พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา by Mind Map: พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา

1. ปรัชญานิรันตรนิยม ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ การจัดการศึกษาจึงควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม มั่นคง มีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ไวทยากรณ์ศิลปะการพูด คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และดนตรี

2. ปรัชญาการศึกษาภาวะนิยม - เน้นตัวผู้เรียนเป็นรายบุคล - ผู้เรียนมีโอกาศกำหนดเนื้อหาสาระที่เรียนตามความเป็นจริง -วิธีสอนไม่ใช้การถ่ายทอด แต่เป็นการเสนอให้ -การจัดการเรียนการสอนเป็นแบบระบบเปิด

3. ปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธปรัชญา - เน้นพัฒนาทั้งด้านพฤติกรรมและจิตใจ - เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหาสำหรับประกอบอาชีพ - สอนให้ผู้เรียนได้มีการปฏิบัติ สามาแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตัวเอง

4. ปรัชญาอัตนิยมหรือปรัชญาอัตถิภาวนิยม หรือปรัชญาสวภาพนิยมปรัชญานีมีความเชื่อว่าธรรมชาติของคน สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองจึงเน้น การอยู่เพื่อปัจจุบัน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อยู่อย่างมีความสุขการจัดการศึกษาจึงให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง

5. ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม เป็นปรัชญาที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาทั่วไปสาขาจิตนิยม และสัจนิยม ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นเครื่องมือของสังคม และสืบทอดวัฒนธรรมของสังคมให้คงอยู่ต่อไป การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้จึงมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคม เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี เช่น การอ่าน การเขียน เลขคณิต ประวัติศาสตร์วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น

6. ปรัชญาปฏิรูปนิยม ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าการศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยตรง เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก การจัดหลักสูตรยึดอนาคตเป็นศูนย์กลาง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น