เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) 6

Lancez-Vous. C'est gratuit
ou s'inscrire avec votre adresse e-mail
เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) 6 par Mind Map: เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) 6

1. การพัฒนาแอปพลิเคชัน

1.1. ความหมายของการพัฒนาแอปพลิเคชัน

1.1.1. ทำได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ทำให้สามารถเริ่มต้นได้ง่าย แอปพลิเคชันนั้นอาจมีความซับซ้อนมาก ดังนั้นการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ดีต้องมีการ วางแผนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีผู้ร่วมพัฒนา หลายคน ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดความล้มเหลวหลายด้าน เช่น การผลิตแอปพลิเคชั่นที่ไม่ตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วนตามความต้องการ การส่งมอบงาน ไม่ทันตามกำหนดเวลา มีการทำงานที่ผิดพลาด รวมถึงการประเมินค่าใช้จ่ายและปริมาณงานไม่ตรงกับความเป็นจริง

1.2. การพัฒนาแอปพลิเคชัน

1.2.1. การศึกษาความต้องการ

1.2.1.1. แอปพลิเคชันถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาของผู้ใช้ ผู้พัฒนาจึงจำเป็นต้องทราบถึง ความต้องการและปัญหาก่อนจะเริ่มออกแบบ

1.2.1.2. ปัญหาที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การสื่อสารที่คลาดเคลื่อนระหว่างผู้ใช้และผู้พัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ผู้ใช้ ขาดพื้นฐานและความเข้าใจทางเทคโนโลยีของตนเองอย่างชัดเจน

1.2.2. การออกแบบ

1.2.2.1. เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น แอปพลิเคชันที่พร้อมนำไปใช้งานได้นั้น มักมี ความซับซ้อนและรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นในการนำแนวคิดเชิงคำนวณมาประยุกต์ในการออกแบบ อย่างเป็นระบบ โดยใช้การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย การพิจารณารูปแบบ การคิดเชิงนามธรรม และการออกแบบอัลกอริทึม

1.2.2.2. ผลลัพธ์จากขั้นตอนนี้คือ โครงร่างของแอปพลิเคชันที่ประกอบด้วยส่วนย่อยต่าง ๆ ที่มีการกำหนดหน้าที่และ การทำงานชัดเจน รวมถึงการเชื่อมโยงกันของส่วนย่อยให้เป็นระบบใหญ่ การออกแบบที่ดีนำมาซึ่งองค์ประกอบที่สามารถ ทดสอบความถูกต้องได้ง่าย และสะดวกต่อการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้ในภายหลัง

1.2.3. การสร้างแอปพลิเคชัน

1.2.3.1. ผู้พัฒนาเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมในส่วนประกอบต่าง ๆ ตามที่ได้ออกแบบไว้ ผู้พัฒนาจะเริ่มพบความ บกพร่องหรือข้อจำกัดที่มองข้ามไปในการออกแบบหรือขั้นตอนการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงอุปสรรคในด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ข้อจำกัดของอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ ไลบรารี หรือภาษาโปรแกรมที่นำมาใช้ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการย้อนกลับไป แก้ไขการออกแบบหรือทำความเข้าใจกับความต้องการผู้ใช้อีกครั้ง

1.2.4. การทดสอบ

1.2.4.1. เป็นการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อผิดพลาดและปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้แน่ใจว่าแอปพลิเคชั่นทำงานได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ การทดสอบที่ไม่ครอบคลุม ทุกกรณีมีโอกาสสูงที่ทำให้แอปพลิเคชั่นทำงานผิดพลาดระหว่างการนำไปใช้งานจริง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล หรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ และหากมีการนำไปใช้ในวงกว้างอาจนำกลับมาแก้ไขได้ยาก

1.3. การวางแผนพัฒนา

1.3.1. เมื่อนำมาปฏิบัติจริงแต่ละขั้นตอนจะประกอบไปด้วย รายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องนำมาวิเคราะห์จัดลำดับ ความเร่งด่วนและความสำคัญเพื่อให้การจัดสรรเวลา และกำลังคนเป็นไปอย่างเหมาะสม รวมถึงการวางแผน การกำหนดผู้รับผิดชอบ และการติดตามความก้าวหน้า ของงาน หากละเลยสิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเสี่ยงสูง ในการพัฒนาแอปพลิเคชันไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือมีการทำงานไม่ครบถ้วนตามที่ได้ออกแบบไว้

1.4. เครื่องมือวางแผนและติดตามความก้าวหน้า

1.4.1. เครื่องมือในการวางแผนการทำงานมีจำนวนมาก ในที่นี้จะใช้เทคนิคกระดานคัมบัง (Kanban board) - เป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการงาน ซึ่งมีการนำมา ใช้กันอย่างแพร่หลาย เทคนิคนี้ไม่ได้จำกัดการใช้งาน เพียงแค่การพัฒนาแอปพลิเคชันเท่านั้น แต่ยังสามารถ นำไปประยุกต์กับการทำงาน ในชีวิตประจำวันได้ อีกด้วย กระดานคัมบังใช้บัตรหรือการ์ดคัมบัง (Kanban card) แทนงานย่อยแต่ละงาน เพื่อช่วยวางแผนและ ติดตามความก้าวหน้า

2. อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

2.1. ความหมายของ IoT

2.1.1. เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวรับรู้หรือเซนเซอร์ (Sensor) เข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถส่งข้อมูลที่ เซนเซอร์วัดจากสภาพแวดล้อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมอยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตได้ จึงเป็นกลไกที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเซนเซอร์ได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้ง่าย และยังควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ด้วยเช่นกัน

2.2. องค์ระกอบของ IoT

2.2.1. อุปกรณ์ IoT เช่น แผงวงจร IPST-WiFi, แผงวงจร Kid-Bright

2.2.2. อุปกรณ์เกตเวย์ เช่น ไวเลสเราเตอร์

2.2.3. เครื่องบริการ หรือ โบรกเกอร์ เช่น เน็ตพาย

2.3. กรณีศึกษา ระบบรุน้ำต้นไม้อัตโนมัติ

2.3.1. ศึกษาความต้องการ : ต้องการตรวจสอบความชื้น รายงานผลความชื้น เปิดปั้มเมื่อดินแห้ง

2.3.2. ออกแบบ

2.3.2.1. ให้อุปกรณ์ไอโอทีทางด้านซ้ายมือ ประกอบไปด้วยแผงวงจรควบคุมที่เชื่อมต่ออยู่กับเซนเซอร์ วัดความชื้นของดินและระบบรดน้ำต้นไม้ อุปกรณ์ไอโอที จะมีการเชื่อมต่อกับเครื่องบริการสาธารณะในอินเทอร์เน็ต โดยใช้แอปพลิเคชันไอโอทีบนสมาร์ตโฟนหรือเครื่อง คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับโบรกเกอร์ตัวเดียวกัน เพื่อดูสถานะความชื้นของดิน และสั่งเปิดระบบรดน้ำ ต้นไม้ได้

2.3.3. การสร้างแอปพลิเคชัน

2.3.3.1. กาารสร้างแอปพลิเคชันจริงนั้นขึ้นมานั้นอยู่กับอุปกรณ์และเครื่องมือที่นำมาใช้ ซึ่งมีหลายแบบให้เลือก

3. การประมวณผลข้อมูล

3.1. ข้อมูลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

3.1.1. ข้อมูลจำนวนมากในปัจจุบัน เมื่อนำมาวิเคราะห์ ในเชิงลึกจะทำให้เราค้นพบคุณค่าของข้อมูล ช่วยสร้าง มูลค่าในเชิงธุรกิจ หรือส่งผลในทางบวกให้กับผู้ใช้ข้อมูล เป็นอย่างมาก

3.2. การนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา

3.2.1. นิยามปัญหา : การตั้งคำถามที่สนใจและต้องการหาคำตอบ

3.2.2. การวิเคราะห์ปัญหา : การทำความเข้าใจปัญหาเพื่อกำหนดสาระสำคัญของปัญหา

3.2.3. การรวบรวมข้อมูล : การได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และจำเป็นต่อการแก้ปัญหา

3.2.4. การเตรียมข้อมูล : การดำเนินการกับข้อมูลที่รวบรวมมา เพื่อให้เป็นข้อมูล ที่มีคุณภาพ พร้อมนำไปประมวลผล

3.2.5. การประมวลผลข้อมูล : การดำเนินการกับข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตามวัตถุประสงค์ โดยอาจได้ข้อค้นพบอื่นที่มีความ หมายซ่อนอยู่ นำไปสู่ข้อสรุปที่สอดคล้องกับปัญหา ที่กำหนด หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้

3.2.6. การนำเสนอข้อมูล : การนำเสนอข้อสรุปจากการประมวลผล ในรูปแบบที่สื่อความหมายอย่างชัดเจน

3.2.7. ความหมาย : เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การประมวลผล การจัดเก็บ การจัดการหรือการกระทำกับข้อมูลข่าวสาร โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ในการปฎิบัติงาน เพื่อให้ได้สารสนเทศหรือความรู้ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้เกิดความรู้ความเข้าใจร่วมกัน