1. 4.หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
1.1. 1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น
1.2. 2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด
1.3. 3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์
1.3.1. 3.1 หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ
1.3.1.1. (3.1.1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)
1.3.1.2. (3.1.2) หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)
1.3.2. 3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี
1.4. 4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น
2. 5 Hardware
2.1. Hardware (ฮาร์ดแวร์) คือ เครื่องมือ เครื่องจักร ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็น และจับต้องได้ ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ด้วย
2.1.1. ตัวฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ นั้นจะไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่าง ๆ ในการสั่งงาน โดยที่ชุดคำสั่งเหล่านี้อาจจะอยู่ใน ROM (รอม) ของฮาร์แวร์นั้น ๆ อาจจะเป็นชุดคำสั่งจากระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งจากโปรแกรมขับเคลื่อน Driver (ไดรเวอร์) หรือชุดคำสั่งจากโปรแกรม Soft Ware (ซอฟแวร์) สำเร็จรูปก็ได้ Hardware (ฮาร์ดแวร์) จะมีความหมายตรงข้ามกัน Software (ซอฟแวร์)
2.2. หน่วยของHardware
2.2.1. 1. หน่วยรับข้อมูล Input Unit (อินพุต ยูนิต)
2.2.2. 2. หน่วยประมวลผลกลาง CPU : Central Processing Unit (เซนทอล โปรเซสชิง ยูนิต)
2.2.3. 3. หน่วยแสดงผล Output Unit(เอาร์พุต ยูนิต)
2.2.4. 4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง Secondary Storage(เซคคอนเดรี่ สตอเรส)
3. 6.software
3.1. ซอฟต์แวร์ เป็นชุดคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยจะอยู่ในลักษณะเป็นชุดคำสั่ง หรือที่เรารู้จักในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.2. สามารถแบ่งซอฟต์แวร์ได้เป็น 2 ประเภท
3.2.1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อเพื่อใช้ใในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การติดต่อประสานกันระหว่าง อุปกรณ์แต่ละชิ้น โปรแกรมแต่ละโปรแกรม ให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา ซอฟต์แวร์ระบบที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันมาก เช่่น Windows, OSX, Linux เป็นต้น
3.2.2. ซอฟแวร์ปประยุกต์ (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ซึ่งมันคือ โปรแกรมที่เราใช้งานอยู่ทุกวันนี้เอง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ แบ่งได้อีก 2 ประเภทคือ - ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เช้น ซอฟต์แวร์นำเสนองาน ซอฟต์แวร์ติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล - ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมสำหรับควบคุมเครื่องจักรกล
4. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศ
4.1. ความหมาย
4.1.1. เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้
4.1.1.1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.1.1.2. การประมวลผล
4.1.1.3. การแสดงผลลัพธ์
4.1.1.4. การทำสำเนา
4.1.1.5. การสื่อสารโทรคมนาคม
5. 3.พัฒนาการคอมพิวเตอร์
5.1. 1. เครื่องคำนวณยุคประวัติศาสตร์
5.2. 2. คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ
5.3. 3. คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์
5.4. 4. คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม
5.5. 5. คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ
5.6. 6. คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย
5.7. 7. เทคโนโลยีสื่อประสม
6. 1.นวัตกรรม
6.1. ความหมาย
6.1.1. สิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ
6.2. องค์ประกอบของนวัตกรรม
6.2.1. 1.ความใหม่ (Newness) หมายถึง เป็นสิ่งใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นตัวผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยจะเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่
6.2.2. 2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits) หรือการสร้างความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ นวัตกรรม จะต้องสามารถทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่นั้นๆซึ่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะวัดได้เป็นตัวเงินโดยตรง หรือไม่เป็นตัวเงินโดยตรง
6.2.3. 3. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์(Knowledge and Creativity Idea) สิ่งที่จะเป็นนวัตกรรมได้นั้นต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐานของการพัฒนาให้เกิดซ้ำใหม่ ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ การทำซ้ำ เป็นต้น
6.3. กระบวนการนวัตกรรม
6.3.1. 1. การค้นหา(Searching) เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
6.3.2. 2. การเลือกสรร(Selecting) เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความาสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
6.3.3. 3. การนำไปปฏิบัติ( Implementing) เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก ๔ ประการ
6.3.3.1. การรับ (Acquring)
6.3.3.2. การปฏิบัติ(Executing)
6.3.3.3. การนำเสนอ (Launching)
6.3.3.4. การรักษาสภาพ(Sustaining)
6.3.4. 4. การเรียนรู้( Learning) เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่าง ๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข้งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น