาพันธ์คุณค่าสาระประเพณีลอยกระทง จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม ดังนี้ - เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในงานแถลงข่าว “วัฒนธรรมกับสายน้ำ สู่ประเพณีลอยกระทง” ในวันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย /- เผยแพร่... - ๕ - - เผยแพร่ให้จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ ๕ เล่ม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมประเพณีลอยกระทง - เผยแพร่ในประเพณี “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีม” ครั้งที่ ๑๒ ณ สวนสมเด็จ พระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ กิจกรรมกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมที่เหมาะสมในสังคมไทย จัดประชุมกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างค่านิยมที่เหมาะสมในสังคมไทย ครั้งที่ ๑ ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพให้งามอย่างไทย - จัดพิมพ์หนังสือ “มารยาทไทย” จำนวน ๒๐,๐๐๐ เล่ม เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ๑. จัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ในการพิจารณาคัดเลือก ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ส่งให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ภายในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ๒. ประสานผู้ทรงวุฒิเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔ ๔. ผลผลิต ผลลัพธ์ของโครงการ ผลผลิต : ๑. ได้แนวทางการขับเคลื่อนการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในสังคมไทย อย่างน้อย ๑ แนวทาง ๒. ได้เอกสารการส่งเสริมและฟื้นฟูคุณค่าประเพณี จำนวนไม่น้อยกว่า ๒ เรื่อง ๓. ได้ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่นที่ได้รับการสรรหาและยกย่อง จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน และได้จัดกิจกรรมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ๑ ครั้ง ๔. ได้สื่อเผยแพร่ด้านมารยาทไทย อย่างน้อย ๑ เรื่อง ๕. ได้วิทยากรแกนนำด้านการเผยแพร่มารยาทไทยและมารยาททางสังคม อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ คน /ผลลัพธ์... - ๖ - ผลลัพธ์ : ๑. เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาและวิถีชีวิตไทย อันจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ๒. เยาวชนและประชาชนได้รับการปลูกฝังค่านิยมและแนวทางปฏิบัติตนที่ดีงาม จนสามารถประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป ๓. ประเพณีและแนวทางการปฏิบัติวันสำคัญต่างๆ ได้รับการอนุรักษ์และสืบสานคุณค่าโดยประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นทั่วประเทศ ๕. แผนการดำเนินงาน (ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน ๒๕๕๔) ทุกรายการ ที่ รายละเอียดกิจกรรม งบประมาณ ระยะเวลา ๑. กิจกรรมส่งเสริมคุณค่าสาระประเพณีและวันสำคัญ ๑.๑ เสวนาเรื่อง “รักอย่างไร...ให้มีสติและสร้างสรรค์” เนื่องในวันมาฆบูชาและวันแห่งความรัก ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๑.๒ กิจกรรม “ดนตรีไทยพิลาศ เฉลิมราชกุมารี” เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท ๒ เมษายน ๒๕๕๓ ๑.๒ กิจกรรมส่งเสริมคุณค่าสาระประเพณีสงกรานต์ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ๘ เมษายน ๒๕๕๓ ๒. กิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ๒.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกฯ มกราคม ๒๕๕๔ ๒.๒ ประชุมคณะกรรมการฯ (๒ ครั้ง) ๓๐,๐๐๐ บาท พฤษภาคม – มิถุนายน ๒๕๕๔ ๒.๓ จัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ - พิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติ - กิจกรรมการแสดงที่ใช้ภาษาไทยถิ่น - จัดพิมพ์หนังสือประวัติ ชีวิตและผลงาน - จัดนิทรรศการประวัติ ชีวิตและผลงาน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๓. กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพให้งามอย่างไทย สิงหาคม ๒๕๕๔

14.3.2. 1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

14.3.2.1. โครงการส่งเสริมการถ่ายทอดค่านิยม วิถีชีวิต และความเป็นไทย

14.3.3. New Topic

14.3.3.1. New Topic

14.3.4. New Topic

14.4. ตัวชี้วัด 1.2.4

14.4.1. สุขภาพวะทางร่างกาย และ ลักษณะจิตสังคม

14.4.1.1. Dance for health

14.4.1.1.1. หลักการและเหตุผล

14.5. ตัวชี้วัด 1.1.3

14.5.1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

14.5.1.1. โครงการ ENGLISH DAY CAMP

14.5.1.1.1. หลักการและเหตุผล

14.5.1.1.2. จุดประสงค์

14.5.1.1.3. ผู้รับผิดชอบโครงการ

14.5.1.1.4. ระยะเวลาการดำเนินงาน

14.5.1.1.5. กลุ่มเป้าหมาย

14.5.1.1.6. งบประมาณ

14.5.1.1.7. สถานที่ในการดำเนินโครงงาน

14.5.1.1.8. ขั้นตอนการดำเนินงาน

14.5.1.1.9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

15. ด้านที่2

15.1. 2.2.2 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

15.1.1. ชื่อโครงการเพิ่มพูนความรู้เฉพาะทาง

15.1.1.1. หลักการและเหตุผล

15.1.1.1.1. จุดประสงค์

15.1.1.1.2. เพื่อพัฒนาทักษะเทคนิคเฉพาะทางวิชาชีพให้มีความเชี่ยวชาญ

15.2. 2.1 การมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

15.2.1. โครงการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม

15.2.1.1. ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายบริหาร

15.2.1.2. หลักการและเหตุผล การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นการกำหนดภาพแห่งความสำเร็จ ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนในอนาคตที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย การกำหนดเป้าหมายและพันธกิจ ช่วยให้การวางแผน การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายนั้น

15.2.1.3. ระยะเวลาดำเนินการ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

15.2.1.4. ขั้นตอนการดำเนินการ

15.2.1.4.1. 1. แต่งตั้งคณะทำงาน

15.2.1.4.2. 2. รวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภายในและสภาพภายนอกของสถานศึกษาโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

15.2.1.4.3. 3. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภายใและภายนอกของสถานศึกษา

15.2.1.4.4. 4. ประมวลผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดเพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาของสถานศึกษาในอนาคตให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

15.2.1.4.5. 5. กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย โดยนำวิสัยทัศน์แต่ละส่วนมากำหนดภาระงาน

15.2.1.4.6. 6. กำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ และโครงการ กิจกรรม

15.2.1.5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ สถานศึกษามีทิศทางในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องนโยบายและสภาพของสถานศึกษา โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายในการดำเนินงาน

15.3. การวางแผนและจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

16. 1.1.6

17. New Topic

18. ด้านที่ 2

18.1. 2.3 การวางแผนการบริหารและการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ

18.1.1. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงเรียน

18.1.1.1. หลักการและเหตุผล

18.1.1.1.1. โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคการติดต่อสื่อสารซึ่งต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยำ จึงทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเรียกข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ นี้ว่า ระบบสารสนเทศ เป็น กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งทำการรวบรวมประมวลผล, เก็บรักษา และ กระจายสารสนเทศออกไป เพื่อสนับสนุน การควบคุม, การวิเคราะห์, การตัดสินใจ และการวางแผนที่เกิดขึ้นภายในองค์กร กิจกรรมที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศข้อมูลและสารสนเทศในปัจจุบันมีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน และทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายของโรงเรียน นักเรียนและบุคลากรเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคสื่อ ICT จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ทั้งในด้านการจัดเก็บ การนำข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ อีกทั้งการนำข้อมูลสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้มาบริการให้กับนักเรียนและชุมชน ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนองกลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศและเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารได้ทุกระดับ และสนองมาตรฐานการศึกษาจึงเสนอโครงการนี้ขึ้น

18.1.1.2. วัตถุประสงค์

18.1.1.2.1. เพื่อสร้างและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนให้สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน

18.1.1.2.2. เพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานและจำเป็นในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสถานศึกษา

18.1.1.2.3. เพื่อเป็นแหล่งให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศแก่บุคลากรและผู้สนใจ

18.1.1.3. เป้าหมาย

18.1.1.3.1. เชิงปริมาณ

18.1.1.3.2. เชิงคุณภาพ

18.1.1.4. งบประมาณ

18.1.1.4.1. จัดทำเว็บไซต์ 50,000 บาท

18.1.1.4.2. จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ ระบบอินเตอร์เน็ต โปรแกรมสำเร็จรูป แผ่นCD กระดาษ ตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น 50,000 บาท

18.1.1.5. ขั้นตอนการดำเนินงาน

18.1.1.5.1. ขั้นเตรียมการ

18.1.1.5.2. ขั้นดำเนินการ

18.1.1.5.3. ขั้นติดตาม และสรุปผล

18.1.1.6. การประเมินผล

18.1.1.6.1. ตัวชี้วัด

18.1.1.6.2. วิธีการวัด ประเมินผล

18.1.1.6.3. เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผล

18.1.1.7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

18.1.1.7.1. โรงเรียนมีข้อมูลสารสนเทศที่ครบถ้วน เป็นปัจจุบันครอบคลุมงานทั้ง 4 ด้าน สามารถนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถให้บริการข้อมูลสารสนเทศให้แก่นักเรียน บุคคล และหน่วยงานอื่นได้

19. New Topic

20. New Topic