นวัตกรรมและเทคโนโลยี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นวัตกรรมและเทคโนโลยี by Mind Map: นวัตกรรมและเทคโนโลยี

1. เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.1. หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์

1.2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

1.2.1. 1 ฮาร์ดแวร์ ( hardware )

1.2.1.1. ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

1.2.2. 2 ชอฟต์แวร์ ( soflware )

1.2.2.1. โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ( instruction ) ที่ใช่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

1.2.3. 3 ข้อมูล (data)

1.2.3.1. ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory unit) ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit)

1.2.4. 4 บุคลากร (people)

1.2.4.1. บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ

1.2.5. 5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure)

1.2.5.1. ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน

2. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

2.1. 1.หน่วยรับเข้าข้อมูล

2.1.1. ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์

2.1.2. อุปกรณ์ เช่น

2.1.2.1. 1.แป้นพิมพ์ : รับข้อมูลตัวอักษร

2.1.2.2. 2.เมาส์ : รับข้อมูลการชี้และการคลิกเลือกคำสั่ง

2.1.2.3. 3.ไมโครโฟน : รับข้อมูลเสียง

2.1.2.4. 4.สแกนเนอร์ : รับข้อมูลภาพนิ่ง

2.1.2.5. 5.กล้อง : รับข้อมูลภาพเคลื่อนไหว

2.2. 2.หน่วยประมวลผลกลาง(CPU)

2.2.1. ทำหน้าที่ ประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จากนนั้นผลลัพธ์จะถูกส่งไปจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก

2.2.2. อุปกรณ์ : CPU

2.2.2.1. CPU (Central Processing Unit)

2.2.2.2. CPU : ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูลตามคำสั่งต่างๆ

2.2.2.3. CPU : ส่งต่อไปยังอุปกรณ์แสดงผล เพื่อสามารถเก็บและอ่านผลลัพธ์ได้

2.2.2.4. CPU ยิ่งมีความเร็วมาก จะยิ่งประมวลผลได้เร็วขึ้น

2.3. 3.หน่วยความจำหลัก

2.3.1. ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ

2.3.2. แบ่งออกเป็น

2.3.2.1. 1.รอม (ROM) หน่วยความจําแบบถาวร

2.3.2.2. 2.แรม (RAM) หน่วยความจําแบบชั่วคราว

2.4. 4.หน่วยแสดงผล

2.4.1. ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล

2.4.2. อุปกรณ์ เช่น

2.4.2.1. 1.จอภาพ

2.4.2.2. 2.เครื่องพิมพ์

2.5. 5.หน่วยความจำสำรอง

2.5.1. ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เพื่อนำมาใช้อีกครั้งภายหลัง แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลและโปรแกรมที่จัดเก็บไว้จะไม่สูญหาย

2.5.2. เช่น

2.5.2.1. 1.Disk Drive

2.5.2.2. 2.Hard Drive

2.5.2.3. 3.CD-Rom

2.5.2.4. 4.Magnetic Tape

2.5.2.5. 5.Card Reader

3. HARDWARE

3.1. 1.หน่วยรับข้อมูล

3.1.1. เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone), ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)

3.2. 2.หน่วยประมวลผลกลาง

3.2.1. 2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU)

3.2.1.1. ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง

3.2.2. 2.2หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU)

3.2.2.1. ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ

3.2.3. 2.3หน่วยความจำ

3.2.3.1. เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล

3.3. 3.หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory)

3.3.1. 3.1 หน่วยความจำภายใน

3.3.1.1. หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

3.3.1.2. หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่

3.3.2. 3.2 หน่วยความจำสำรอง

3.3.2.1. ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์

3.4. 4.4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

3.4.1. ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)

4. นวัตกรรม(Innovation)

4.1. องค์ประกอบ

4.1.1. 1.ความใหม่ (Newness).

4.1.1.1. คือสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน เคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

4.1.2. 2. ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefits)

4.1.2.1. สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม.

4.1.3. 3. การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์(Knowledge and Creativity Idea)

4.1.3.1. นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ

4.1.4. 4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้

4.2. กระบวนการนวัตกรรม

4.2.1. 1.การค้นหา(Searching)

4.2.2. 2. การเลือกสรร(Selecting)

4.2.3. 3. การนำไปปฏิบัติ( Implementing)

4.2.3.1. 3.1การรับ (Acquring)

4.2.3.1.1. คือขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น

4.2.3.2. 3.2การปฏิบัติ(Executing)

4.2.3.2.1. ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ตลอดเวลา.

4.2.3.3. 3.3การนำเสนอ (Launching)

4.2.3.3.1. การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป้ฯระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด

4.2.3.4. 3.4การรักษาสภาพ(Sustaining)

4.2.3.4.1. .การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้น ๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถึกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

4.2.4. 4. การเรียนรู้( Learning)

4.2.4.1. เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่าง ๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข้งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น.

4.3. นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด.

5. SOFTWARE

5.1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

5.1.1. 1.ตัวแปลภาษา

5.1.1.1. โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

5.1.2. 2.ระบบปฏิบัติการ

5.1.2.1. ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X

5.1.3. 3.ยูทิลิตี้

5.1.3.1. เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)

5.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

5.2.1. 1.ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

5.2.1.1. เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

5.2.2. 2.ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน

5.2.2.1. เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ

6. พัฒนาการคอมพิวเตอร์

6.1. 1.เครื่องคำนวณยุคประวัติศาสาตร์

6.2. 2. คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ

6.2.1. รูปภาพยุคหลอดสุญญากาศ

6.3. 3.คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์

6.3.1. รูปภาพยุคทรานซิสเตอร์

6.4. 4.คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม

6.4.1. รูปภาพยุควงจรรวม

6.5. 5.คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ

6.5.1. รูปภาพยุควีแอลเอสไอ

6.6. 6.คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย

6.6.1. รูปภาพยุคเครือข่าย

6.7. 7.เทคโนโลยีสื่อประสม

6.7.1. รูปภาพเทคโนโลยีสื่อประสม