แผนที่

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แผนที่ by Mind Map: แผนที่

1. ชนิดของแผนที่

1.1. 1.จำแนกตามลักษณะการใช้ มี 3 ชนิด

1.1.1. 1.แผนที่อ้างอิง คือ คือแผนที่ที่ใช้สำหรับอ้างอิงข้อมูลในการทำแผนที่ชนิดอื่นๆ เช่นแผนที่ภูมิประเทศ แสดงลักษณะต่างๆบนพื้นผิวโลก 2.แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง เช่นแผนที่รัฐกิจ แสดงลักษณะทางการปกครองของประเทศ เช่นแผนที่แสดงการแบ่งเขตจังหวัดของประเทศไทย 3.แผนที่เล่ม(Atlast) เป็นแผนที่รวมแผนที่หลายๆชนิดไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่รัฐกิจ เป็นต้น

1.2. 2.จำแนกตามขนาดหรือมาตราส่วน ในกิจการทหารแบ่งเป็น 3 ชนิด

1.2.1. 1.แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ คือแผนที่ที่ใช้มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:75,000 สำหรับแสดงข้อมูลพื้นที่ขนาดเล็กเช่น หมู่บ้าน ตำบล เขตเทศบาลมาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:50,000 2.แผนที่มาตราส่วนขนาดกลาง คือ แผนที่ที่ใช้มาตราส่วน 1:75000ถึง 1:600,000 เพื่อแสดงข้อมูลของพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขึ้น เช่น พื้นที่อำเภอ จังหวัด มาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:250,000 3.แผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก คือ แผนที่ที่ใช้มาตราส่วนเล็กกว่า 1:600,000 ใช้แสดงข้อมูลในพื้นที่ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ เช่น แผนที่ประเทศไทย แผนที่ทวีปเอเชีย มาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:1,000,000

2. สัญญลักษณ์

2.1. 1) สัญญลักษณ์ที่เป็นจุด (point symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แทนสถานที่ และกำหนดสถานที่ตั้ง เช่น วัด โรงเรียน สนามบิน ตัวเมือง ลักษณะจุดที่แสดงอาจเป็นรูปร่างทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างต่างๆก็ได้ 2) สัญญลักษณ์ที่เป็นเส้น (line symbol) เป็นสัญญลักษณืที่ใช้แทนสิ่งต่างๆที่เป็นเส้นมีระยะทาง เช่น แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ เส้นแบ่งเขตการปกครอง ลักษณะเส้นที่แสดงอาจมีรูปร่าง สีต่างๆกันก็ได้ 3) สัญญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (ared symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แสดงบริเวณพื้นที่ของสิ่งต่างๆที่ปรากฏในภูมิประเทศ เช่น พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ดินเค็ม ลักษณะพื้นที่ที่แสดงอาจให้มีรูปร่างและสีที่แตกต่างกันออกไปก็ได้

3. ความสูงและทรวดทรงของภูมิประเทศ

3.1. พื้นผิวโลกมีระดับสูงและต่ำของภูมิประเทศแตกต่างกัน การเขียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จึงต้องแสดงระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกัน

3.1.1. 1 .การบอกระดับภูมิประเทศ ใช้ระดับทะเลปานกลาง (mean sea-level) ซึ่งมีตัวย่อว่า รทก.(msl)เป็นเกณฑ์กำหนดความสูง แผนที่แสดงระดับความสูงนิยมแสดงแตกต่างกัน 4 รูปแบบ

3.1.1.1. 1) เส้นชั้นความสูง (contour line) คือเส้นสมมติที่ลากผ่านบริเวณต่างๆ ของภูมิประเทศที่มีความสูงเท่ากัน และมีตัวเลขกำกับค่าของเส้นชั้นความสูงนั้นๆเสมอ

3.1.1.2. 2) การใช้แถบสี (layer tinting) คือการจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำโดยใช้แถบสี สีที่นิยมใช้ในแผนที่เพื่อแสดงความสูง-ต่ำ ของภูมิประเทศ

3.1.1.3. 3) เส้นลายขวานสับ หรือเส้นลาดเขา(hachure) เป็นเส้นขีดสั้นๆ เรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดิน เพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้น หากเป็นพื้นที่ชัน สัญญลักษณ์ในแผนที่ภูมิประเทศจะแสดงด้วยเส้นขีดที่สั้นหนา และชิดกัน หากเป็นพื้นที่ลาดเท

3.1.1.4. 4) การแรเงา (shading) เป็นการแสดงความสูงของภูมิประเทศอย่างหยาบๆ โดยเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็นภาพสามมิติหรือมีทรวดทรงขึ้น

3.1.2. 2 การอ่านเส้นชั้นความสูง แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้เส้นชั้นความสูงของผิวโลก ได้แก่ รูปร่าง ความลาดเท และความสูงของภูเขาหรือเนินเขา เส้นชั้นความสูงจะแสดงไว้เป็นช่วงๆ อย่างเป็นลำดับ โดยใช้หน่วยเดียวกัน เช่น หน่วยความยาวเป็นเมตร จึงอาจสมมติให้ช่วงของเส้นชั้นความสูงห่างกัน 50 เมตร ได้แก่ 0 50 100 150 200

3.1.2.1. ความลาดเทของภูมิประเทศ ช่องว่างที่ปรากฏระหว่างเส้นชั้นความสูงในแผนที่ สามารถบอกได้ว่าภูมิประเทศนั้นมีความชัน ลาดเท หรือราบเรียบ

3.1.2.2. ความสูงของภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศ 1) เส้นความสูงที่มีรูปร่างคล้ายวงกลม แสดงว่าลักษณะภูมิประเทสจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นเนินเขาหรือภูเขารูปกรวย 2) เมื่อไม่มีเส้นชั้นความสูงปรากฏในวงกลมหรือสี่เหลี่ยมด้านในของแผนที่ภูมิประเทศ แสดงว่าลักษณะภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นที่ราบสูง 3) เมื่อเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศแสดงไว้ชิดกันมากในบริเวณใด แสดงว่าลักษณะภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศของบริเวณนั้นเป็นหน้าผา

4. การคำนวณหาระยะทางและพื้นที่ในแผนที่

4.1. 1 การใช้มาตราส่วนคำนวนหาระยะทางจริงในภูมิประเทศ การคำนวณหาระยะทางจริงในภูมิประเทศ มีสูตรคือ มาตราส่วน = ระยะทางในแผนที่ ระยะทางจริงในภูมิประเทศ

4.2. 2 การคำนวณหาพื้นที่ในแผนที่ การหาขนาดของพื้นที่จากแผนที่ ใช้กับแผนที่ที่มีมาตราส่วนกำหนดมาให้ ซึ่งสามารถหาพื้นที่ได้ทั้งบริเวณที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือรูปแบบอื่นๆก็ได้

5. ความหมายของแผนที่

5.1. การแสดงลักษณะของผิวโลกลงบนวัสดุแบนราบ โดยแทนสิ่งต่างๆที่เกิดตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามต้องการ

6. องค์ประกอบของแผนที่

6.1. 1.ขอบระวาง คือ เส้นกั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยมีตัวเลขแสดงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์กำกับไว้ที่เรียกว่าค่าละติจูด และค่าลองจิจูด

6.2. 2.ชื่อของแผนที่ เช่น แผนที่ภูมิประเทศของประเทศไทย

6.3. 3.ชื่อทางภูมิศาสตร์ คือ ตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่สำคัญในแผนที่นั้น เช่น ชื่อทวีป ชื่อประเทศ

6.4. 4.พิกัดทางภูมิศาสตร์ เป็นการกำหนดที่ตั้งหรือตำแหน่งของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกลงในแผนที่ เช่น ที่ตั้งของจังหวัด โดยใช้ค่าละติจูด และลองจิจูด

6.5. 5.ทิศ กำหนดให้ส่วนบนของแผนที่เป็นทิศเหนือ ส่วนล่างเป็นทิศใต้ ทางขวาเป็นทิศตะวันออก ทางซ้ายเป็นทิศตะวันตก

6.6. 6.มาตราส่วน คือ อัตราส่วนระหว่างระยะทางในภูมิประเทศจริงกับระยะทางในแผนที่

6.7. 7.สัญลักษณ์ คือสิ่งที่ใช้แสดงแทนข้อมูลของสิ่งต่างๆเช่น สัญลักษณ์แทนภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น

6.8. 8.สี ที่นิยมใช้ในแผนที่ มี 5 สี

6.8.1. 1.สีดำ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โรงเรียน เขื่อน 2.สีแดง แทนถนน เส้นกั้นอาณาเขต 3.สีน้ำเงิน แทนพื้นน้ำ 4.สีน้ำตาล แทนความสูง เช่นเทือกเขา ที่ราบสูง 5.สีเขียว แทนพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ

7. ความสำคัญของแผนที่

7.1. แผนที่เป็นที่รวมข้อมูลประเภทต่างๆ ตามประเภทหรือชนิดของแผนที่ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเห็นพื้นที่จริงหรือหากจะใช้แผนที่เพื่อการเดินทางก็จะสะดวกและถึงที่หมายได้ถูกต้องบ

8. เส้นโครงแผนที่

8.1. 1) เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก

8.2. 2) เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้

9. ประโยชน์ของแผนที่

9.1. – ทำให้รู้จักและเข้าใจสถานที่ที่ไม่เคยรู้จัก – อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว – ช่วยวางแผนหรือตัดสินใจในพื้นที่นั้น ๆ – ช่วยในการเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่เคยไป