หมวดที่5 การดำเนินการผลิต

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หมวดที่5 การดำเนินการผลิต by Mind Map: หมวดที่5 การดำเนินการผลิต

1. การป้องกันการปนเปื้อนข้ามในการดำเนินการผลิต

1.1. 18. ต้องหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนวัตถุตั้งต้น หรือการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น

1.2. 19. ต้องหลีงเลี่ยงการปนเปื่อนข้ามโดยเทคนิคที่เหมาะสม มีมาตราการในการจัดการ

1.3. 20. ต้องการมีตรวจมาตราการ และประสิทธิผลในการป้องกันการปนเปื้อนข้ามเป็นระยะตามวิธีการปฏิบ้ติที่กำหนดไว้

2. การตรวจสอบความถูกต้อง

2.1. 21. การศีกษาความถูกต้อง ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมทั้งต้องมีการบันทึกและสรุปผลการศึกษา

2.2. 22. เมื่อมีสูตรการผลิตหรือวิธีการผลิตใหม่ ต้องมีขั้นตอนที่แสดงให้เห็นว่าขบวนการที่กำหนดเหมาะสม การใช้วัสดุและเครื่องมือตามที่ระบุจะให้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่มีความสม่ำเสมอ และมีคุณภาพตามที่ต้องการ

2.3. 23. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่สำคัญ เช่นเครื่องมือหรือวัตถุในกระบวนการผลิต ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง

2.4. 24. ต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องซ้ำของกระบวนการ และวิธีการปฏิบัติเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงมีความสามารถทำให้ได้ผลตามที่ต้องการ

3. วัตถุตั้งต้น(starting meterials)

3.1. 25 จัดซื้อวัตถุตั้งต้นเป็นการดำเนินการที่สำคัญต้องมีผู้ปฏิบัติงานที่มีความรั้โดยเฉพาะ

3.2. 26.จีดซื้อวัตถุตั้งต้นจากผู้ส่งมอบที่ผ่านการรับรองและรายชื่ออยุ่ข้อกำหนดของวัตถุตั้งต้น ซึ่งจัดทําโดยผู้ผลิตยาและต้องมีการพิจารณาร่วมกับผู้ส่งมอบเท่านั้น และต้องซื้อโดยตรงจากผู้ผลิตวัตถ

3.3. 27.การส่งมอบทุกครั้งต้องตรวจสอบความสมบูรณ์และการปิดผนึกของภาชนะบรรจุ ตรวจสอบความถูกต้องตรงกันระหว่างใบส่งของกับฉลากของผู้ส่งมอบ

3.4. 28. การส่งมอบวัตถุตั้งต้นแต่ละครั้งหากวัตถุตั้งต้นชนิดเดียวกันมีหลายรุ่นผลิต ต้องแยกการสุ่ม การทดสอบและการปล่อยผ่านของแต่ละรุ่น

3.5. 29.วัตถุตั้งต้นที่จัดเก็บในบริเวณจัดเก็บต้องมีการติดฉลากที่เหมาะสม ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ชื่อที่กําหนดและรหัสอ้างอิง (ถ้ามี) หมายเลขรุ่นที่กําหนดเมื่อมีการรับ สถานะของวัตถุตั้งต้นเช่น กักกัน รอการทดสอบ ปล่อยผ่าน ไม่ผ่าน วันสิ้นอายุ หรือวันครบกําหนดการทดสอบซ้ํา

3.6. 30 ต้องมีวิธีการปฏิบัติหรือมาตรการที่เหมาะสม รวมถึงต้องมีการบ่งชี้ภาชนะวัตถุตั้งต้นที่ถูกสุ่มตัวอย่าง

3.7. 31. วัตถุตั้งต้นที่มีการปล่อยผ่านโดยฝ่ายควบคุมคุณภาพและยังอยู่ภายในอายุการใช้เท่านั้นจึงจะนําไปใช้ได้

3.8. 32 วัตถุตั้งต้นต้องจ่ายโดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ฏิบัติตามวิธีการปฏิบัติที่เขียนไว้ มีการชั่งอย่างแม่นยํา บรรจุในภาชนะที่สะอาด และติดฉลากถูกต้อง

3.9. 33ต้องมีการตรวจสอบชนิด และน้ําหนัก หรือปริมาตรของวัตถุตั้งต้น มีบุคคลที่สอง ทําการตรวจสอบซ้ํา

3.10. 34วัตถุตั้งต้นที่จ่ายสําหรับการผลิตแต่ละรุ่นต้องเก็บรวมไว้ด้วยกันและติดฉลากให้ชัดเจน

4. วัสดุการบรรจุ

4.1. 40. การจัดซื้อ จัดการและการควบคุมวัสดุการบรรจุปฐมภูมิและวัสดุการบรรจุที่พิมพ์ข้อความแล้ว ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับวัตถุตั้งต้น

4.2. 41. วัสดุที่พิมพ์ข้อความแล้ว ต้องเก็บรักหษาไว้ในสภาวะที่ปลอดภัย เช่น ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึง วัสดุที่พิมพ์ข้อความแล้วที่แยกเป็นชิ้น ต้องเก็บและขย้ายในภาชนะปิดแยกกันเพื่อหลีกเลี่ยงการปะปน และจ่ายโดยผู้ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

4.3. 42. วัสดุที่พิมพ์ข้อความแล้วและวัสดุการบรรจุปฐมภูมิที่ส่งมอบทุกครั้ง ต้อง ให้หมายเลขอ้างอิงเฉพาะ

4.4. 43. วัสดุการบรรจุปฐมภูมิที่เป็นรุ่นเก่าเลิกใช้งานแล้ว ต้องนําไปทําลายและมีบันทึกการทำลาย

5. วัตถุที่ไม่ผ่านข้อกำหนด วัตถุที่นำกลับมาใช้ใหม่ วัตถุที่ส่งกลับคืน

5.1. 61 วัตถุและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านข้อกำหนดต้องทำเครื่องหมายให้ชัดเจน และเก็บแยกในบริเวณที่ควบคุม อาจต้องส่งกลับคืนผู้ส่งมอบ หรืออาจไปทำซ้ำ หรือทำลาย แล้วแต่ความเหมาะสม ไม่ว่าจะปฏิบัติวิธีใดต้องผ่านการรับรองและบันทึกโดยผู้ที่ได้รับมอบหมาย

5.2. 62 การนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านข้อกำหนดไปทำซ้ำด้วยกระบวนการเดิมเป็นกรณีพิเศษ สามารถทำได้เมื่อไม่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย มีความถูกต้องตรงตามข้อกำหนด และถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติซึ่งได้รับอนุมัติภายหลังจากผ่านการประเมินความเสี่ยง รวมทั้งต้องเก็บรักษาและบันทึกผลการดำเนินการ

5.3. 63 การนำผลิตภัณฑ์ทั้งหมดหรือบางส่วนที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดกลับมาใช้ใหม่รุ่นหนึ่ง ผสมกับอีกรุ่นหนึ่งของผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน ต้องถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติที่กำหนด รวมถึงผลที่อาจจะเกิดต่ออายุการใช้งาน โดยต้องมีการบันทึกผลการดำเนินการดังกล่าวไว้

5.4. 64 ฝ่ายควบคุมคุณภาพต้องจัดให้มีการทดสอบเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ได้มีการนำไปทำซ้ำด้วยกระบวนการเดิม หรือมีการนำกลับมาใช้ใหม่

6. หลักการ

6.1. การผลิตต้องทำตามวิธีปฏิบัติและมีความถูกต้องตามหลักการและวิธีการผลิตยาที่มีคุ ณภาพเป็นไปตามทะเบียนตำรับยา

7. ข้อกำหนดทั่วไป

7.1. 1.การผลิตต้องปฏิบัติและควบคุมโดยผู้มีความรู้ความสามารถ

7.2. 2.วัสดุการบรรจุและผลิตภัณฑ์ต้องทำให้ถูกต้องตามวิธี คำแนะนำ และต้องมีการบันทึก

7.3. 3.วัตถุและวัสดุบรรจุต้องตรวจสอบความถูกต้อง สะอาด และมีฉลากตามที่กำหนด

7.4. 4.ภาชนะบรรจุที่มีปัญหาต้องสืบสวน บันทึกและรายงานฝ่ายควบคุมคุณภาพ

7.5. 5.วัสดุและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่รับมา ต้องกักกันไว้หลังรับมาจนกว่าจะปล่อยผ่านให้ใช้หรือจำหน่ายได้

7.6. 6.ผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิตและผลิตภัณฑ์รอบบรรจุที่ซื้อมาต้องมีการจัดการรับเข้า

7.7. 7.วัสดุการบรรจุและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องเก็บรักษา เก็บรักษา แยกแต่ละรุ่นตามที่ผู้ผลิตกำหนด

7.8. 8.ต้องตรวจสอบผลผลิตและความสอดคล้องของปริมาณเมื่อจำเป็น ให้ไม่มีความแตกต่างเกินขีดที่ยำรับ

7.9. 9.ไม่ทําการผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องกัน ต่างชนิดกันในห้องและในเวลาเดียวกัน อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนได้

7.10. 10.ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ต้องมีการป้องกันการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์และวัตถุจากสิ่งปนเปื้อน

7.11. 11.ในการทํางานกับวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ชนิดแห้ง ต้องระวังเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่น โดยเฉพาะวัตถุตั้งต้นที่ออกฤทธิ์แรงหรือทําให้เกิดการแพ้

7.12. 12.ตลอดเวลาระหว่างกระบวนการผลิต วัตถุทั้งหมด ภาชนะที่บรรจุผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนต่าง ๆเครื่องมือหลัก และห้องผลิต ต้องติดฉลากหรือมีป้ายบ่งชี้ถึงความแรง หมายเลขรุ่น และขั้นตอนของการดําเนินการผลิตด้วย

7.13. 13.ฉลากที่ติดบนภาชนะบรรจุ เครื่องมือหรือสถานที่ต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมีรูปแบบตามที่องค์กรกําหนด ว อาจใช้สีช่วยเพื่อบ่งชี้สถานะ เช่น กักกัน ปล่อยผ่าน ไม่ผ่าน สะอาด

7.14. 14.ต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าท่อและชิ้นส่วนอื่นของเครื่องมือที่ใช้สําหรับ การส่งลําเลียง มีการเชื่อมต่อในลักษณะที่ถูกต้อง

7.15. 15.ต้องหลีกเลี่ยงความเบี่ยงเบนจากคําแนะนําหรือวิธีการปฏิบัติถ้ามีความเบี่ยงเบนเกิดขึ้นต้องรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรโดยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมทั้งการมีส่วนร่วมของฝ่ายควบคุมคุณภาพตามความเหมาะสม

7.16. 16.การเข้าไปในบริเวณการดําเนินการผลิต ต้องจํากัดเฉพาะผู้ที่ได้รับมอบหมาย

7.17. 17.ไม่ควรดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นบริเวณเดียวกันกับที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยา และไม่ใช้เครื่องมือร่วมกับการผลิตผลิตภัณฑ์ยา

8. การดำเนินการกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตและผลิตภัฌฑ์รอบรรจุ

8.1. 35. ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการขบวนการผลิต เครื่องมือต้องมีความสะอาดปราศจากวัตถุตั้งต้นผลิตภัฌฑ์ตกค้าง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินขบวนการผลิต

8.2. 36. ผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิตและรอบรรจุ ต้องเก็บภายใต้สภาวะที่เหมาะสม

8.3. 37. ขบวนการวิกฤตต้องตรวจสอบความถูกต้อง ตามที่กำหนดในภาคผนวก14 ตรวจสอบรับรองและตรวจสอบความถูกต้อง

8.4. 38. ต้องทำการควบคุมระหว่างกระบวนการผลิต และสภาวะแวดล้อมการผลิตรวมถึงมีการบันทึก

8.5. 39. ผลผลิตที่ได้ถ้ามีความเบี่ยงเบน อย่างนัยสำคัญที่กำหนดไว้ ต้องมีการบันทึกและสืบสวนหาสาเหตุ

9. การดำเนินการบรรจุ

9.1. 44. ในการจัดกำหนดการสำหรับการดำเนินการบรรจุ ต้องลดความเสี่ยงของการปนเปื้อน การปะปนหรือการสลับ โดยต้องไม่ทำการบรรจุผลิตภัฌฑ์ต่างชนิดกันในสถานที่ใกล้กัน

9.2. 45. ก่อนเริ่มดําเนินการบรรจุหีบห่อต้องจัดให้บริเวณที่ทํางานต่างๆ ของบรรจุคร้ังก่อนหลงเหลืออยู่ โดยต้องทําการตรวจสอบตามรายการตรวจสอบที่เหมาะสม

9.3. 46. ต้องแสดงชื่อและหมายเลขรุ่นผลิตของผลิตภัณฑ์ที่กําลังบรรจุในแต่ละตําแหน่งหรือสายการบรรจุ

9.4. 47. ต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์และวัสดุการบรรจุทุกชนิดที่จะใช้ เมื่อมีการส่งมายังแผนกบรรจุว่ามี ปริมาณ เอกลักษณ์ และความถูกต้องตรงกับคําแนะนําการบรรจุ

9.5. 48. ภาชนะบรรจุก่อนการบรรจุต้องสะอาด และกําจัดสิ่งปนเปื้อน

9.6. 49. เมื่อบรรจุใส่ภาชนะและปิดผนึกแล้ว ต้องทําการติดฉลากให้เร็วที่สุด ถ้าไม่สามารถทําได้ต้องมี วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปะปนหรือการติดฉลากผิด

9.7. 50. ต้องทําการตรวจสอบและบันทึกความถูกต้องของการพิมพ์ ในกรณีที่เป็นการพิมพ์ด้วยมือต้องตรวจสอบซ้ำเป็นระยะ

9.8. 51. กรณีที่ใช้ฉลากที่ตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วและมีการพิมพ์นอกสายการบรรจุ ต้องป้องกันมิให้มี การปะปนกัน หากเป็นไปได้ให้ใช้ฉลากชนิดม้วน

9.9. 52. ต้องมีการตรวจสอบเพ่ือให้แน่ใจว่าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์สําหรับอ่านรหัส เครื่องนับฉลาก หรือ อุปกรณ์คล้ายกันมีการทํางานอย่างถูกต้อง

9.10. 53. ข้อมูลที่พิมพ์หรือประทับนูนบนวัสดุการบรรจุ ต้องเห็นชัดเจนและทนทานไม่ลบเลือน

9.11. 54. การควบคุมผลิตภัณฑ์แบบออนไลน์ระหว่างการบรรจุ ต้องมีการตรวจสอบ

9.11.1. ลักษณะทั่วไปของภาชนะบรรจุ

9.11.2. ความสมบูรณ์ของภาชนะบรรจุ

9.11.3. ความถูกต้องของผลิตภัณฑ์และวัสดุการบรรจุที่ใช้

9.11.4. ความถูกต้องของการพิมพ์

9.11.5. ความถูกต้องในการทํางานของอุปกรณ์ตรวจติดตามที่สายการบรรจุ ตัวอย่างที่นําออกไปจากสายการบรรจุ ต้องไม่นํากลับคืนมาใช้อีก

9.12. 55. ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ สามารถนํากลับคืนมาในกระบวนการได้หลังจาก มีการตรวจสอบเป็นพิเศษ สืบสวน และผ่านการรับรองจากผู้ท่ีได้รับมอบหมายแล้วเท่าน้ัน และต้องเก็บ บันทึกรายละเอียดในการดําเนินการ

9.13. 56. การตรวจสอบความสอดคล้องของปริมาณผลิตภัณฑ์รอบรรจุและวัสดุการบรรจุที่พิมพ์ ข้อความแล้ว กับจํานวนผลิตภัณฑ์ที่บรรจุได้ ถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ต้อง สืบสวนสาเหตุและได้เหตุผลที่น่าพอใจก่อนจึงปล่อยผ่านได้

9.14. 57. หลังจากดําเนินการบรรจุเสร็จเรียบร้อยแล้ว วัสดุการบรรจุที่มีการพิมพ์หมายเลขรุ่นผลิตแล้ว ต้องนําไปทําลายและบันทึกการทําลาย ถ้ายังไม่มีการพิมพ์ให้ส่งกลับคืนคลังโดยทําตามวิธีการปฏิบัติที่เขียนไว้

10. ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป

10.1. 58. ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปต้องกักจนกว่าจะมีการปล่อยผ่าน ภายใต้เงื่อนไขผู้ผลิต

10.2. 59. ต้องมีการประเมินผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปและเอกสารก่อนจําหน่าย

10.3. 60. หลังจากปล่อย ต้องเก็บผลิตภัณฑ์ในคลังสินค้าภายใต้เงื่อนไขผู้ผลิต