พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 by Mind Map: พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

1. หมวดที่ 2 สิทธิเเละหน้าที่ทางการศึกษา

1.1. มาตราที่ 10

1.1.1. การจัดการศึกษา รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

1.2. มาตราที่ 11

1.2.1. บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลที่อยู่ในความดูแล ได้รับการศึกษา ภาคบังคับ และนอกเหนือจากภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว

1.3. มาตราที่ 12

1.3.1. นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสิ่งแวดล้อม สถาบันสังคมอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.4. มาตราที่ 13

1.4.1. บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับประโยชน์ดังนี้คือ การสนับสนุนจากรัฐ เงินอุดหนุนจากรัฐ การลดหย่อน

1.5. มาตราที่ 14

1.5.1. บุคคลตาม ม12. มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้ การสนับสนุนจากรัฐ เงินอุดหนุนจากรัฐ การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี

2. หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา

2.1. มาตราที่ 15

2.1.1. จัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย

2.2. มาตราที่ 16

2.2.1. การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เเละการศึกษาระดับอุดมศึกษา

2.3. มาตราที่ 17

2.3.1. ให้มีการศึกภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนจนอายุเข้าปีที่ 16

2.4. มาตราที่ 18

2.4.1. การจัดการศึกษาปฐมวัยเเละการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดใน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน และศูนย์การเรียน

2.5. มาตราที่ 19

2.5.1. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือหน่วยงานชื่อเรียกอย่างอื่น

2.6. มาตราที่ 20

2.6.1. การจัดการอาชีวะศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน

2.7. มาตราที่ 21

2.7.1. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการ ของหน่วยงาน

3. หมวดที่ 4 เเนวการจัดการศึกษา

3.1. มาตราที่ 22

3.1.1. การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตัวเองได้

3.2. มาตราที่ 23

3.2.1. การจัดการศึกษา ทั้งในเเละนอกระบบ เเละการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรม

3.3. มาตราที่ 24

3.3.1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.4. มาตราที่ 25

3.4.1. รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานเเละการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ

3.5. มาตราที่ 26

3.5.1. ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ

3.6. มาตราที่ 27

3.6.1. ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย

3.7. มาตราที่ 28

3.7.1. หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา10วรรค2วรรค3เเละวรรค4 ต้องมีลักษณะหลากหลาย

3.8. มาตราที่ 29

3.8.1. ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคค ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน เเละสถาบันสังคมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเรียนรู้

3.9. มาตราที่ 30

3.9.1. ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เเละส่งเสริมวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

4. หมวดที่ 5 การบริหารเเละการจัดการศึกษา

4.1. ส่วนที่ 1 การบริหารเเละการจัดการศึกษาของรัฐ

4.1.1. มาตราที่ 31

4.1.1.1. กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ส่งเสริม กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท

4.1.2. มาตราที่ 32

4.1.2.1. การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงมี 4 องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการอุดมศึกษา

4.1.3. มาตราที่ 33

4.1.3.1. สภาการศึกษา มีหน้าที่ พิจารณา เสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ มารฐานการศึกษา นโยบาย ต่อคณะรัฐมนตรี

4.1.4. มาตราที่ 34

4.1.4.1. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และหลักสูตร ที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ

4.1.5. มาตราที่ 35

4.1.5.1. องค์ประกอบของคณะกรรมการตามมาตรา 34

4.1.6. มาตราที่ 36

4.1.6.1. ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล ส่วนราชการหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ

4.1.7. มาตราที่ 37

4.1.7.1. การบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึง ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่น ๆ

4.1.8. มาตราที่ 38

4.1.8.1. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจในการ กำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา

4.1.9. มาตราที่ 39

4.1.9.1. ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังคณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

4.1.10. มาตราที่ 40

4.1.10.1. ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.2. ส่วนที่ 2 การบริหารเเละการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.2.1. มาตราที่ 41

4.2.1.1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับ

4.2.2. มาตราที่ 42

4.2.2.1. ให้กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อม ในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.3. ส่วนที่ 3 การบริหารเเละการจัดการศึกษาเอกชน

4.3.1. มาตราที่ 43

4.3.1.1. การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ

4.3.2. มาตราที่ 44

4.3.2.1. ให้สถานศึกษาเอกชนตามมาตรา 18(2) เป็นนิติบุคคล

4.3.3. มาตราที่ 45

4.3.3.1. ให้สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

4.3.4. มาตราที่ 46

4.3.4.1. รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนภาษี การยกเว้นภาษี และสิทธิประโยชน์ แก่สถานศึกษาเอกชน

5. หมวดที่ 6 มาตรฐานเเละการประกันคุณภาพการศึกษา

5.1. มาตราที่ 47

5.1.1. ให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาาทุกระดับ

5.2. มาตราที่ 48

5.2.1. ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบคุณภาพภายใน และให้ถือว่าส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

5.3. มาตราที่ 49

5.3.1. ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ทำหน่าที่ประเมินคุณภาพภายนอกและทำการประเมินผลการจัดการศึกษา

5.4. มาตราที่ 50

5.4.1. ให้สถานศึกษาให่ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา

5.5. มาตราที่ 51

5.5.1. ในกรณีที่สมศ.ประเมินไม่ผ่าน ให้สมศ.จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด

6. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

7. หมวดที่ 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายเเละหลักการ

7.1. มาตราที่ 6

7.1.1. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คุณธรรม

7.2. มาตราที่ 7

7.2.1. ปลูกฝังประชาธิปไตย

7.3. มาตราที่ 8

7.3.1. หลักการจัดการศึกษา (ตลอด+ร่วม+ต่อ)

7.4. มาตราที่ 9

7.4.1. การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการศึกษา

8. หมวดที่ 8 ทรัพยากรเเละการลงทุนเพื่อการศึกษา

8.1. มาตราที่ 58

8.1.1. ให้มีการระดมทรัพยากรการลงทันและงบประมาณด้านการศึกษาจากสถาบันทาง สังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งครอบครัวและชุมชน เช่น การจัดเก็บภาษี เป็นต้น

8.2. มาตราที่ 59

8.2.1. อสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือซื้อ แลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษาไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา

8.3. มาตราที่ 60

8.3.1. ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา เช่น ก.ย.ศ. กรอ. เป็นต้น

8.4. มาตราที่ 61

8.4.1. ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยสถาบันสังคมอื่นๆตามความเหมาะสมและจำเป็น

8.5. มาตราที่ 62

8.5.1. มีการตรวจสอบและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณทางการศึกษาโดยมีหลักเกณฑ์ที่ ชัดเจนและน่าเชื่อถือจากกระทรวงที่รับผิดชอบ

9. หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

9.1. มาตราที่ 63

9.1.1. รัฐต้องจัดคลื่นความถี่หรือสิ่งที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษา

9.2. มาตราที่ 64

9.2.1. รัฐสนับสนุนการผลิตและพัฒนาแบบเรียนอย่างเสรีและเป็นธรรม

9.3. มาตราที่ 65

9.3.1. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและสามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

9.4. มาตราที่ 66

9.4.1. ผู้เรียนมีสิทธิในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง

9.5. มาตราที่ 67

9.5.1. รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย

9.6. มาตราที่ 68

9.6.1. ระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินของรัฐเพื่อพัฒนา คนและสังคม

9.7. มาตราที่ 69

9.7.1. รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ประเมินคุณภาพและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

10. หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ เเละบุคลากรทางการศึกษา

10.1. มาตราที่ 52

10.1.1. ให้กระทรวงศส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิตการพัฒนาครู คณาจารย์และ บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพขั้นสูง

10.2. มาตราที่ 53

10.2.1. ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหาร มีฐานะเป็นองค์อิสระ ภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวง

10.3. มาตราที่ 54

10.3.1. ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคลากรของข้าราชการครู

10.4. มาตราที่ 55

10.4.1. ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคม

10.5. มาตราที่ 56

10.5.1. การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายเกี่ยวข้อง

10.6. มาตราที่ 57

10.6.1. ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทัรพยากรบุคคลในชุมชนให้มรส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าว มาใช้เพื่อเกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ส่งเสริมและสนับสนุน

11. บทเฉพาะกาล

11.1. มาตราที่ 70

11.1.1. บรรดาบทกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งเกี่ยวการศึกษา ศาสนา ที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการปรับปรุง

11.2. มาตราที่ 71

11.2.1. ให้กระทรวง กรม หน่วยงานการศึกษา และสถานศึกษา ที่อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ยังคงมีฐานะและอำนาจหน้าที่เหมือนเดิม

11.3. มาตราที่ 72

11.3.1. ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติ ม.10 วรรค 1 และ ม.17 มาใช้บังคับ จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว

11.4. มาตราที่ 73

11.4.1. ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติใน ม.5 และ ม.7 มาใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามตามบทบัญญัติในหมวดดังกล่าว

11.5. มาตราที่ 74

11.5.1. ในวาระเริ่มแรกที่การจัดตั้งกระทรวงยังไม่แล้วเสร็จ ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ

11.6. มาตราที่ 75

11.6.1. ให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา

11.7. มาตราที่ 76

11.7.1. ให้มีคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษาจำนวน 9 คน

11.8. มาตราที่ 77

11.8.1. ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา คณะหนึ่งจำนวน 15 คน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่ควรเป็นคณะกรรมการบริหาร

11.9. มาตราที่ 78

11.9.1. ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และมีอำนาจกำกับดูแลกิจการของสำนักงานตามที่กฎหมายกำหนด

12. มาตราที่1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตราที่2 พระราชบัญญัตินี้ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตราที่3 บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่น ๆ ในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน มาตราที่4 การศึกษา มาตราที่5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

13. 9 หมวด 78 มาตรา